หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เดินหน้าเต็มสูบ ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, กระทรวงแรงงาน, และภาคส่วนอื่นๆ จัดงานมหกรรม “Thailand Digital Talent Summit” ภายใต้เป้าหมาย “สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
- – หลักทรัพย์บัวหลวง จับมือ SkillLane เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ เสริมทักษะการลงทุนอย่างยั่งยืน
- – พม. หนุน 6 มหาวิทยาลัยนำร่องพัฒนาหลักสูตรทักษะอาชีพคนพิการระดับภูมิภาค
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวในงานว่า “หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านโครงการ Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนากลยุทธ์ 4 ประการสำคัญ ได้แก่สถาบันธุรกิจ (สำหรับระดับผู้บริหาร) เพื่อบ่มเพาะภาวะผู้นำด้านดิจิ
“เราร่วมมือกับภาครัฐ องค์กร และสถาบันการศึกษามากกว่า 10 แห่ง เพื่อนำเสนอโปรแกรมการฝึกอบรมที่ครอบคลุม ทั้งด้าน 5G, คลาวด์, AI, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ นอกจากนี้ เรายังมีโครงการแข่งขันด้านไอทีและทุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการนี้”
“ในปัจจุบัน หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ผนึกกำลั
ผลงานที่ผ่านมาในประเทศไทย หัวเว่ยและพันธมิตรได้พัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลกว่า 96,000 คน ครอบคลุมหลากหลายสาขา ตั้งแต่นักพัฒนาคลาวด์และ AI ไปจนถึงวิศวกรด้านเทคโนโลยีสีเขียว และได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 42 แห่งทั่วประเทศ
ภาครัฐร่วมแรงหนุน
ด้านนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ย้ำถึงความสำคัญของการสร้างกำลังคนด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านคลาวด์และ AI ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
“ในนามกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรั
ขณะที่นางจิรวรรณ สุตสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเสริมว่า “กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมุ่งมั่นที่จะสร้างสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล เพื่อรองรับการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่ทันสมัยและยืดหยุ่น ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการผลิตกำลังแรงงานที่มีทักษะสูง (Upskill/Reskill) ในระยะเร่งด่วน และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อพัฒนาแรงงานให้มีความรู้ความสามารถที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี”
“เรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดี
ความร่วมมือทางวิชาการ
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในมหาวิทยาลัย โดยเน้นย้ำถึงการสร้างหลักสูตรที่ทันสมัย การส่งเสริมนวัตกรรม และการสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้บัณฑิตมีความพร้อมในการทำงานในยุคดิจิทัล และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และการประมวลผลแบบคลาวด์
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่กับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง:
- สร้างผลกระทบเชิงบวกกับภาครัฐบาลและนโยบาย: ในการผนึกกำลังกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงแรงงาน ทั้ง 3 หน่วยงานตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้รวม 10,000 คน, นักพัฒนาด้านคลาวด์และ AI จำนวน 5,000 คน, และวิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมอีก 2,000 คนภายในปี พ.ศ. 2568 โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 20 แห่ง เพื่อสร้างองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรนักพัฒนาด้านคลาวด์และด้านดิจิทัลของหัวเว่ย
- แบ่งปันองค์ความรู้ด้านวิชาการ: มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (Beijing University of Post and Telecommunications), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัวโครงการใหม่กับหัวเว่ย ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อผลักดันการถ่ายทอดประสบการณ์ ส่งต่อองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรเพื่อโลกการทำงานในอนาคต
- มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน: เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยจัดโครงการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อชิงทุนการศึกษาในปี พ.ศ. 2566-2567 โดยได้มอบ 9 รางวัลให้กับทีมผู้ชนะรางวัลใน 3 สาขา ได้แก่ ด้านเครือข่าย (Network) ด้านคลาวด์ (Cloud) และด้านการประมวลผล (Computing) โดยมีมูลค่ารางวัลรวมกว่า 1.4 ล้านบาท
- การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและการสร้างอาชีพ: หัวเว่ยร่วมกับพันธมิตร 15 รายในธุรกิจองค์กร, คลาวด์, พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จัดมหกรรมจัดหางานเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมและประกาศนียบัตรรับรองจากหัวเว่ยได้เข้าถึงงานในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบ, ธุรกิจองค์กร, และการพัฒนาซอฟต์แวร์
ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการกำหนดนโยบายและพันธมิตรโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัลให้ได้รวม 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดการแข่งขันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 4,000 คน รวมทั้งได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฝึกอบรมเอสเอ็มอีไทย 160 ราย เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G, เมืองอัจฉริยะ, AI และหุ่นยนต์แบบอิมเมอร์ซีฟ และจัดกิจกรรมการแข่งขันด้านไอซีทีครอบคลุมเทคโนโลยีคลาวด์, ทรัพย์สินทางปัญญา, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา และมอบทุนการศึกษาคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2566 รวมถึงโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม(Digital Bus) ซึ่งมอบการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลใน 14 จังหวัดในประเทศไทย
หัวเว่ยได้วางรากฐานในประเทศไทยมากว่า 25 ปี โดยมุ่งมั่นผลักดันกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ผ่านแพลตฟอร์ม Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และหลักสูตรการฝึกอบรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หัวเว่ยจะมุ่งมั่นสร้างอีโคซิสเต็มครบวงจรที่รวมการฝึกอบรม, มาตรฐานการรับรองจากหัวเว่ย, การคัดเลือกพันธมิตร, และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการบ่มเพาะสภาวะความร่วมมือที่เปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม ไปสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริง โดยหัวเว่ยพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล ที่เปี่ยมด้วยความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
#หัวเว่ย #กระทรวงอว. #HuaweiThailandDigitalTalent #พัฒนาทักษะดิจิทัล #บุคลากรดิจิทัลไทย #ศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน #ThailandDigitalHub