___noise___ 1000

คอนเทนต์ต้องดีแค่ไหนถึงจะหาเงินบน YouTube ได้

YouTube

ไม่ใช่เพียงการใช้งาน Facebook เท่านั้นที่เมืองไทยไม่แพ้ใครในโลก เพราะชุมชนวิดีโอออนไลน์อย่าง YouTube ก็เรียกได้ว่ามีชีวิตชีวาและมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลกเช่นกัน และด้วยการเติบโตนี้ทำให้ ยูทูป ได้จัดงาน YouTube FanFest ที่ได้รวบรวมครีเอเตอร์ชื่อดังทั้งในประเทศและทั่วโลกมาโชว์ของและให้แฟนได้พบปะอย่างใกล้ชิดเป็นครั้งที่ 3 แล้ว

พร้อมยังมุ่งนโยบายสนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับนักสร้างสรรค์เหล่านี้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจให้เพิ่มจำนวนแฟนได้มากขึ้น

ในรอบปีที่ผ่านมา จำนวนคอนเทนต์ที่ถูกอัปโหลดลงบน ยูทูป เพิ่มขึ้นกว่า 70% ปัจจุบันเมืองไทยมีจำนวนช่องบนยูทูป ที่ได้รับรางวัล Silver Creator Award (ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 100,000 คน) มากกว่า 1,700 ช่อง เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

และมีช่องที่ได้รับรางวัล Gold Creator Award (ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน) มากกว่า 160 ช่อง มากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีช่องที่ได้รับรางวัล Diamond Creator Award (ช่องที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน) จำนวน 5 ช่อง มากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 3 ของเอเชีย-แปซิฟิก

ครีเอเตอร์ของยูทูป เหล่านี้มีรายได้มาจากไหน แล้วจะทำอย่างไรให้ YouTube เข้ามาช่วยผลักดัน จริงๆ แล้วในเรื่องนี้ไม่ได้ยากเลย ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่าตัวเรามีความตั้งใจที่จะผลิตคอนเทนต์ได้มากน้อยแค่ไหน สนใจอะไรเป็นพิเศษแล้วสามารถถ่ายทอดออกมาได้ดีหรือเปล่า

เพราะส่วนใหญ่บรรดาครีเอเตอร์ที่โด่งดัง จะเน้นการใช้ความสามารถเฉพาะตัวบวกกับความตั้งใจ นำเสนอผลงานออกมาสู่สายตานักท่องโลกวิดีโออย่างต่อเนื่อง และถ้ามีคนสนใจมากๆ จนมียอดผู้ติดตามมากกว่า 100,000 คนเมื่อไร ก็เตรียมโดน ยูทูป เรียกพบได้เลย

มุกพิม อนันตชัย หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรธุรกิจบันเทิง ยูทูปประเทศไทย กล่าวว่า การเติบโตของชุมชน ยูทูป ในประเทศไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ครีเอเตอร์และพันธมิตรได้นำเสนอผลงานที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างมากมายนับไม่ถ้วนผ่านทางยูทูป

ทำให้ไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดชั้นนำระดับโลกของยูทูป ซึ่งทีมงานพร้อมที่จะสนับสนุนระบบนิเวศในไทยให้เติบโตยิ่งขึ้นไป เพื่อเป็นแพลตฟอร์มสำหรับคนไทยทุกคนในการแสดงความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ออกสู่สายตาคนทั่วโลกและสามารถสร้างรายได้จากผลงานเหล่านั้น

ตัวเลขทั่วโลกในปัจจุบันมี 1,900 ล้านยูสเซอร์ต่อเดือน สำหรับเมืองไทยรายการเดอะแมสซิงเกอร์มีคนเข้าชมมากที่สุดในโลกอยู่ที่ 1,000 ล้านชั่วโมงต่อวัน และมีการเข้าถึงผู้คนในเขตเมือง 93% มีการใช้งานเฉลี่ย 70 นาทีต่อวัน และนอกเมือง 92% มีการใช้งานเฉลี่ย 60 นาทีต่อวัน นอกจากนี้ 70% ของผู้ใงานรวมทั้งหมด เข้าใช้งานยูทูปทุกวัน

“ส่วนใหญ่ครีเอเตอร์มักจะเข้ามาเข้ามาสื่อสารสิ่งที่ตัวเองชอบหรือสร้างช่องของตัวเอง ซึ่งในปีแรกๆ ช่องส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างเสียงหัวเราะ แต่ตอนนี้ก็มีความหลากหลายมากขึ้นมีช่องอื่นๆ อย่างเช่น เกม ฟุตบอล วิทยาศาสตร์ เพิ่มเข้ามามากขึ้น

ซึ่งเรามีทีมดูแลที่เรียกว่าเป็นพาร์ทเนอร์เมเนเจอร์คอยมอนิเตอร์ว่ามีช่องไหนที่มียอดผู้ติดตามเกิน 1 แสนคน ก็จะไปติดต่อเพื่อที่จะนำมาเข้าโปรแกรม แนะนำเรื่องการหารายได้ ที่เรากำหนดจำนวนยอดผู้ติดตามเพราะเราคาเชื่อว่าการมีผู้ติดตามขนาดนี้แสดงว่าเขาตั้งใจ ดังนั้นเราก็จะช่วยให้เขาโต”

มุกพิม กล่าวว่า ยูทูปไม่ได้กำหนดว่าครีเอเตอร์จะต้องทำคอนเทนต์ประเภทไหน แต่เราจะนำประสบการณ์ครีเอเตอร์จากต่างประเทศมาเป็นไอเดีย ช่วยหาไอเดียใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของครีเอเตอร์เพื่อช่วยให้ดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น

ซึ่งขณะนี้เรามีเทคโนโลยีหลายอย่างพร้อมอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ นอกจากนี้ที่ผ่านมาเราได้นำฟีดแบคจากทั้งผู้ชมและครีเอเตอร์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อนำเสนออย่างต่อเนื่อง

สำหรับการสร้างรายได้นั้นที่ผ่านมาครีเอเตอร์จะมีเครื่องมืออย่างแอดเวิร์ดที่จะสามารถสมัครทางออนไลน์ได้ เป็นตัวหารายได้หลัก แต่ขณะนี้ ยูทูป ได้เตรียมพัฒนาเครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า ซุปเปอร์แชต ที่จะช่วยให้แฟนที่ต้องการพูดคุยกับครีเอเตอร์ที่ตนเองชื่นชอบสามารถเขียนเนื้อหาแล้วเด้งขึ้นไปอยู่ในช่องบนสุด

เพื่อให้ครีเอเตอร์เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะบางครั้งมีการพูดคุยกับแฟนเป็นจำนววนมาก ข้อความก็อาจจะมองไม่เห็น ดังนั้นเครื่องมือนี้จะช่วยให้แฟนตัวจริงสามารถพูดคุยได้ก่อนใคร แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อดันแชตนั้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและพัฒนา

“ในส่วนของการปั่นยอดวิว การนำเนื้อหาที่ลอกของคนอื่นมา ทาง ยูทูปจะมีการกรองเนื้อหาเหล่านั้น เช่นการวัดวิวที่ไม่ถูกต้องเราจะใช้บอทช่วย มีทีมเอ็นจิเนียร์ที่ดูอยู่แล้ว รวมถึงจะทำการตรวจจับการละเมิดลิขสิทธิด้วย เราจะมีระบบจัดการลิขสิทธิ์ ที่จะเรียนรู้เวลามีเจ้าของผลงานนำงานมาฝากไว้ แล้วระบบจะเรียนรู้ ถ้ามีคนนำไปใช้ก็จะมีการแจ้งเตือน

ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าครีเอเตอร์ตัวจริงจะโดยขโมยเนื้อหาไปใช้งาน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์ผลงานได้ดีและมีคนติดตามมาก ก็ขึ้นอยู่ที่พรสวรรค์และความตั้งใจจริงในการนำเสนอคอนเทนต์ที่น่าสนใจออกมาอย่างต่อเนื่อง”

มุกพิม กล่าวว่า สำหรับการจัดงาน “YouTube FanFest” ซึ่งปีนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนี้ ณ เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

โดยความร่วมมือระหว่าง ยูทูปและ AIS นั้น ยูทูปได้เตรียม 12 ครีเอเตอร์ชื่อดัง ทั้งไทยและเทศ พร้อมมอบความสนุกด้วยโชว์สุดพิเศษ อาทิ นักร้องคัฟเวอร์สาวชาวเกาหลี Raon Lee, สองพี่น้องนักเต้น Ranz and Niana, Pinkfong ผู้สร้างสรรค์เพลงเด็กสุดฮิต BabyShark, สาวน้อยเสียงใส ญานนีน ไวเกล (Jannine Weigel),

บี้ เดอะสกา (Bie The Ska), เกิร์ลกรุ๊ปแห่งยุค BNK48, แรปเปอร์หนุ่มไทย YoungOhm และครีเอเตอร์ชั้นนำอีกมากมายที่จะมาเสริมทัพร่วมโชว์เสียงร้องคุณภาพและลีลาการเต้นสุดมันให้แฟนๆ กว่า 3,500 คนได้สนุกสนานกันตลอดทั้งงาน

ส่วนแฟนที่ไม่สามารถไปร่วมสนุกในงานปีนี้ได้ สามารถชมบรรยากาศภายในงานผ่านทางการถ่ายทอดสดกันอย่างเต็มอิ่มได้ที่ youtube.com/fanfest นอกจากนี้ยังสามารถชมไฮไลท์ย้อนหลังได้ที่ FanFest channel บน ยูทูปและติดตามความเคลื่อนไหวของงานทางโซเชียลมีเดียได้จากแฮชแท็ก #YTFFTH

banner Sample

Related Posts