‘ดีแทคเน็ตอาสา’ อีกหนึ่งโครงการระยะยาวที่มีมานานกว่า 5 ปี ด้วยงบประมาณกว่า 30 ล้านบาทที่ถูกใช้ไปในแต่ละปี นับเป็นมูลค่าไม่น้อย วันนี้ TheReporter.Asia ได้มีโอกาสเจอพี่อุ้ม อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในงาน ‘ดีมา Get ดี Market’ เลยได้สอบถามความมุ่งมั่นแบบเจาะจงกันสักหน่อย
โดยพี่อุ้มเล่าว่า ความเป็นมาของ ‘ดีแทคเน็ตอาสา’ นั้นก็เพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมของโลกดิจิทัลได้รับการดูแลให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เรามีความพยายามมานาน 5-6 ปี ก่อนที่จะเกิดโครงการของภาครัฐ โดยตั้งงบประมาณทั้งหมดโครงการในแต่ละปีราว 30 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเริ่มต้น เราตั้งทีมดูแลการใชสมาร์ทโฟนให้กับกลุ่มชุมชนที่ต้องการ
ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายโครงการ แต่หลักๆคือการส่งเสริมและให้ความรู้ เพื่อให้ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ ได้สามารถสร้างร้านค้า และยอดขายผ่านช่องทางออนไลนืได้อย่างประสบความสำเร็จ
โดยน้องๆทีมงาน ดีแทค เน็ตอาสา จะเข้าไปในพื้นที่ และสอนการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อสร้างร้านค้า เพจ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เพื่อให้กลุ่มชุมชน หรือชาวบ้าน ได้ประโยชน์จากโลกออนไลน์มากขึ้น แน่นอนว่ามีผุ้ค้าหลายรายที่เกิดรายได้มหาศาลจากทีมน้องๆเหล่านี้เป็นผู้แนะนำ
หลังจากนั้น โครงการของรัฐก็ได้ก่อตั้งขึ้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็คือโครงการ ‘เน็ตอาสาประชารัฐ’ ซึ่งก็มีคอนเซ็ปต์คล้ายกัน และเป้นความร่วมมือที่เราได้ไปช่วย พัฒนาครูด้านดิจิทัล ให้มีความรู้ที่สามารถส่งต่อไปสู่สมาชิกในชุมชนได้กว่า 1 ล้านคน ในช่วงที่ผ่านมา
โดยความสามารถของครูผู้สอนนั้น สามารถเข้าใจในบริบทของการตลาดออนไลน์ การใช้เครื่องมือออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนสามารถถ่ายทอดรูปแบบการตลาดออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ ให้กับชุมชน บุคคลที่ต้องการเข้าสู่วิถีชีวิตออนไลนืได้อย่างสมบูรณ์
ดีแทค สมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีดีอย่างไร
นอกจากนี้ ดีแทค ยังมีโครงการที่สอนลงลึก ในรายละเอียดที่ชื่อว่า ‘ดีแทค สมาร์ทฟาร์มเมอร์’ ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรเป้าหมาย สามารถใช้เทคโนโลยีในการเพาะหลุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการทดลองในแปลงเพาะปลูกจริงและได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี
ซึ่งโครงการนี้พุ่งเป้าไปที่กลุ่ม Young Smart Farmer ที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี โดยมีจำนวนเพียง 70,000 รายที่ลงทะเบียนกับหน่วยงานรัฐเอาไว้ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการเพาะปลูกให้ได้ประโยชน์สูงสุด จากการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้
ทั้งนี้รายละเอียดของการสนับสนุนสมาร์ทฟาร์มเมอร์เหล่านี้ จะอัดแน่นด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์ของสินค้านั้นๆ วิธีการเล่าเรื่องสินค้าเพื่อให้น่าสนใจ การถ่ายภาพ การเลือกรูปให้ดึงดูดสายตา การสร้างแรงดึงดูด การสร้างแบรนด์ การซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทในช่องทางออนไลน์ ภายใต้การอบรมใน 1 วัน
อีกทั้งในปีหน้ายังจะเตรียมเปิดโซลูช่น IoT ที่พร้อมจะให้เกษตรกรไปต่อยอดไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์เต็มรูปแบบอย่างง่าย ซึ่งจะเป็นโซลูชั่นสำหรับโรงเรือนปิด ด้วยราคาราวๆ 14,000 บาท โดยจะมีทั้งแอปพลิเคชั่นเพื่อควบคุมและสั่งการอุปกรณ์ไอโอที อุปกรณ์ตรวจวัดความชื้นทั้งในอากาศและในดิน อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ ทั้งในดินและอากาศเช่นกัน อีกทั้งยังมีอุปกรณ์กล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบสภาพพืชได้อย่างเหมาะสม
FfpF8i’dkiouh
ทั้งนี้พี่อุ้มยังกล่าวทิ้งท้ยไว้ว่า หากชุมชน หรือชาวบ้านสนใจเรื่องของออนไลน์ ต้องการให้ดีแทคเน็ตอาสา เข้าไปสอน สามารถติดต่อเข้าไปที่ ดีแทคคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านโครงการ เน็ตอาสาประชารัฐ ได้โดยตรงแบบไม่มีค่าใช้จ่าย อยากจะเรียนรู้เรื่องออนไลน์เรื่องใด ดีแทคเน็ตอาสาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อให้ทุกคนก้าวไปสู่โลกออนไลนืได้อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง