EIC ชี้ปัจจัยบวก EEC จุดไฟทุนเอกชน

EIC ชี้ปัจจัยบวก EEC จุดไฟทุนเอกชน

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ 2019 เศรษฐกิจโลกยังชะลอปรับตัวลง เหตุจากสงครามการค้า การผลิตเพื่อการส่งออกชะลอลง สงครามการค้ายังคงมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้การลงทุนชะลอตาม แนะเพิ่มทักษะแรงงานแบบยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีมากกว่าเพิ่มค่าแรงงาน

ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า คาด 2019 เศรษฐกิจโลกยังชะลอปรับตัวลง เหตุจากสงครามการค้า แม้ว่าจีนจะได้รับผลกระทบความเชื่อมั่นจากสงครามการค้ามาตั้งแต่ต้นปี ทำให้สินค้าสหรัฐชะลอตัวในตลาดจีนชัดเจน

ขณะที่การยุติขึ้นภาษีสหรัฐอาจจะเป็นเพียงมาตการชั่วคราว ซึ่งคาดว่ายังต้องเจรจาอีกหลายประเด็นระหว่างจีนและสหรัฐ แต่เป็นไปได้หลังการเจรจาจะมีทางออกเป็น 2 ทาง คือไม่สำเร็จแล้วทำตามที่ขู่คือขึ้นภาษีนำเข้าอัตรา 25% หรืออีกทางคือการยืดเวลาเจรจาออกไป

แต่กระนั้น EIC ก็ยังมองว่าการยกเลิกภาษียังคงมีความไม่แน่นอนอีกสักระยะ แต่ครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะยุติการเจรจาลงได้ จากปัจจัยการเลือกตั้งสหรัฐเพื่อประกาศชัยชนะของประธานาธิปดีสหรัฐ โดนัล ทรัมป์ ก็เป็นได้

ขณะที่การเงินโลกมีแนวโน้มตรึงตัวขึ้นเรื่อยๆ และในปี 2019 จะเป็นปีแรกที่งบดุลของธนาคารกลางโลกเริ่มลดลงต่อเนื่อง เชื่อ 2021 จะลดลงเหลือ 3-3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาจจะต้องจับตามองกรณีนี้เป็นพิเศษ

หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเกิดสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ต้นเหตุจากปัจจัยเงินเฟ้อลดต่ำลง อีกทั้งเกิดสัญญาณติดลบต่อเนื่อง ทำให้อาจจะส่งผลเกิดภาวะถดถอยดังกล่าว แต่กรณีนี้ EIC มองว่าอาจจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาสหรัฐทำกองทุนระยะยาวไว้มาก ทำให้เห็นว่าผลตอบแทนการลงทุนต่ำกว่าปกติ

แต่ปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐยังคงเข้มแข็งอยู่ แม้ว่าในช่วงท้ายๆจะอ่อนตัวลงบ้าง ขณะที่ความเชื่อมั่นของพลเมืองยังคงดีอยู่ ทำให้เชื่อว่าภาวะถดถอยในปี 2019 จะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการร์ของทั่วโลกที่เชื่อว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพียง 20% เท่านั้น

แนะจับตามมองหนี้ภาคธุรกิจ ซึ่งมีอัตราที่สูงขึ้น ด้วยสัญญาณที่อ่อนแอลงจากการเทียบรายได้และรายจ่าย ดอกเบี้ย โดยทั้งหมดกระทบกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ Fed จะมองตลาดอย่างมีความอดทนมากขึ้น แต่สถานการณ์โดยรวมยังเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น

ทั้งหมดกระทบกับเราในส่วนของการลงทุนใน EM (Emerging Market) เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่หรือตลาดที่กำลังพัฒนา ยังคงมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดอลล่าร์ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสที่เงินจะไหลเข้าสู่กลุ่ม EM อีกครั้ง สวนทางกับ DM (Developed Market) หรือตลาดที่พัฒนาแล้ว ที่มีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่า

หันกลับมามองประเทศไทย ตลาดหุ้นพบการไหลออกเยอะ ตลาดเงินบอนด์ไหลเข้ามามาก แต่ก็คาดว่าจะไหลเข้ามาไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีการถือครองของต่างชาติอยู่ในปริมาณที่มากอยู่แล้ว

ซึ่งในปี 2019 คาดว่าจะอยู่ในช่วงปลายของขาขึ้น ปัจจัยของมูลค่าส่งออกโลกเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2018 อีกทั้งการท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มมีการชะลอตัวลง ทั้ง 2 ปัจจัยมีส่วนทำให้การลงทุนในประเทศจากต่างชาติลดลง

แม้ว่าการลงทุนภาครัฐและเอกชนของไทยจะมีแนวโน้ม ลงทุนต่อเนื่อง แต่ด้วยมูลค่าการลงทุนต่างชาติที่เป็นก้อนที่ใหญ่กว่ากัน ทำให้ภาวะโดยรวมเกิดการชะลอตัวลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว จากอัตราการขึ้นราคาของสินทรัพย์ แต่เป็นไปในทิศทางที่ไม่มากนัก อีกทั้งนโยบายสนับสนุนการซื้ออสังหาริมทรัพย์มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น

หากมองในเรื่องของส่งออก ไทยมีการชะลอลงค่อนข้างเร็ว แต่ยังคงสอดคล้องกับอัตราการส่งออกเอเชียที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง  ด้วยปัจจัยจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐ และอัตราน้ำมันที่ในอดีตส่งผลให้มูลค่าส่งออกสูงขึ้น ทำให้ปีนี้มีอัตราที่เชื่อว่ายังทรงตัว

การท่องเที่ยวที่ผ่านมามากกว่าครึ่งเป็นนักท่องเที่ยวจีน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบขึ้น จะก่อเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบไม่นาน สิ่งที่เราพบคือนักท่องเที่ยวจีนยังติดลบอยู่ 4% ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ได้ทดแทนจากนักท่องเที่ยวอาเซียน ทั้งจากมาเลเซียและอินเดียที่เข้ามาแทนที่ ทำให้ตัวเลขการท่องเที่ยวของไทยยังเป็นบวก

ทั้งนี้ อัตรานักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอลง เป็นปัจจัยจากทั้งประเทศจีนเองและไทยผสมรวมกัน แต่ไทยยังเป็นเป้าหมายท่องเที่ยวหลักของนักท่องเที่ยวชาวจีนอยู่

ขณะเดียวกันตัวเลขค่าใช้จ่ายต่อหัวยังลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวมีค่าใช้จ่ายต่อหัวราว 3.5 หมื่น ขณะที่นักท่องเที่ยวอาเซียนมีค่าใช้จ่ายต่อหัวเพียง 3.1 หมื่นบาท ทำให้ตัวเลขรายได้แม้ว่าจะได้จำนวนนักท่องเที่ยวอาเซียนเข้าทดแทน แต่รายได้ยังคงลดลง

กรณีนี้ EIC คาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะกลับมาในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2019 นี้ ด้วยความชัดเจนของสถานการณ์ในประเทศที่ดีขึ้น

ในด้านของการบริโภค ยังคงมีความต่อเนื่อง มีการเติบโตขึ้นแต่ไม่มาก ซึ่งยังต้องจับตามมองการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น โดยอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ อีกทั้งอัตราค่าจ้างแรงงานอาจจะไม่ขยายตัวมากนัก เนื่องจากจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อคนยังลดลง

แนะต้องเพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานขึ้น ก่อนที่จะเพิ่มค่าจ้างอย่างจริงจัง ขณะที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านแรงงานจะต้องเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น จะช่วยให้แรงงานพัฒนาสู่ยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น

ขณะที่ภาคการเกษตรยังคงมีรายได้แบบทรงตัว ค่อนไปทางต่ำ แม้ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ แต่ในส่วนของข้าวและยางพารายังคงมีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งรายได้ภาคการเกษตรที่ไม่ชัดเจนจะกระทบต่อรายได้ของคนระดับฐานรากของประเทศ

การลงทุนของเอกชนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ในปี 2019 การจดทะเบียนนิติบุคคลเริ่มมีการเพิ่มสูงขึ้น ทั้งร้านค้าและอีคอมเมิร์ช อีกทั้งนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับผลกระทบต่อซัพพลายเชนของสงครามการค้า เริ่มมีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งปี 2019 จะเริ่มเข้ามาอีกละรอก และจะส่งผลต่ออนาคตเศรษฐกิจไทย

มีโอกาสจะเห็นการก่อสร้างโรงแรมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากอัตราราคาที่พักมีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งในส่วนของดิจิทัลเริ่มมีการส่งเสริมให้เกิดรายได้ที่ชัดเจนมากขึ้น เชื่อว่าการปรับตัวไปสู่ดิจิทัลจะกระตุ้นให้เกิดรายได้การท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ภาคเอกชนเริ่มมีความสนใจในการลงทุนในส่วนของ EEC (ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก) ซึ่งมีการเติบโตขึ้นกว่า 122% ทั้งการก่อสร้าง การเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนจากต่างชาติมีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

แต่กระนั้นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้น จากการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การตัดสินใจต่อการลงทุนก่อสร้างของภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากการรอดูนโยบายจากการเลือกตั้ง

อีกทั้งความเชื่อมั่นของเอสเอ็มอี ซึ่งจะมีการปรับตัวเชิงโครงสร้างไปสู่การเป็นดิจิทัลมากขึ้น อาจจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง แม้ว่าที่ผ่านมานโยบายรัฐจะเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่ดี แต่ยังขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะทำให้เอสเอ็มอี ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนะรัฐสร้างรูปแบบที่ชัดเจนมากขึ้น

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์

Related Posts