___noise___ 1000

ฟิลิปส์ ร่วมกับ สมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ และมูลนิธิหัวใจ จัดหน่วยตรวจผู้ป่วย โรคหัวใจ แม่ฮ่องสอน กว่า 50 ราย

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ และหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases: CVDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก โดยประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองมากกว่า20 ล้านคน ซึ่ง 80% ของการเสียชีวิตสามารถป้องกันได้ สำหรับประเทศไทยจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี[1]  ซึ่งสถิตินี้ได้กลายเป็นความท้าทายของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องรับภาระในการดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นทุกปี

อ้างอิงจากข้อมูลสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี พ.ศ. 2564 มีสัดส่วนของแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชากร 1,680 คน[2] อีกทั้ง จำนวนของแพทย์ต่อประชากรไม่ได้กระจายเท่ากันทุกพื้นที่ โดยเฉพาะแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลในหลายๆ จังหวัด รวมไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากข้อมูลในปี 2565 พบว่ามีแพทย์ประจำในจังหวัดจำนวน 78 คน ในขณะที่ประชากรมีจำนวน 286,075 คน โดยมีสัดส่วนประชากรต่อแพทย์ 1 ต่อ 3,643 คน[3] ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เกินไปจากมาตราฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้[4]

โรคหัวใจ

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพดำเนินงานโครงการซีเอสอาร์เพื่อช่วยเหลือสังคม (Corporate Social Responsibility) ด้วยแนวคิด  “Healthy Heart for Healthy Life” สนับสนุนการเข้าถึงระบบสาธารณสุขให้กับประชาชนไทยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ไปพร้อม ๆ กับการรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ได้จัดกิจกรรมออกหน่วยตรวจโรคหัวใจด้วยเครื่องคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูงในพื้นที่ห่างไกลต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้ การประชุมวิชาการหัวใจสัญจร ครั้งที่ 23 และการตรวจหัวใจด้วยเครื่องคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูงโดยในปีนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจ ณ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

พ.อ. รศ. นพ.ธรณิศ จันทรารัตน์ แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตัวแทนจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวว่า “ทางสมาคมฯ มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคหัวใจอย่างถูกต้อง เพราะจุดกำเนิดของโรคหัวใจก็มาจากหลากหลายสาเหตุซึ่งเป็นอาจเกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่เราอาจไม่ได้คำนึงถึงหรือให้ความสำคัญมากเพียงพอ เช่น เกิดจากพันธุกรรม ความเครียด ไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ

ฟิลิปส์
พ.อ. รศ. นพ.ธรณิศ จันทรารัตน์ แพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตัวแทนจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หรืออาจเกิดจากผลของโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น  ในปีนี้ทางสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯและมูลนิธิหัวใจฯ ก็มีแนวทางในการต่อยอดโครงการที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจโดยการร่วมมือกับ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดหน่วยออกตรวจผู้ป่วยโรคหัวใจ ณ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเราเล็งเห็นถึงปัญหาของการเข้าถึงระบบสาธารณะสุขของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลในภาคเหนือ การจัดตั้งและดำเนินการโครงการนี้ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสที่ทำให้ประชาชนและผู้ป่วยโรคหัวใจในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง เลขาธิการ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์พิเศษประจำศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “สาเหตุของโรคหัวใจมาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนหรือผู้ที่มีน้ำหนักมาก การสูบบุหรี่ และพันธุกรรม ดังนั้นประชาชนทั่วไปและผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจควรให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการ พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดสูบุหรี่

หากมีโรคประจำตัวที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ ควรรับประทานยาและพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด  และต้องตระหนักถึงสัญญาณเตือนโรคที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก หน้ามืด มีอาการใจสั่น หอบหรือเหนื่อยง่าย และมีอาการขาบวมผิดปกติ เมื่อมีอาการดังกล่าวผู้ที่มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้รับการวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาให้เหมาะสมและตรงจุด การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) หรือเรียกย่อๆว่า Echo เป็นการตรวจพิเศษทางด้านหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้หลักการของคลื่นอัลตราซาวด์ผ่านหน้าอกผู้ป่วยไปยังหัวใจ สามารถตรวจการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ ได้แก่ ขนาดของห้องหัวใจ การบีบและการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งบ่งถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การตรวจความผิดปกติของลิ้นหัวใจและประเมินความรุนแรงถ้าตรวจพบการรั่วหรือตีบ เป็นต้น

ฟิลิปส์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง เลขาธิการ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์พิเศษประจำศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ในการตรวจครั้งนี้ ฟิลิปส์ได้นำระบบจัดการข้อมูลและรายงานผล IntelliSpace Cardiovascular หรือ ISCV ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็ว เป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างแพทย์ภายในและระหว่างโรงพยาบาล ยกระดับความสามารถในการรักษาและการให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจให้ดียิ่งขึ้น

ด้าน นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ฟิลิปส์ ในฐานะบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น โดยเราได้มุ่งเน้นการสนับสนุนด้านการเข้าถึงระบบสาธารณะสุข รวมไปถึงส่งเสริมการให้ความรู้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน โดยในปีนี้เข้าสู่ปีที่ 3 ที่ทางฟิลิปส์ดำเนินกิจกรรมด้านการช่วยเหลือสังคมตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ด้านโรคหัวใจจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเครื่องคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง(Echocardiography) และระบบการจัดการข้อมูลภาพและรายงานผลสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ (ISCV) จากฟิลิปส์ ลงพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจ ณ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

“ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยของเครื่องมือทางการแพทย์จากฟิลิปส์ ทำให้การตรวจวินิจฉัยของแพทย์ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นไปจนถึงการติดตามผลเป็นไปได้อย่างแม่นยำ เป็นการช่วยลดเวลาการทำงานและแบ่งเบาภาระของแพทย์โรคหัวใจ อีกทั้งยังทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้มีสิทธิ์เข้าถึงการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

[1] กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข

[2] http://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=60

[3] รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดแม่ฮ่องสอน, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

[4] องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดมาตรฐานจำนวนแพทย์ต่อประชากรไว้ที่แพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,000 คน

banner Sample

Related Posts