หมดยุคเราเตอร์! ได้เวลาของเอสดี– แวน ผ่านแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์

หมดยุคเราเตอร์! ได้เวลาของเอสดี– แวน ผ่านแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์

เทรนด์ของการบริหารจัดการเครือข่ายมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการควบรวมการทำงานของ เราเตอร์ และระบบเครือข่ายแบบ WAN ให้สามารถทำงานบนระบบคลาวด์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ช่วยให้เกิดต้นทุนการจัดการที่น้อยลง และประสิทธิภาพในการจัดการที่สูงขึ้น

วันนี้ TheReporter.asia ได้มีโอกาสสัมภาษย์นายรอล์ฟ มุรอลต์ รองประธานฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท ซิลเวอร์ พีค ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทระดับโลกด้านโซลูชั่นบรอดแบนด์ และระบบเครือข่ายแวน (WAN: Wide-Area-Network) แบบไฮบริด

ซึ่งนายรอล์ฟ มุรอลต์ เปิดเผยว่า การนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้ในองค์กรกำลังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบของการรับส่งข้อมูลหรือทราฟฟิกอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากองค์กรจำเป็นต้องใช้ SaaS (Software-as-a-Service หรือซอฟต์แวร์ในรูปแบบบริการ) เข้ามาช่วยควบคุมทราฟฟิกที่ดำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรง ทั้งยังมีบทบาทด้านการกำหนดเส้นทางของระบบเครือข่ายแบบแวน เอดจ์ (WAN Edge)ที่แตกต่างไปจากเดิมอีกด้วย

และด้วยการผสานรวมความสามารถของเอสดี – แวน (SD-WAN) การกำหนดเส้นทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบแวนและไฟร์วอลล์ของสาขาเข้าไว้ด้วยกันในโซลูชัน “Thin Branch” ที่เป็นชุดเดียวอย่างครบวงจร จะช่วยให้องค์กรและผู้ให้บริการสามารถลดความซับซ้อนของโครงสร้างพื้นฐาน ของWAN Edge รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการบริการ แวนที่สำคัญต่างๆ ได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ โมเดล SaaS ในระบบ Backhauling แบบดั้งเดิมและการรับส่งข้อมูลที่ต้องเชื่อมโยงผ่านเว็บจากสำนักงานสาขาไปยังศูนย์ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยนั้น อาจไม่เหมาะสมสำหรับยุคปัจจุบัน เนื่องจากสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์และก่อให้เกิดความล่าช้าในระบบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การทำงานของแอปพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพลดลงในท้ายที่สุด

ปัจจุบันองค์กรต่างๆ กำลังต้องการแนวทางที่ดียิ่งกว่าเดิมในการรับส่งข้อมูลจากสาขาต่างๆ โดยตรงผ่าน SaaS และระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้ทางอินเทอร์เน็ต และยังจะต้องสามารถควบคุมการรับส่งข้อมูลหรือทราฟฟิกในรูปแบบอื่นๆ ที่เข้าถึงบริการด้านความปลอดภัยขั้นสูงทุกระดับเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยขององค์กรนั้นๆ และแทนที่จะใช้โปรโตคอลการกำหนดเส้นทางแบบเดิมๆ

เช่น BGP หรือ OSPF แต่ SD-WAN จะให้แนวทางการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนผ่านแอพพลิเคชั่นในรูปแบบอัตโนมัติเพื่อควบคุมการรับส่งข้อมูลผ่าน WAN ตามความต้องการของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม “การกำหนดเส้นทาง” ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในสถาปัตยกรรม SD-WAN โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรย้ายเข้าสู่ WAN Edge รูปแบบใหม่

แม้ว่าโซลูชัน SD-WAN จะแทนที่เราเตอร์สาขาได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือโซลูชันนี้จะช่วยสนับสนุนโปรโตคอลการกำหนดเส้นทางแบบเดิมเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน SD-WAN

ในการสนทนาครั้งนี้ คุณจะได้รับทราบถึงวิธีที่ SD-WAN ขั้นสูงรวมฟังก์ชั่นสำคัญๆ ของ WAN Edge ได้แก่ SD-WAN, การกำหนดเส้นทาง, การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ WAN และฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยต่างๆ เพื่อสร้างโซลูชัน “Thin Branch” (สำนักงานสาขาที่คล่องตัว) ที่จะช่วยขจัดความต้องการและความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องของเราเตอร์แบบดั้งเดิมที่สำนักงานสาขาได้

โดยจะเห็นได้ว่าเราเตอร์สาขายังคงต้องตั้งโปรแกรมการทำงานด้วยตนเอง ซึ่งมีความซับซ้อนและยุ่งยากเกินกว่าที่จะใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานที่คล่องตัวขององค์กรได้ ในขณะที่ SD-WAN ขั้นสูงสามารถช่วยลดต้นทุนและกำจัดความซับซ้อนในการดำเนินงานที่จำเป็นเพื่อรองรับการนำโมเดลคลาวด์เข้ามาปรับใช้ภายในองค์กรเป็นครั้งแรกได้

อย่างไรก็ตาม การปรับใช้สถาปัตยกรรม Thin Branch จำเป็นต้องดำเนินการมากกว่าเพียงแค่การผสานรวมฟังก์ชั่นต่างๆ ของเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกันในอุปกรณ์เสมือนหรืออุปกรณ์เพียงเครื่องเดียว การสนทนาครั้งนี้จะเปิดเผยให้เห็นถึงข้อดีของการบริหารจัดการจากส่วนกลาง องค์ประกอบสำคัญของโซลูชั่น SD-WAN แบบครบวงจรที่ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อย่างมาก

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถกำหนดค่าลำดับความสำคัญของแอพพลิเคชั่น รวมถึงนโยบายด้านความปลอดภัยและ QoS และกำหนดให้มีการจัดการด้านการรับส่งข้อมูลแบบอัตโนมัติผ่านทาง WAN ได้โดยตรงผ่านทางหน้าต่างควบคุมเดียว ทั้งยังสามารถแจกจ่ายพารามิเตอร์การกำหนดค่า SD-WAN ไปยังไซต์งานทุกแห่งได้ด้วยการคลิกเมาส์เพียงครั้งเดียว

ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ที่อาจส่งผลเสียต่อความพร้อมใช้งานของแอพพลิเคชั่นได้ และหากจำเป็นยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ WAN ให้กับแอพพลิเคชั่นเฉพาะได้อย่างง่ายดายด้วยการเลือกตัวเลือกที่ต้องการผ่านหน้าจอควบคุม

นอกจากนี้ การบริหารจัดการระบบแบบไม่ยุ่งยากหรือที่เรียกว่า Zero-touch Provisioning ยังจะช่วยให้ผู้จัดการเครือข่ายสามารถเพิ่มไซต์งานใหม่ๆ ลงใน SD-WAN โดยไม่ต้องใช้บุคลากรด้านไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะให้กับสำนักงานสาขาแต่อย่างใด

ปัจจุบันโซลูชัน SD-WAN กำลังได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว ดังนั้น การสนทนาในครั้งนี้จะให้รายละเอียดผ่านกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยแอพพลิเคชั่นของลูกค้าจริงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ ความคล่องตัว และการประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กร

Related Posts