“ไวน์เขาใหญ่” ขึ้นทะเบียน GI เป็นรายที่ 2 ของไทย

“ไวน์เขาใหญ่” ขึ้นทะเบียน GI เป็นรายที่ 2 ของไทย

การขึ้นทะเบียนข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของ “ไวน์เขาใหญ่” เมื่อเร็วๆ นี้ นับเป็นไวน์ไทยรายที่สองที่ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และถือเป็นก้าวสำคัญที่มุ่งไปสู่การยอมรับมากขึ้นในระดับนานาชาติสำหรับวงการนี้

ไวน์ที่ได้รับการยอมรับเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้ชื่อ “ไวน์เขาใหญ่” (GI) จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตไวน์ที่กำหนดไว้  รวมทั้งการใช้องุ่นพันธุ์ Vitis vinifera ที่ปลูกเฉพาะในเขตพื้นที่เขาใหญ่ โดยไม่มีการผสมไวน์นำเข้าหรือน้ำผลไม้อื่น ๆ

ทั้งนี้ การยื่นจดทะเบียนไวน์เขาใหญ่ ยื่นโดยสมาคมไวน์ไทย ร่วมกับ กราน-มอนเต้ วินยาร์ด แอนด์ ไวน์เนอรี่

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือมีชื่อเสียง เช่นเดียวกับแชมเปญหรือบอร์กโดในประเทศฝรั่งเศส

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ผลิตไวน์ของไทย ได้รับประโยชน์จากการขึ้นทะเบียน GI จำเป็นจะต้องสร้างมาตรฐานในการผลิต มีการจัดกิจกรรมการตลาด การดำเนินการเหล่านี้ส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างการยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งนำไปสู่ความเป็นเลิศสำหรับผู้ผลิต

ในการบรรยายงานสัมมนา ARISE + IPR เรื่อง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่กรุงเทพฯ โดย วิสุตา (นิกกี้) โลหิตนาวี ผู้เชี่ยวชาญการปลูกองุ่นและทำไวน์และเจ้าของ กราน-มอนเต้ ได้อธิบายถึงประโยชน์ของการลงทะเบียน GI สำหรับอุตสาหกรรมไวน์ในท้องถิ่น

โดยให้ความเห็นว่า “การพัฒนาครั้งใหม่นี้ ทำให้เราสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับไวน์เขาใหญ่ โดยการผนึกกำลังกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ และส่งเสริมสภาพภูมิอากาศที่เป็นเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของดินในการผลิตไวน์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง Chenin Blanc และ Syrah”

ทั้งนี้ นิกกี้ โลหิตนาวี และนายวิสุทธิ์ ผู้เป็นบิดา เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมไวน์ของประเทศไทย โดยนายวิสุทธิ์เริ่มปลูกองุ่นที่เขาใหญ่เมื่อ 20 ปีก่อน และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสมาคมไวน์ไทย และยังเป็นผู้นำในการขึ้นทะเบียนเขาใหญ่ไวน์ (GI) ในนาม กราน-มอนเต้ และสมาคมไวน์ไทย ในขณะที่นิกกี้เป็นผู้ผลิตไวน์ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในประเทศไทยและออสเตรเลีย

‘การสัมมนาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์’ ในกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดำเนินการโดยโครงการ ARISE+ IPR ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบูรณาการด้านกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคอาเซียนในประเทศสมาชิกอาเซียน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

กราน-มอนเต้

Related Posts