เปิดใจ!!! แมกโนเลีย ทำไมต้องทุ่มกว่า 70 ล้านช่วยชีวิตต้นไม้

เปิดใจ!!! แมกโนเลีย ทำไมต้องทุ่มกว่า 70 ล้านช่วยชีวิตต้นไม้

อสังหาริมทรัพย์ เป็นจำเลยอันดับต้นๆที่ถูกมองว่าเป็นตัวการทำลายธรรมชาติ เพราะทุกครั้งที่ก่อสร้างต้องกวาดล้างพื้นที่ธรรมชาติทั้งหมดก่อนเพื่อสร้างตามแบบที่กำหนด แต่ไม่ใช่กับโครงการใหญ่ระดับ 9 หมื่นล้านบาท ที่แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น

กำลังจะเนรมิตพื้นที่ย่านบางนากว่า 300 ไร่ ให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยแบบสมานฉันท์กับธรรมชาติ ด้วยพื้นที่ป่ากว่า 30ไร่ ให้กลายเป็นปอดของโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ และทุ่มรักษาชีวิตต้นไม้ทั่วกรุงกว่า 70 ล้านบาท เพื่อสานสัมพันธ์ประวัติศาสตร์ของธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป

ประเด็นของการนั่งคุยในวันนี้ไม่ได้อยู่ที่การสร้างโครงการระดับหมื่นล้าน แต่เป็นเรื่องของการทุ่มงบกว่า 70 ล้านบาท เพื่อระดมสรรพกำลัง ช่วยเหลือต้นไม้ในเมืองที่ถุกร้องขอผ่านโครงการ ช่วยต้นไม้ ไม่ให้ตาย เพื่อความสุขของมนุษย์ “Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว”

ประหนึ่งการช่วยชีวิตของผู้เคราะห์ร้ายที่กำลังจะถูกโค่นลงอย่างไม่แยแส เพื่อให้เกิดเมืองศิวิไลอย่างที่ใครหลายคนต้องการ ในฐานะที่เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกของประเทศไทย ในการทุ่มงบประมาณเพื่อช่วยเหลือต้นไม้อย่างจริงจัง

ต้นไม้ต้องรอด “Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว”

วัสนัย ภคพงศ์พันธ์ ผู้อำนวย ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร โครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า ฟอเรส เรสคิว เกิดจากแนวคิดของปัญหาธรรมชาติที่โดนรุกล้ำ ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนจากการทำลายพื้นที่สีเขียว

โดยปัจจุบันเรามีพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรของประเทศไทยแค่เพียง 6 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่ามาตรฐานโลกที่กำหนดไว้ว่าพื้นที่สีเขียวควรมีไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน เพื่อสร้างสมดุลให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อประชากรผู้อยู่อาศัย

อีกทั้งในเรื่องของมลพิษทางอากาศ ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมามีรายงานฝุ่นปนเบื้อนในอากาศของกรุงเทพขนาด 2.5 ไมครอน ซึ่งนับว่าเป็นละอองฝุ่นขนาดเล็กที่เรามองแทบไม่เห็น และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมาก

การมีพื้นที่สีเขียวหรือต้นไม้เพิ่ม จะช่วยฟอกอากาศให้เกิดความสมดุลอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งก็เป็นที่มาว่าเราต้องทำโครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์ เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติให้กับมามีชีวิตอีกครั้ง

ด้านภาคย์ วรรณศิริ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ไอเดียของการช่วยเหลือต้นไม้ เริ่มจากการมองหาคอนเทนต์ที่ใกล้ตัวในเรื่องของธรรมชาติ หลังจากที่เราได้รับโจทย์ให้สร้างการรับรู้เรื่องธรรมชาติของโครงการ ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนมักจะคิดถึงการปลูกป่า ปลูกต้นไม้ เพื่อเชื่อมโยงธรรมชาติ

แต่เรากลับมองว่า เราจะช่วยต้นไม้ให้อยู่รอดต่อไปได้อย่างไร และเมื่อเรามองในเรื่องของโลกออนไลน์ก็พบว่ามีการแชร์การตัดต้นไม้ในเมือเกิดขึ้นอยู่เรื่อยไป ซึ่งการแชร์ก็เพื่อต้องประจานหรือด่าการตัดต้นไม้นั่นเอง แต่ก็ยังไม่มีใครยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือต้นไม้เหล่านั้นอย่างจริงจัง เนื่องจากการย้ายต้นไม้แต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นหลักหมื่นบาทขึ้น อีกทั้งพื้นที่ปลูกหลังจากนำขึ้นมาก็ไม่ใช่เรื่องที่จะหาได้ง่ายๆ

อสังหาริมทรัพย์
ภาคย์ วรรณศิริ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทย

ทำให้เราเกิดโครงการ “Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว” ด้วยแนวคิดที่จะย้ายต้นไม้ที่ไม่เป็นที่ต้องการแล้วของผู้คน ไปสู่พื้นที่ป่าอย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้ใครเข้าไปตัดเขาได้อีก

โดยทุกต้นที่ได้รับการช่วยเหลือจะติดป้ายกำกับไว้ว่าได้รับการช่วยเหลือจากใคร และย้ายมาจากพื้นที่แห่งใด รวมถึงตำนานความผูกพันธ์ระหว่างต้นไม้และมนุษย์เป็นอย่างไร เพื่อเนรมิตให้เป็นดินแดนที่ต้นไม้จะได้รับการปกป้องอย่างแท้จริง

แค่อยากหาต้นไม้ เพื่อไปปลูกในโครงการหรือเปล่า

ความท้าทายของโครงการช่วยชีวิตต้นไม้ นอกจากจะมีเรื่องยากของการช่วยชีวิต การขนย้าย การอนุบาลต้นไม้ ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงของโอกาสในการรอดชีวิตแล้ว

อีกเรื่องที่สำคัญของการพลิกบทบาทจากผู้ทำลายของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้กลายเป็นผู้สร้างและรักษา นั่นก็คือ “ทัศนคติ” ซึ่งแน่นอนว่าคนก็จะมองว่า แค่อยากได้ต้นไม้เข้าไปปลูกในโครงการเท่านั้น ไม่ได้คิดจะทำจริงจังอย่างไร

วัสนัย ภคพงศ์พันธ์ ให้ความกระจ่างกับ TheReporter Asia ว่า ถ้าเราต้องการเพียงแค่ต้นไม้เข้าโครงการ การเลือกซื้อต้นที่ถูกใจ จะคุ้มค่ามากกว่าในทุกแง่มุม ทั้งในส่วนของชนิดพืชพันธุ์ที่ต้องการ ราคาที่ถุกกว่า การขนย้ายที่สะดวก ระยะเวลา โอกาสในการรอด แต่ที่เราต้องหันมาทำโครงการช่วยเหลือต้นไม้ เพราะเราตระหนักดีว่า มีต้นไม้ใหญ่หลายต้นในเมืองกรุงกำลังต้องการความช่วยเหลือ

การปลูกป่าใหม่ก็ดี แต่กว่าต้นไม้ที่ปลูกใหม่จะเติบใหญ่ก็ต้องใช้เวลาหลายสิบปี การรักษาต้นไม้ที่ยืนต้นมานานๆเหล่านั้นไว้ แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณเยอะกว่าการซื้อใหม่ แต่เราได้เก็บรักษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และต้นไม้ไว้ให้คงอยู่นั่นเอง

ก่อนหน้านี้เราได้รับคำเตือนจากคุณภาคย์ วรรณศิริ ว่า การทำแคมเปญเช่นนี้จะต้องทำอย่างจริงใจ และตั้งใจ ไม่ย่อท้อกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง และนั่นก็ทำให้เราตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะช่วยเหลือต้นไม้ที่ไม่เป็นที่ต้องการสำหรับบางพื้นที่ในเมืองอีกต่อไป

แน่นอนว่าการทำแคมเปญเช่นนี้จะต้องมีการทำงานอย่างจริงจัง แบบไม่ฉาบฉวย เพื่อให้เกิดการรับรู้และเรื่องราวอย่างจริงจัง เป็นการทำงานระยะยาว เพื่อต่อยอดไปสู่ความเชื่อมัน ซึ่งตอนนี้นับว่ายังอยู่ในช่วยการสร้างความเชื่อมั่นเท่านั้นเอง และท้ายที่สุดจะนำไปสู่ภาพลักษณ์ของโครงการเพื่อที่อยู่อาศัยต่อไป

หลังจากที่เราเปิดตัวแคมเปญนี้ไป ก็เริ่มมีผู้คน บอกเล่าเรื่องราวในการช่วยเหลือต้นไม้ที่มีความผูกพันธ์ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการช่วยเหลือต้นไม้ไปแล้วกว่า 20ต้น โดยหลังจากที่เราได้รับเรื่อง ก็จะทำการประเมินจากนักพฤกษศาสตร์ เพื่อให้ทราบโอกาสและความเสี่ยงของการย้ายต้นไม้เหล่่านั้น

ซึ่งบางต้นก็ไม่สามารถข่วยได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของชนิดดิน ค่าPH ค่าของอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งบางต้นต้องการระยะเวลาในการปรับตัว แต่บางชนิดก็ไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้เราไม่สามารถช่วยเหลือได้ทั้งหมด

ความตั้งใจของเรา คือการสร้างสายสัมพันธ์ ระหว่างคนกับต้นไม้ซึ่งมีความผูกพันธ์กันมาช้านานอยู่แล้ว และโครงการนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่นอกจากจะได้ช่วยต้นไม้แล้ว ผู้คนยังได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตลอดกระบวนการ

โดยเราจะแจ้งกระบวนการย้ายต้นไม้ให้ผู้คนรับรู้บนโลกออนไลน์ ตลอดจนติดตามไปจนถึงการปลูกในพื้นที่ป่ากว่า 30ไร่ที่ได้จัดเตรียมไว้โดยเฉพาะ ยกเว้นพืชสายพันธุ์เอเลี่ยน (สายพันธุ์ที่ไม่สามารถปลูกร่วมหรือใกล้พืชปกติได้) จะถูกประเมินและปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม ในบริเวณโครงการกว่า 300 ไร่ต่อไป

อสังหาริมทรัพย์

ยอมทุ่ม 70 ล้าน เพื่อรักษาชีวิตต้นไม้

แน่นอนว่าการย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่นั้นจะมีต้นทุนในการย้ายที่สูงมาก และการย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่นั้น ก็จำเป็นจะต้องมีกระบวนการในการย้ายที่ถูกต้องและวางแผนอย่างรัดกุม ยกตัวอย่างเช่นต้นยางนา อายุกว่า 200 ปี ย่านลาดพร้าว ซึ่งมีการปลูกมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์

พื้นที่นั้นไม่มีทางรถออก มีเพียงทางเรือเท่านั้น ซึ่งเราอาจจะต้องยอมที่จะเข้าไปช่วยเขา โดยการขนถ่ายออกมาทางเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญในการประเมินเพื่อให้ขนย้ายจนต้นไม้ชนิดนั้นให้รอดออกมา ซึ่งหากคิดมูลค่าแล้ว การย้ายต้นยางนานี้มีค่าใช้จ่ายหลักล้านบาทเลยทีเดียว

ซึ่งตอนนี้ต้นยางนาทั้ง 2 ต้นที่กล่าวมา ยังอยู่ในขั้นตอนการประเมินของนักพฤกษศาสตร์ เนื่องจากมีอายุของต้นนานมาก ผลกระทบของการย้ายอาจจะส่งผลต่อชีวิตของต้นไม้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องทำการประเมินอย่างละเอียด เพื่อให้ต้นยางนาทั้งสองต้นรอดออกมาให้ได้

นับเป็นความตั้งใจของเราที่ต้องการรักษาประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้และวิถีชีวิตในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งถูกจารึกลงในต้นยางนาทั้งสองนั้นอย่างแนบแน่น

และบางครั้งการย้ายต้นไม้ขนาดใหญ่ จำเป็นต้องริดกิ่ง ริดใบ เพื่อให้เกิดการคายน้ำให้น้อยที่สุด และเพิ่มทางรอดให้กับต้นไม้ หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการอนุบาลซึ่งต้องใช้เวลานานหลายเดือน ก่อนที่จะนำไปปลูกยังสถานที่จริงต่อไป นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องสื่อสารกับโลกออนไลน์ที่ไม่เข้าใจว่าเราจะริด ตัดกิ่งจนโล่งเตียนเพื่ออะไร ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันมากขึ้น

การมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆ เริ่มต้นเพียงเพียงถ่ายรูป พร้อมบอกเล่าเรื่องราวของต้นไม้ และความสำคัญของการที่ต้องรักษาไว้ พร้อมติดแฮทแท็ก #ForestRescue เพื่อส่งเรื่องให้กับโครงการ Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว โดยผู้แจ้งจะต้องเป็นเจ้าของต้นไม้นั้นๆจริงๆ เพื่อไม่เป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้ของต้นไม้นั้นๆนั่นเอง

รักษาชีวิตต้นไม้ เพื่อช่วยรักษาชีวิตธรรมชาติ

ความตั้งใจของเราทั้งหมดของการทำโครงการ Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว ก็เพื่อต้องการผูกเรื่องราวที่คนสนใจ ทั้งในส่วนของแบรนด์ ต้นไม้ ธรรมชาติ ตลอดจนเรื่องราวความสัมพันธ์ของผู้คนรายรอบ แต่เราเลือกที่จะเริ่มจากการกระทำก่อน แทนที่เราจะพุดเพียงแนวคิด เราจึงเริ่มลงมือทำ และสร้างการสื่อสารหลังจากที่เราทำแล้วให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนมากขึ้น

โดยโครงการเดอะ ฟอเรสเทียส์ เกิดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “Imagine Happiness” ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 หมวดใหญ่ หรือ Eternal 4 ได้แก่ 1.50 Shades of Nature ความสุขในการใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติระบบนิเวศขนาดใหญ่ 2.Connecting 4 Generations ความสุขในการดีไซน์พื้นที่ความอบอุ่นให้กับครอบครัวได้ใช้ชีวิตร่วมกันครอบคลุมถึง 4 เจนเนอเรชั่น

3.Community of Dreams ความสุขบนพื้นที่และสาธารณูปโภคที่ให้ทุกคนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 4.Sustainnovation for Well-being ความสุขด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งนับเป็นดีเอ็นเอของ MQDC ที่สร้างแนวคิดใหม่ของการใช้ชีวิตทั้งในวันนี้และในอนาคตต่อไป

โดยในเฟสแรกจะเริ่มเปิดตัวด้วยแกนที่ว่าด้วยเรื่องของพื้นที่สีเขียว โดยแบ่งป่าออกเป็น 3โซน 1.ดีฟ โซน เป็นส่วนป่าลึกที่ไม่ให้คนเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพื่อสร้างเป็นโรงงานออโซนโดยธรรมชาติให้กับพื้นที่นี้ทั้งหมด เสมือนเป็นปอดของพื้นที่ในเมืองอีกแห่งหนึ่ง 2.ป่าที่ผู้คนสามารถเข้าไปทำกิจกรรม และใช้ประโยชน์ได้ 3. พื้นที่สีเขียว ที่ผู้คนสามารถเข้าไปทำกิจกรรมขนาดใหญ่ได้อย่างอิสระ

จากพื้นที่ป่า 30 ไร่ จะเป็นส่วนของพื้นที่ต้นไม้ที่เราช่วยเข้ามา และบางส่วนที่เป็นสายพันธุ์ไม่เข้าพวกก็จะถูกกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่รวม 300 ไร่ภายในโครงการ ซึ่งเราจะมีผู้เขี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ ในการกำหนดว่าต้นไม้ ชนิดใดสามารถปลูกร่วมกันได้ก่อนการปลูกลงดิน

ภาคย์ วรรณศิริ กล่าวว่า วันนี้ เราต้องการสร้างกระบวนการเชิงบวก เพื่อสร้างแอคชั่นให้กับสังคม และสร้างการสื่อสารให้กับแบรนด์ของเราได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา การทำงานโฆษณาของเรา เราจะมุ่งเน้นที่การสื่อสารที่ตรงความต้องการมากขึ้น โดยเราจะมองหาวิธีการที่จะสื่อสาร ที่มีประโยชน์ที่แท้จริงให้กับผู้รับสารมากที่สุด

เรื่องของการทำลายธรรมชาติ เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น แต่การช่วยต้นไม้เหล่านี้ให้ได้เติบโตต่อไปในพื้นที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้สาธารณะขนทั่วไป สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ทำให้เป็นเสมือนปอดของกรุงเทพอีกแห่งหนึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวังในอนาคต

ในมุมของการโฆษณานั้น หากเราเห็นในต่างประเทศ การตัดต้นไม้นั้นจะเป็นเรื่องยากมาก ในขณะที่ประเทศไทย เราตัดต้นไม้ก่อนที่จะตัดสายไฟเสียอีก การดึงแคมเปญในการข่วยต้นไม้ เพื่อทำให้เห็นคุณค่าของต้นไม้ ซึ่งแม้ว่าจะย้ายต้นไม้ เขาก็ยังมีประโยชน์ของเขาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เปลี่ยนพื้นที่ในการทำเท่านั้น

ธรรมชาติใกล้ตัว ออนไลน์ก็ใกล้ชิดผู้คน

เราต้องการสื่อสารเช่นนี้ในโลกออนไลน์ เพื่อเป็นการขยายเรื่องราวของการรักษาชีวิตต้นไม้ พร้อมๆกับการสร้างความผูกพันธ์ของผู้คนเช่นเดียวกับต้นไม้ ซึ่งทำให้เราสื่อสารเรื่องราวต่างๆของกระบวนการย้ายและรักษาชีวิตต้นไม้ เข้าสู่ระบบออนไลน์ เพื่อกระจายให้ผู้คนรับรู้ให้ได้มากที่สุด

โดยจะมีการแจ้งขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ซึ่งผู้ช่วยเหลือต้นไม้นั้นๆ หลังจากที่มีการอนุบาล และลงปลูกในพื้นที่จริงแล้ว เราได้จัดทำป้าย เพื่อส่งต่อเรื่องราวของต้นไม้นั้นๆว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือและมีที่มาจากไหน อย่างไร

และแม้ว่าการย้ายนั้นจะมีขั้นตอนและรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่เราก็ตั้งเป้าว่า ใน 1 สัปดาห์ เราจะต้องช่วยต้นไม้ให้ได้กว่า 2 ต้น และเราจะต้องช่วยอย่างต่อเนื่อง โดยระยะเวลาที่ผ่านมา 1 เดือนมีการแจ้งเรื่องต้นไม้เข้ามาแล้วกว่า 50 ต้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงของการย้าย เพื่อหาขั้นตอนและระยะเวลาที่เหมาะสม

ในช่วงแรกนี้โครงการ Forest Rescue – ฟอเรส เรสคิว จะทำการช่วยเหลือต้นไม้ไปจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณในการย้าย การอนุบาล การปลูก การสื่อสารกับผู้คน ตลอดจนการสร้างคอนเทนต์ที่เล่าเรื่องราวของต้นไม้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยงบประมาณกว่า 70 ล้านบาท

เพราะเราเชื่อว่า คนเราสามารถสร้างเรื่องราวความสุขของตัวเองได้ และการได้เข้ามาอยู่กับโครงการอสังหาฯสักแห่ง ที่เต็มเปี่ยมด้วยธรรมชาติแวดล้อม ซึ่งเราเชื่อว่าธรรมชาติหรือต้นไม้ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะสร้างความสุขของผู้คนที่เข้ามาอยู่ได้อย่างยั่งยืน

และแคมเปญนี้ก็ได้รับการตอบรับที่ดี โดยสามารถสร้างการรับรู้กับโฆษณาในยูทูปได้มากกว่า 1 ล้านวิวในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และสร้างการรับรู้ในส่วนของสื่อออนไลน์ทั่วไปได้กว่า 20 ล้านวิว ให้เป็นที่รับรู้ อีกทั้งยังมีส่วนของเพจต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือในการเผยแพร่ให้เกิดการรับรู้ เพื่อช่วยเหลือต้นไม้ให้มีชีวิตรอดต่อไป

เราพยายามให้เกิดการแชร์และส่งต่อให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งเราเชื่อว่า เพียงแค่คุณแชร์ คุณก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือให้ต้นไม้นั้นมีโอกาสรอดชีวิตจากการถูกตัดก็เป็นได้

ทิศทางการสร้างแบรนด์ในอนาคต Brand Lover

วันนี้เราต้องการหล่อเลี้ยงความเชื่อเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์จะมีตัวตนขึ้น เมื่อเราสามารถสื่อสารกับเขาได้อย่างใกล้ชิด เป็นการสื่อสาร Brand Love เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจว่า แบรนด์เชื่ออย่างไรและส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายให้เชื่อเช่นเดียวกัน

การสร้างให้คนรักแบรนด์ เป็นแนวทางใหม่ของการทำการสื่อสาร โดยเราจะเริ่มที่ความสนใจของผู้คนและถ่ายทอดความเชื่อเหล่านั้นให้เกิดความรักในแบรนด์ขึ้นมา

นอกจากการช่วยชีวิตต้นไม้นี้ ด้วยนักพฤกษศาสตร์ ซึ่งเป็นทีมที่จะดูแลป่าในโครงการฟอเรสเทียร์อยู่แล้ว และจะเป็นผู้ที่ประเมินสถานการณ์ในการย้ายต้นไม้เหล่านั้นที่ได้รับแจ้งมา

เรายังจะมีการดึงเรื่องราวกระบวนการย้ายบางส่วนขึ้นมาสร้างฮีโร่ และถ่ายทอดเรื่องราวของต้นไม้เหล่านั้น ในการช่วยเหลือให้รอดออกมา ซึ่งเป็นเสมือนเรื่องเล่าที่เราจะขวนคนคุยไปเรื่อยๆเพื่อสร้างการรับรู้และโยงใยไปถึงเรื่องของโครงการ

“แล้วทำไมเราต้องไปปลูกใหม่ ในเมื่อเราช่วยต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีอายุมายาวนานแล้ว ให้อยู่รอดต่อไป และถ่ายทอดเรื่องราวของต้นไม้ต้นนั้นส่งต่อให้ลูกหลานได้ต่อไป”

Related Posts