ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พร้อมเปิดให้บริการ Prompt pay สำหรับนิติบุคคล ซึ่งนับเป็นบริการรับ–โอนเงินรูปแบบใหม่ สำหรับนิติบุคคล ที่เปิดให้ผู้โอนสามารถโอนเงินให้นิติบุคคลโดยใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13หลักของนิติบุคคลนั้น แทนการใช้เลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร โดยนิติบุคคลที่ต้องการรับเงินผ่านพร้อมเพย์ด้วยเลข 13หลัก ต้องไปลงทะเบียนผูกบัญชีก่อน โดยนิติบุคคลสามารถผูกเลข 13หลัก กับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน ได้เพียง 1บัญชีกับ 1 ธนาคาร เท่านั้น และสำหรับองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่มีเลขทะเบียนนิติบุคคล สามารถใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนได้
นับเป็นการเพิ่มทางเลือกวิธีการรับเงินจากประชาชนและนิติบุคคลด้วยกัน โดยการใช้เลข 13หลัก ซึ่จะทำให้ผู้โอนมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง อีกทั้งยังช่วยลดความซ้ำซ้อนในการมีบัญชีหลายธนาคาร เพื่อรับเงินค่าบริการต่าง ๆ จากลูกค้า ทั้งยังช่วยให้การทำธุรกิจมีความคล่องตัวเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลอีกด้วย
โดยค่าธรรมเนียมพร้อมเพย์ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน หากโอนเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อรายการ จะเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาท และหากโอนเงินมากกว่า 100,000 บาท ก็จะเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 15 บาทต่อรายการ ขณะที่การโอนเงินระหว่างบุคคล และบุคคลโอนให้นิติบุคคลจะใช้อัตราค่าธรรมเนียมเดียวกัน โดยการโอนแต่ละครั้งหากไม่เกิน 5,000 บาท จะไม่เสียค่าธรรมเนียม และโอน 5,001 – 30,000 บาท จะเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาท โอนเงิน 30,001 – 100,000 บาท เสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาท และโอนมากกว่า 100,000 ขึ้นไปหรือตามวงเงินสูงสุดตามที่แต่ละธนาคารกำหนด จะเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการโอน
นิติบุคคลที่สนใจ สามารถติดต่อลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขทะเบียนนิติบุคคล 13หลัก ได้ที่สาขาธนาคารที่เลือกใช้บริการ หรือช่องทางอื่นที่ธนาคารกำหนด และสามารถ ยกเลิก / เปลี่ยนแปลงการลงทะเบียนได้โดยติดต่อธนาคารนั้น
เอกสารประกอบการลงทะเบียน Prompt pay สำหรับนิติบุคคล
(1) เอกสารหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน
(2) บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (หรือสาเนา) ของผู้มีอานาจลงนามแทนนิติบุคคลหรือผู้รับมอบอานาจ
(3) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 3เดือน
(4) บัตรประจาตัวผู้เสียภาษีอากร (ถ้ามี)
(5) หนังสือมอบอานาจ (ถ้ามี) กรณีผู้มีอานาจไม่สามารถมาดาเนินการด้วยตนเอง
อนึ่งธนาคารแต่ละแห่งอาจจะกำหนดให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานอื่นเพิ่มเติมได้ และหากกรณีที่ธนาคารและนิติบุคคลมีการใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีข้อมูลลูกค้านิติบุคคลอยู่แล้ว อาจพิจารณาใช้หลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนได้ตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ดีของแต่ละธนาคาร
ทั้งนี้ขั้นตอนการโอนเงินนั้น นิติบุคคลสามารถรับ-โอนเงินผ่านบริการ Prompt pay ได้ตามช่องทางที่แต่ละธนาคารให้บริการอยู่แล้ว โดยมีทั้งระบบ Mobile Banking และ Internet Banking ซึ่งคู่ค้าสามารถโอนเงินให้นิติบุคคลผ่านช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารที่ให้บริการได้เช่นกัน
สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และรับเงินโอนได้ตามช่องทางที่ธนาคารกำหนด โดยเริ่มโอน – รับเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2560 เป็นต้นไปหรือตามความพร้อมของแต่ละธนาคาร สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง