ม.มหิดล ห่วงใย พร้อมเผยความสำคัญของการใช้ คาร์ซีท

ม.มหิดล ห่วงใย พร้อมเผยความสำคัญของการใช้ คาร์ซีท

คาร์ซีท

จากกรณี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 รถกระบะป้ายแดงชนขอบทาง ลูกกระเด็นทะลุกระจกพุ่งตกลงมากว่า 50 เมตรเสียชีวิตใต้ทางด่วนใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ในขณะที่ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี เรียกร้องและถามหา “ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก”(คาร์ซีท) ส่วนกระแสข่าวระบุ “คาร์ซีทไม่ใช่เป็นของสิ้นเปลืองอีกต่อไป  ชาวโซเชียลวิงวอนให้เห็นความสำคัญ ว่าช่วยรักษาชีวิตของเด็กได้จริง เช่นในกรณีนี้ หากเด็กนั่งมาในคาร์ซีท ร่างอาจจะไม่กระเด็นออกจากรถ เป็นเหตุให้เสียชีวิตดังกล่าว”

โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา เป็นวันที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดตั้งที่นั่งนิรภัย หรือ “คาร์ซีต” สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ควร จะมีผลบังคับใช้ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม หลังจาก ครบ 90 วัน ที่ ราชกิจจานุเบกขาแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบกฉบับที่ 13พ.ศ.2565 มีประกาศ ใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2565

ซึ่งกำหนดให้ คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และคนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยที่นั่งพิเศษหรือ เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก สามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด นี่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ขณะที่การอุ้มเด็กนั่งบนตักแล้วพ่อแม่คาดเข็มขัดนิรภัย ในความเป็นจริงก็ไม่ปลอดภัย เพราะเวลาเกิดเหตุจะมีพลังงานการเคลื่อนที่ จนทำให้อ้อมกอดของแม่ไม่สามารถรั้งลูกไว้อยู่ ทำให้เด็กกระเด็นออกนอกรถและเสียชีวิตหลายรายต่อปีจากความเข้าใจผิดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการชนจากด้านหน้าหรือหลัง ยิ่งรถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัย การอุ้มเด็กนั่งบนตักทำให้เด็กเข้าใกล้ถุงลมนิรภัยเกินไป เวลาเกิดเหตุจะมีพลังงานย้อนกลับ จึงทำให้อันตรายมากเช่นกัน

ทั้งนี้ เข็มขัดนิรภัยภายในรถยนต์ไม่ได้ออกแบบมาให้คาดพอดีกับเด็ก อายุต่ำกว่า 1 ปี หรือ สูงน้อยกว่า 135 เซนติเมตร อย่างควรอยู่ที่ที่บริเวณเอวก็ไปอยู่ที่บริเวณท้อง ส่วนบริเวณหน้าอกก็ไปอยู่ที่บริเวณดวงตา เกิดเหตุจึงทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ ฉะนั้นเด็กอายุต่ำกว่า 9 ขวบ หรือสูงน้อยกว่า 135 เซนติเมตร จึงควรได้นั่งในที่นั่งนิรภัย  หรือที่นั่งเสริมตามอายุที่เหมาะสม

คาร์ซีท

แม้ว่าจะมีกฎหมายบังคับใช้แล้ว และมีการไม่เก็บภาษีนำเข้า คาร์ซีท กระทั่งราคาได้ลดลงไปมากแล้ว ( วันที่ 28 มิถุนายน 2565 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยกเว้นอากรสำหรับที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (Car seat) เฉพาะที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กนำเข้า ตามร่างประกาศกระทรวงการคลัง ลดอัตราอากร และยกเว้นศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ 31ธันวาคม 2566 )

แต่รัฐบาล หน่วยงาน ชุมชนจะต้องไม่หยุดให้ความรู้และสร้างทัศนคติประชาชนให้มีความปลอดภัยในการใช้รถ รวมถึงสนับสนุนการซื้อด้วยมาตรการตั๋วคืนเงิน มาตรการคนละครึ่ง เพราะการสนับสนุนตรงนี้รัฐสามารถไปลดค่าใช้จ่ายดูแลเด็กพิการ และลดการสูญเสียทรัพยากรในอนาคต สนับสนุนให้เกิดการผลิตในประเทศ ผู้ขายรถยนต์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ใช้ในการให้ข้อมูลที่ชัดเจนในการโดยสารรถที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก สูงน้อยกว่า 135 เซนติเมตร ซึ่งใช้เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลและโรงเรียนควรจะสนับสนุนจุดบริการยืมใช้ที่นั่งนิรภัย ทั้งนี้ กรณีรถรับส่งนักเรียน ก็สามารถออกแบบให้ใช้ที่นั่งนิรภัยทุกที่นั่งได้ อาทิ รถตู้ (แต่ปัจจุบันหลายโรงเรียนใช้รถสองแถวรับส่งนักเรียน ตรงนี้คือประเด็นที่ภาครัฐจะต้องเริ่มต้นแก้ปัญหาได้แล้ว

คาร์ซีทถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการช่วย “เซฟชีวิต” เด็กได้จริงหากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ก็คือ “ เลือกแบบไหนเพิ่มความปลอดภัยให้ลูก”

  1. ที่นั่งนิรภัยต้องใช้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด และเด็กอายุ 2-6 ปี ควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็กที่มีที่ยึดเหนี่ยวในตัวหันหน้าไปทางด้านหลังสำหรับเด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี และ สำหรับเด็ก 2-6ปี มีสายรัดตัวเป็นแบบยึดเหนี่ยวร่างกายเด็กไว้ 5 จุด
  2. การอุ้มเด็กนั่งตักในเบาะหน้าคือจุดที่อันตรายที่สุดในรถ
  3. การใช้ระบบยึดเหนี่ยวในรถเป็นมาตรการลดการบาดเจ็บการตายที่สำคัญจากการกระเด็นทะลุกระจกหรือลอยจากที่นั่งตามความเร็วรถชนกระแทกโครงสร้างภายในรถหลังอุบัติเหตุรถชนหรือคว่ำ
  4. เด็กอายุน้อยกว่า 9 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยหรือที่นั่งเสริม ให้เหมาะสมตามวัยและต้องยึดเหนี่ยวให้ถูกวิธี ตามคําแนะนําของแต่ละผลิตภัณฑ์
  5. เด็กที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยได้เหมาะสมปลอดภัยก็ต่อเมื่อมีอายุ 9 ปีขึ้นไป หรือความสูงตั้งแต่ 135 ซม. ขึ้นไปเท่านั้น มิฉะนั้นเข็มขัดนิรภัยอาจกลายเป็นตัวการทำอันตรายต่อเด็กอย่างรุนแรงได้

สถิติเด็กที่เสียชีวิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากข้อมูล 3 ฐานที่ใช้กัน ได้แก่ ข้อมูลการออกใบมรณบัตร ข้อมูลจากบริษัทกลางประกันภัย และข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าจากสถิติผู้เสียชีวิตระหว่างปี 2560-2564 รวม 5 ปี มีเด็กช่วงอายุ 0-6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 คน ในจำนวนนี้มีถึง 221 คน เกิดจากการโดยสารรถยนต์ หรือรถที่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้ หรือมีเด็กเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 44 คน และยังพบอีกว่า “เด็กไทยใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือคาร์ซีทเพียงร้อยละ 3.46 เท่านั้น”

Related Posts