โฆษกเฟซบุ๊กชี้แจงว่า “การตรวจสอบความปลอดภัย Safety Check ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหลังเหตุการณ์ขว้างระเบิดปิงปองนั้น เป็นไปตามการกระตุ้นการทำงานของฟีเจอร์การตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งเฟสบุ้ควางใจให้บุคคลที่สามเป็นผู้ยืนยันในเหตุการณ์ที่เกิดขี้น และให้ชุมชนเป็นผู้ใช้เครื่องมือนี้ในการแชร์กับเพื่อนๆ และครอบครัว”
โดยเฟซบุ๊กยังได้แทรกข้อมูลอ้างอิงที่ใช้เปิดระบบการแจ้งเตือนดังกล่าว ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้รับการยืนยันโดยบุคคลที่สามซึ่งสามารถเข้าถึงส่วนของการใช้งานด้านการตรวจสอบความปลอดภัย อีกทั้งเหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยสื่อท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงสื่อท้องถิ่น 4 สำนักข่าวดังนี้
www.nationmultimedia.com
http://englishnews.thaipbs.or.th
www.bangkokpost.com
www.khaosodenglish.com
ทั้งนี้เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้ประกาศการใช้งานการตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งจะเปิดใช้งานได้โดยชุมชนต่างๆ แทนเฟซบุ๊ก เพื่อให้ผู้คนสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ตามที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นและต้องการที่จะใช้
ฟีเจอร์การตรวจสอบความปลอดภัยช่วยให้ผู้คนสามารถใช้งานได้มากขึ้น และบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุวิกฤติเล็กหรือใหญ่ นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน มีการใช้งานแล้วมากกว่า 300 ครั้ง ในขณะที่มีเพียง 39 ครั้งในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมา ที่เป็นการใช้งานโดยเฟซบุ๊กฝ่ายเดียว
Safety Check ฟีเจอร์ที่มีประโยชน์
และหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานการตรวจสอบความปลอดภัย และชุมชนต่างๆ จะเปิดการใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวได้อย่างไร ตรวจสอบได้ที่ http://newsroom.fb.com/news/2016/11/facebooks-social-good-forum/
“ในทุกๆ ครั้งที่มีการเริ่มใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว เราได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงให้ฟีเจอร์การตรวจสอบความปลอดภัยเป็นไปตามที่ชุมชนต่างๆ ต้องการ และรับฟังความคิดเห็นที่กลับมายังเรา เพื่อปรับปรุงให้ฟีเจอร์นี้สอดคล้องและเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต”