อีริคสันเผยโฉมโครงข่ายใช้พลังงานต่ำ Massive IoT รับการทำงานของอุปกรณ์ IoT ที่ต้องการใช้งานเป็นระยะเวลานาน พร้อมโซลูชั่น cellular IoT software และ IoT Accelerator ช่วยจัดการโครงข่าย IoT แบบครบวงจร ทำให้ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ในระบบ LTE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด Cat-M1 (หรือที่เรียกว่า LTE-M) และ Narrow Band IoT (NB-IoT) ที่จะครอบคลุมการทำงานทั้งในส่วนของการใช้อุปกรณ์ การดูแลรักษา ตลอดจนการจัดการทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีบริการเพิ่มเติมในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อพัฒนาบริการรูปแบบอื่นๆต่อไป
ปีเตอร์ ลอริน หัวหน้างานฝ่ายบริการและบริหารธุรกิจ อีริคสัน กล่าวว่า เราคาดหวังว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT จะมีจำนวนมากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจะเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีบริมาณมากที่สุดในปี 2561
ซึ่งรายงานอีริคสัน Mobility Report ระบุว่าภายในปี 2565 จำนวนอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT จะเพิ่มขึ้นถึง 18 ล้านชิ้น ด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้ต้องมีการวางแผนโครงข่ายการออกแบบ และการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการใช้โครงข่าย Mobile broadband แบบเดิมๆ
นอกจากนี้อีริคสันยังได้นำเสนอโซลูชั่นสำหรับ IoT รูปแบบใหม่ เช่น Voice over LTE (VoLTE) บนเทคโนโลยี Cat-M1 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ให้บริการ โดยใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ IoT ในการส่งข้อมูลเสียง เพื่อขยายบริการไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ระบบสัญญาณเตือนความปลอดภัย เครื่องมือปฐมพยาบาลแบบรีโมท อุปกรณ์เชื่อมต่อที่สามารถสวมใส่ได้ กุญแจระบบดิจิทัล และการให้บริการแบบอื่น ๆ อีกมากมาย
Massive IoT เป็นโครงข่ายใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ทั้งในส่วนของการใช้พลังงานต่ำ และความสามารถของการรองรับอุปกรณ์เชื่อมต่อที่หลากหลายได้พร้อมกันหลายชิ้น อีกทั้งยังมีการออกแบบโครงข่ายตามความต้องการที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการโครงข่ายที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด บนความเรียบง่ายของการใช้งาน
ไม่เพียงเท่านั้นอีริคสันยังได้เปิดตัว Automated Machine Learning ของศูนย์ปฏิบัติการโครงข่ายอีริคสัน (NOCs) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการเรื่องต้นทุนค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดลองพบว่าเครื่องมือนี้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของมนุษย์และได้ผลถึง 80% ในจำนวนนี้พบว่ามีความถูกต้องถึง 77% ทำให้ผู้ให้บริการสามารถตอบสนองกับสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
เจมี่ มอส หัวหน้าทีมผู้ชำนาญการวิเคราะห์เทคโนโลยีและ IoTสำหรับผู้บริโภค กล่าวว่า ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องการพันธมิตรที่จะสามารถช่วยนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและราบลื่น โดยเฉพาะการใช้งานของ LTE-M และ NB-IoT ซึ่งต้องใช้การปฏิบัติการในรูปแบบใหม่ทั้งหมด
การนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ทำให้ต้องมีการจัดการข้อมูลที่เกิดขึ้น และการบริหารจัดการบริการที่มีอยู่เดิมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีความจำเป็นต้องใช้โครงข่ายที่ครอบคลุมทุกความสามารถของเทคโนโลยี
” เครื่องมืออย่างปัญญาประดิษฐ์นี้ไม่ใช่เพียงแค่คำพูดลอย ๆ เท่านั้น แต่มันมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะเป็นเครื่องมือที่น่าตื่นเต้นสำหรับการจัดการกับอุปกรณ์ IoT ใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในระบบโครงข่ายอย่างมากมายในอนาคต ”