องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรดำเนิ
- – มาสด้า ผนึกสวาทแคท จัดคาราวานรวมพลังสร้างโป่งเทียม อนุรักษ์ผืนป่า เขาแผงม้า วังน้ำเขียว
- – เกรท วอลล์ มอเตอร์ ผนึกกำลัง ททท. ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยยานยนต์พลังงานใหม่
โครงการ Elly Allies หรือโครงการอนุรักษ์ช้างป่าระดั
โดยภายในโครงการนี้ WWF ประเทศไทย จะมุ่งแก้ไขปัญหาภัยคุกคามต่าง ๆ ที่ช้างในเขตภูมิภาคเอเชียพบเจอ เช่น ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง โดยการร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงชุมชนโดยรอบ ในการพัฒนาความเป็นอยู่ระหว่
นางสาวพิมพ์ภาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประเทศไทย กล่าวว่า “WWF ประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและแก้
โดยการดำเนินงานนี้เป็นหนึ่
โดยกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้
นาย อรรถพงษ์ เภาอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า “อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นพันธมิตรกับ WWF ประเทศไทย มาอย่างยาวนานในหลาย ๆ ด้าน อาทิ ด้านการป้องกันปราบปราม ด้านการศึกษาวิจัย และด้านการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันเรายังตระหนักถึงปัญหาของประชาชนที่อาศัยรอบเขตอุทยานฯ รวมถึงผลกระทบของชาวบ้านอยู่เสมอในแง่ของการทำลายพืชผลทางการเกษตรของช้างป่า พวกเราพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง
โดยพยายามพัฒนาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของอุทยานฯ ให้กับช้างป่า และพยายามจัดการความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเต็มที่ตลอดทุกวัน เช่น การบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของช้างป่า การดำเนินการของพวกเราสามารถทำได้อย่างสำเร็จลุล่วงด้วยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชุมชนโดยรอบ ภาคเอกชน และ WWF ประเทศไทย พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะเข้าใจในธรรมชาติและความเป็นมาของช้างป่า เข้าใจถึงจุดกำเนิดของปัญหาและความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างแท้จริง และร่วมมือกับพวกเราในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน”

ภายใต้แคมเปญ We’re Ele-Friends: Allies for a Safer Future for Wild Elephants หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา ประกอบไปด้วยกิจกรรมมากมาย เช่น ทริปสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยทริปนี้มุ่งหน้าจากกรุงเทพฯ สู่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เพื่อให้สื่อมวลชนได้มีโอกาสในการเรียนรู้การดำเนินงานต่าง ๆ ภายในอุทยานฯ ซึ่งการดำเนินงานเหล่านี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนที่อาศัยโดยรอบเขตอุทยานฯ ที่ได้อยู่อาศัยใกล้ชิดกับสัตว์ป่าที่มีความชาญฉลาดและขนาดตัวใหญ่อย่างช้างป่านี้ จุดมุ่งหมายของการเดินทางครั้งนี้คือเพื่อให้สื่อมวลชนได้เข้าใจวิธีการทำงานอนุรักษ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯ และชาวบ้าน ทำงานร่วมกับ WWF ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างและสัตว์ป่าอื่น ๆ รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดความเป็นพันธมิตรในหมู่สาธารณชนและช้างป่า
ผู้เข้าร่วมการเดินทางในครั้งนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการดำเนินงานเพื่อขจัดความขัดแย้งมากมาย อาทิ ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพอุทยานแห่งชาติกุยบุรี (SMART Patrol system) ระบบสำหรับการติดตามสัตว์ป่า รวมถึง ระบบตรวจจับและติดตามประชากรช้างป่าและสัตว์ป่าด้วยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera Traps) ระบบที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนไปยังทีมเฝ้าระวังช้างป่าและชุมชน เมื่อเห็นถึงความผิดปกติที่ช้างจะออกนอกพื้นที่เขตอุทยานฯ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าร่วมทริปยังได้สัมผัสกับประสบการณ์ทัวร์ผืนป่ากุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย ดูช้างป่า ส่องกระทิง ที่นำโดยมัคคุเทศก์ในพื้นที่ โดยในการทัวร์ครั้งนี้ ทุกคนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตของช้างป่าและสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ รวมไปถึง กระทิง และกวางป่า อีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมในแคมเปญยังประกอบด้วยซีรี่ส์แนวสารคดี (Docu-series) ที่ทุกคนสามารถศึกษาและเรียนรู้ถึงความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ภายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งเป็นตัวอย่างการถอดบทเรียนความสำเร็จของการลดความขัดแย้งและปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า ภายในซีรี่ส์ยังบอกเล่าถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่ชาวบ้านพบเจอ ภัยคุกคามที่ยังคงเกิดขึ้นระหว่างคนกับช้างป่า รวมถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของคนกับช้างป่าเป็นไปได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยทุกคนสามารถรับชมซีรี่ส์ได้ทาง Facebook WWF-Thailand ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2567 หรือวันช้างไทย เป็นต้นไป
WWF ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นในการดูแลรักษาธรรมชาติเพื่อคนและสัตว์ป่า ด้วยความเชื่อ #TogetherPossible ทุกคนสามารถติดตามกิจกรรมของโครงการ We’re Ele-Friends หรือ เพื่อช้าง เพื่อนเรา รวมถึงโครงการอนุรักษ์อื่น ๆ ภายใต้ WWF Thailand ได้ผ่านช่องทาง Facebook WWF-Thailand, X WWF-Thailand และเว็บไซต์ www.wwf.or.th