โลกของอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องของการใช้เครื่องมือให้ถูกที่ถูกเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการสร้างยอดขายได้ตรงเป้า ตรงความต้องการ งานนี้เจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง Lazada ยอมพลิกโฉมการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ภายในแพลตฟอร์มลาซาด้าเอง และจัดตั้งมหาวิทยาลัยลาซาด้า (Lazada University) เพื่อสอนให้เอสเอ็มอีไทยกระโดดเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ชได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด TheReporterAsia ไม่รอช้าที่เข้าไปเจาะลึกเครื่องมือดังกล่าวว่ารหัสความสำเร็จของอีคอมเมิร์ชนั้นคือสิ่งใดกันแน่
นายวีระพงศ์ โก รองประธานอาวุโสฝ่ายอีคอมเมิร์ซ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยลาซาด้า เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์แบบครบวงจรที่ออกแบบมา เพื่อเสริมทักษะผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีด้านอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ โดยลาซาด้าพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของเรามาใช้เพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยสู่ช่องทางออนไลน์ และสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งไปพร้อมกับเรา ซึ่งแพลตฟอร์ม Lazada University ใหม่นี้ ครบครันด้วยฟีเจอร์อัจฉริยะที่เราพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยสามารถประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจดิจิทัลรูปแบบใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน
โอกาสของการตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีอีกมาก โดยปัจจุบันอีคอมเมิร์ซยังมีสัดส่วนเพียงแค่ 5% เมื่อเทียบกับตลาดค้าปลีกของประเทศไทย ซึ่งนับตั้งแต่เปิด Lazada University เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา เรามีการอบรมผู้ขายไปแล้วกว่า 1 แสนราย ด้วยกว่า 200 หลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจในเครื่องมือและทักษะด้านอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มที่ ทั้งในรูปแบบออฟไลน์ ออนไลน์ และทางไลฟ์สตรีมที่มีการอบรมไปแล้วมากกว่า 1,500 ชั่วโมง
ทั้งนี้่สิ่งสำคัญของการเรียนรู้เรื่องของเครื่องมือเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอี สามารถสร้างยอดขายได้อย่างตรงเป้าหมายมี 3 ส่วนที่สำคัญนั่นก็คือ 1.การเรียนรู้คำค้นหา (Keyword) เพื่อให้เข้าใจและสร้างคำค้นหาที่ตรงความต้องการ แน่นอนว่าคำที่ได้รับความนิยมก็จะต้องประมูลมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น หากมีการขายสินค้านั้นๆได้ แต่ก็จะกลายเป็นสินค้าที่เข้าถึงผู้คนมากขึ้น เมื่อเข้าใจในหลักการเขียนคำค้นหา หรือหัวข้อของสินค้าที่ดีพอ
2.ผลิตภัณฑ์ (Products) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ระบบจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อขึ้นมาแสดงผล ซึ่งจะแตกต่างจากการแสดงผลจากคำค้นหา เนื่องจากเป็นสินค้าแนะนำ ซึ่งอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำค้นหาอยู่บ้าง ซึ่งผู้ขายสามารถทำความเข้าใจ และเลือกซื้อระดับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนเองให้ถูกแสดงให้พบเห็นได้
และ 3. KOL ผ่านระบบต่างตอบแทน (Affiliate) ที่จะมีการเลือกสรรค์สินค้าที่สนใจ เพื่อนำเสนอผ่านผู้ติดตามของตนเองที่มี ซึ่งก็จะช่วยให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายได้อีกทางหนึ่ง โดยแรงจูงใจของการช่วยโปรโมตก็จะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเลือกเสนอผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อขายสินค้าได้
โดยทั้ง 3 ส่วนจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างยอดขาย ผ่านแพลตฟอร์มที่มีของลาซาด้า นอกเหนือจากการสร้างแบรนด์สินค้าของผู้ขายให้รู้จักผ่านช่องทางต่าง ๆ แล้ว ซึ่งทั้งหมดจะมีการสอนผ่าน มหาวิทยาลัยลาซาด้า อย่างละเอียดและเจาะลึกอีกครั้ง เพื่อสร้างทักษะการเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซให้กับเอสเอ็มอีไทยแบบก้าวกระโดด

นอกจากนี้ Lazada University ยังได้ปรับโฉมใหม่ โดยพัฒนา 6 ฟีเจอร์ที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ขายเข้าใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์ได้ง่ายขึ้นด้วย
- ยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ (user interface) ดีไซน์ใหม่เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
- คอร์สอบรมออนไลน์โดยเทรนเนอร์ที่ได้รับการรับรอง ให้ผู้ขายเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
- ค้นหาทุกสิ่งที่ต้องการได้อย่างง่ายดายด้วยคีย์เวิร์ด
- หลักสูตรการเรียนรู้แบบทีละขั้น สำหรับผู้ขายมือใหม่โดยเฉพาะ
- ปฏิทินงานและหลักสูตรการอบรมที่ช่วยให้ไม่พลาดคลาสสำคัญ พร้อมเครื่องมือช่วยจำ
- เนื้อหาแบบอินเทอร์แอคทีฟ ทั้งสนุกและน่าสนใจ เพื่อการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
สำหรับร้านค้าใหม่ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย ลาซาด้าได้เปิดตัวแพ็คเกจพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับมหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 โดยมอบสิทธิพิเศษที่ร้านค้าจะได้รับ อาทิ ฟรีค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 0% สำหรับเดือนตุลาคม ฟรีแพ็คเกจตกแต่งหน้าร้านออนไลน์ รับเครดิตเงินคืนสำหรับใช้งาน Sponsored Solutions พร้อมด้วยทีมงานสนับสนุนการดำเนินงานร้านค้า อนุมัติเปิดร้านไวภายใน 3 วัน และสิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมทุกหลักสูตรการอบรมบน Lazada University โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ()
ทั้งนี้ Sponsored Solutions เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ลาซาด้าได้รับการสนับสนุนจากอาลีมามา (Alimama) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีการตลาดและบิ๊กดาต้าของอาลีบาบา โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ขายสามารถเข้าถึงลูกค้าหลายล้านคนผ่านการตลาดดิจิทัลและเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพสื่อ (Media Optimization Tool)
“เราพบว่าธุรกิจของผู้ขายที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เติบโตเร็วขึ้น 25% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เครื่องมือเหล่านี้ยังรวมถึงฟีเจอร์ เช่น การส่งข้อความบรอดคาสท์ การตกแต่งร้านค้า และเครื่องมือสำหรับโปรโมตสินค้าเพื่อเพิ่มยอดขายและการมีส่วนร่วม (Engagement) ของลูกค้า และด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ผนวกกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งของลาซาด้า เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และพัฒนาประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ” นายวีระพงศ์ กล่าวสรุป