เป้าหมายทางธุรกิจหนึ่งของทีโอทีคือการก้าวไปสู่ธุรกิจดิจิทัลสมัยใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าและสร้างรายได้ให้กับองค์กร ดังนั้นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ด้วยการจัดโครงการ TOT Hackathon 2019 เพื่อแข่งขันประกวดผลงานนวัตกรรมและบริการใหม่ในรูปแบบ Digital Platform จึงเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายดังกล่าว
โดยการจัดงานครั้งนี้ได้มุ่งใน 3 ด้าน คือ ความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสาร (Network Security) การวิเคราะห์เชิงลึกของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และความฉลาดเทียมร่วมกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (AI and IoT)
ดร.มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า TOT Hackathon 2019 จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาธุรกิจของ ทีโอที สู่ Digital Transformation โดยใช้ดิจิทัลเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ทันสมัย
พร้อมสร้าง Start Up คนรุ่นใหม่ให้กับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาทีโอทีได้ทำการพัฒนาสู่ Digital Transformation โดยใช้ Digital มาเป็นหัวใจในการดำเนินงานของบริษัท มีการสร้างแพลตฟอร์มธุรกิจ (Platform Business) ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Strategy/Big Data) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation)
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกอุตสาหกรรม และส่งผลให้เกิดการปรากฏการณ์ Digital Disruption ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่ นวัตกรรมและรูปแบบใหม่เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม เป็นความท้าทายที่ต้องเตรียมพร้อม
ดร.มนต์ชัย กล่าวว่า โครงการ TOT Hackathon 2019” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจในรูปแบบ Digital Platform นำมาพัฒนาใช้ในการดำเนินธุรกิจของ ทีโอที เป็นการสร้างบุคลากรด้าน Digital ให้กับประเทศ รวมถึงสร้างบุคลากรคนรุ่นใหม่ภายในของ ทีโอที ให้มีศักยภาพ
มีความสามารถในการสร้างผลงานและนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ เชิงนวัตกรรม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมบุคลากรภายนอกที่มีศักยภาพ ที่จะมาเข้าร่วมงานกับ ทีโอทีในอนาคต โดยผู้เข้าร่วมประกวดในโครงการฯ ยังได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าปฏิบัติงานใน บมจ. ทีโอที
TOT Hackathon จะสนับสนุนให้นักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจ รวมถึงพนักงานของ ทีโอที ได้นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาบูรณาการ ประยุกต์ และสร้างแนวคิดรูปแบบทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและบริการใหม่ในรูปแบบ Digital Platform ใน 3 ด้าน
คือ ความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสาร (Network Security) การวิเคราะห์เชิงลึกของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และความฉลาดเทียมร่วมกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (AI and IoT)
โดยรางวัลแบ่งเป็น 4 ประเภท ประเภทละ 4 รางวัล โดยผู้ชนะในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล รางวัลที่ 1 จำนวนเงิน 100,000 บาท/หัวข้อ รางวัลที่ 2 จำนวนเงิน 50,000 บาท/หัวข้อ รางวัลที่ 3 จำนวนเงิน 30,000 บาท/หัวข้อ และรางวัลชมเชย 10,000 บาท/หัวข้อ
ด้านศ.ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกสมาคม สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ภาคีสมาชิก สำนักวิทยาศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกธุรกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแทรกแซงธุรกิจเดิม
นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าและไอโอที ซึ่งเทคโนโลยีกำเนิดใหม่เหล่านี้สามารถบูรณาการณ์รวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อที่จะตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัลนี้ได้ ซึ่งในตอนนี้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีความบุคลากรใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในทั้งสามด้านเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้เทคโนโลยีทั้งสามในข้างต้นนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความมีมาตรฐานและความปลอดภัย จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาและผู้สนใจที่เข้าร่วมงาน TOT Hackathon ในครั้งนี้ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาประเทศชาติในภาพรวมให้ทัดเทียมกับชาติอื่น
สำหรับการประกวดแข่งขัน “โครงการ TOT Hackathon 2019” เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2562 โดยรับสมัครทางเว็บไซต์ได้ที่ http://tothackathon.tot.co.th
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขันฯ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2562 โดยจะประกาศผลการแข่งขันและมอบรางวัล 12 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีรายละเอียดประเภทการแข่งขัน คือ
-ประเภทความมั่นคงปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสาร Network Security มี รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ลีลารัศมี รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ฝ่ายกิจการนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณุสรเชษฐ์ ศรีพลกรัง ผู้จัดการฝ่ายโครงช่ายบรอดแบนด์ บมจ.ทีโอที พร้อมทีมงาน บมจ.ทีโอที เป็นคณะกรรมการตัดสิน
-ประเภทการวิเคราะห์เชิงลึกของข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data analytics มี ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ นักวิจัยอาวุโส หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และนายจำรูญ จองวงศ์รักษ์ ผู้จัดการฝ่ายศูนย์บูรณาการแผนธุรกิจสื่อสารไร้สาย บมจ.ทีโอที พร้อมพร้อมทีมงาน บมจ.ทีโอที เป็นคณะกรรมการตัดสิน
-ประเภทความฉลาดเทียมร่วมกับอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง AI and IoT มี ศาสตราจารย์ ดร.วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และคุณเทพธีระ เพชรรัตน์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรม บมจ.ทีโอที พร้อมทีมงาน บมจ.ทีโอที เป็นคณะกรรมการตัดสิน
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง