
ซีพีแรม (ลาดกระบัง) ผนึกกรมป่าไม้และชุมชนเขามดง่าม เดินหน้าฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม บนพื้นที่ 10 ไร่ ภาคตะวันออก หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวสู่ชุมชน และช่วยป้องกันการรุกล้ำพื้นที่ระหว่างคนและสัตว์ป่า ตั้งธงการสร้างพื้นที่กันชนโดยรอบภูเขากว่า 150 ไร่ ให้ได้ภายใน 5 ปี
นายธีรพันธุ์ ลักษณาภิรมย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดกระบัง) เปิดเผยว่า ซีพี แรม สำนักงานลาดกระบัง ร่วมกับกรมป่าไม้ การนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และชุมชนในเขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ ร่วมขับเคลื่อนโครงการ “CPRAM Forest best for life. ปีที่1 ปลูกเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม บนพื้นที่ 10 ไร่ ภาคตะวันออกของประเทศไทย ณ พื้นที่เขามดง่าม อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำ ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ให้กลับมามีสภาพป่าเหมือนเดิมมากที่สุด และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความยั่งยืนสืบไป
โดยโครงการนี้ ยังตั้งเป้าที่จะสร้างพื้นที่ป่าโดยรอบ จากความร่วมมือของกรมป่าไม้รวมแล้วกว่า 150 ไร่ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ป่าทั้งผืนอีกครั้ง ซึ่งทางซีพีแรมก็พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ อย่างเช่นครั้งนี้ก็มีงบสนับสนุนกิจกรรมกว่า 2 แสนบาท เพื่อดำเนินการปลูกป่าได้ 10 ไร่
สำหรับที่มาของการจัดทำโครงการฯ ครั้งนี้ สืบเนื่องด้วย บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยังคงเดินหน้ามุ่งสู่ความยั่งยืนด้วยการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรป่าไม้ที่ถูกทำลายและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ พร้อมตอบสนองนโยบายเครือฯ มุ่งสู่เป้าหมายองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573
ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญญาสิ่งแวดล้อมและลดวิกฤตโลกร้อน เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพันธะสัญญาในการลดก๊าซเรือนกระจกตามเจตจำนงที่แสดงต่ออนุสัญญา UNFCCC ในการลดก๊าซเรือนกระจก 20 – 25% ภายในปี 2573
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้ดำเนินโครงการนำร่องปลูกต้นไม้ในพื้นที่กรมป่าไม้ รวม 10 ไร่ โดยให้ผู้บริหาร พนักงาน ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ สร้างความสมดุลในระบบนิเวศ และลดปัญหาสภาวะโลกร้อน มีความตระหนักต่อการรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

“การดำเนินโครงการฯ เป็นการ่วมมือระหว่างซีพีแรมและกรมป่าไม้โดยบริษัทฯ ให้การสนับสนุนงบประมาณ กำลังคนในการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าในเนื้อที่ 10 ไร่ กรมป่าไม้จะดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ พันธุ์กล้าไม้และอุปกรณ์ต่างๆ ในการปลูกต้นไม้ให้ ทั้งนี้ บริษัทฯจะเข้าติดตามผลต้นไม้ที่ปลูกโดยกรมป่าไม้จัดทำรางานส่งให้บริษัทฯ ในเดือนตุลาคมของทุกปี ทั้งนี้การเลือกพื้นที่นำร่องที่เขามดง่าม เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่ เขามดง่าม ตำบล เขาซก อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
แต่พื้นที่ป่าดังกล่าวได้รับการรบกวน ถูกทำลาย เสื่อมโทรม ทางบริษัท ซีพีแรม จำกัดได้ตระหนักถึงทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลายและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางบริษัทฯ จึงมีความประสงค์ที่จะสนับสนุนฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่เขามดง่าม ให้กลับมามีสภาพป่าเหมือนเดิมมากที่สุด ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสัตว์ป่า อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ”
ทั้งนี้โครงการฯ มีความมุ่งหวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชนและประเทศไทย โดยการช่วยฟื้นฟูและรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้มีสภาพสมบูรณ์มากขึ้นและสัตว์ป่ากลับไปเป็นเหมือนเดิมมาก อีกทั้งยังเป็นเป็นการเพิ่มและสร้างแหล่งเก็บกักคาร์บอนที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนให้กับโลก ในการดำเนินโครงการฯ ในครั้งแรกจะดำเนินการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ขนาดพื้นที่ 10 ไร่

คาดในปี 2035 จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 90.2 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมยังเป็นการยกระดับการสร้างความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงาน ผู้บริหาร ชุมชนและหน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม
สำหรับการดำเนินการโครงการดังกล่าว สอดคล้องตามแนวทางการขับเคลื่อนด้านส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร ภายใต้โครงการ “CPRAM GREEN LIFE #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน” ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนผืนแผ่นดินไทย เสริมสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์ สร้างแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาเรือนกระจกของโลก อีกทั้งยังช่วยผลิตก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล