กองทัพสหรัฐ ใช้งบประมาณกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อจัดหาอุปกรณ์ไฮเทคเสริมกองทัพ โดยมีโครงการใหญ่ที่เริ่มต้นสั่งผลิตนับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ทั้งหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดขนาดกลาง ภายใต้ชื่อ ‘Centaur’ ยานลำเลียงอัตโนมัติ และหุ่นยนต์เล็กปลดฉนวนระเบิด
วันนี้เรามาดูกันว่า รายละเอียดแต่ละโครงการ มีความทันสมัยกันอย่างไรบ้าง โดยเริ่มตั้งแต่โครงการแรก ที่เริ่มสั่งผลิตไปตั้งแต่ปี 2560 ด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,200 ล้านบาท กับบริษัท Endeavor Robotic ผู้ผลิต UGVs ขาใหญ่ของโลก
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด ‘Centaur’
โดย ‘Centaur’ เป็นหุ่นยนต์ที่ปรับขนาดและขยายได้ ด้วยรูปแบบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยมีชื่อเป็นทางการว่า MTRS Inc. II สามารถทำการปลดฉนวนระเบิด การเฝ้าระวังและการลาดตระเวน จากการตรวจจับสารชีวภาพ หรือวัตถุกัมมันตรังสี (CBRN/HazMat) ที่อาจจะเป็นภัยคุกคามได้

รองรับการกำหนดค่าภารกิจได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการ สามารถเคลื่อนตัวแบบปีนขึ้นและลงบันได และสำรวจทางเดินที่แคบด้วยประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม
สามารถส่งข้อมูลข้อมูลวิดีโอ เสียงและเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ระยะไกล ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานยังคงอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัยได้อย่างคล่องตัว
กริปเปอร์หรืออุปกรณ์ต่อพ่วง สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องมืออื่นๆ ได้ในเวลาน้อยกว่า 30 วินาที โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ สำหรับการเปลี่ยน
เคลื่อนที่ได้ในเวลาไม่ถึงห้านาทีก็สามารถเข้าถึงความเร็วได้ มากกว่า 2.5 ไมล์ต่อชั่วโมง สามารถเดินทางได้ทุกสภาพพื้นผิดที่มีสิ่งกีดขวาง ด้วยรูปแบบของล้อสายพานที่ทนทาน รองรับตัวทำลายระเบิดจำนวนมากและเซ็นเซอร์ที่หลากหลายที่จะส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์
ขณะที่โครงการที่ 2 เป็นการว่าจ้างผลิตหุ่นยนต์รเก็บกู้ระเบิดรุ่นใหม่ที่มีน้ำหนักเบากว่าเดิม สำหรับทหารราบที่ต้องการพกพาอุกรณ์เข้าพื้นที่ได้อย่างสะดวก โดยมีน้ำหนักน้อยกว่า 25 lbs หรือราว 11 กิโลกรัม ด้วยงบประมาณกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ผลิตจำนวน 3,000 ตัว
Scorpion Robot
Sean Bielat, Endeavor Robotics CEO กล่าวว่า เราได้บรรจุความเชี่ยวชาญที่ผ่านการทดสอบการต่อสู้ของเราทั้งหมด ในการสร้างยานพาหนะไร้คนขับเข้าสู่ระบบใหม่ที่เป็นนวัตกรรมนี้ Scorpion Robot ได้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเทคโนโลยีอันชาญฉลาด เข้ากับวิศวกรรมที่เหนือชั้นของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ Scorpion Robot มีน้ำหนักเบาและทนทาน พร้อมความสามารถในการเคลื่อนที่และการจัดการขั้นสูง หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ข้ามภูมิประเทศขรุขระปีนบันไดและทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปียกหรือจมอยู่ใต้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยโครงสร้างทั้งหมด ผลิตขึ้นจากวัสดุคอมโพสิตที่มีน้ำหนักเบา สามารถซ่อมแซมหุ่นยนต์ในสนามได้โดยใช้ชิ้นส่วนจากการพิมพ์ 3 มิติในทันที
นอกจากนี้ยังมีโครงการ ยานลำเลียงอัตโนมัติ ที่มีแนวคิดจาก รถถังจักรกลต้นแบบ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้สามารถรองรับการลำเลียงแบบไร้คนขับได้โดยที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม
ซึ่ง Endeavour จะทำงานร่วมกับอีกหนึ่งบริษัท ที่มีประวัติยาวนานในการสร้างยานพาหนะภาคพื้นดินที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้โครงการระยะที่ 1 ของ RCV (Robotic Combat Vehicle) กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยกองทัพบกทำการทดลองเบื้องต้น และกำลังอยู่ในขั้นตอนการติดอาวุธให้กับ MII3 Endeavour
และ Howe & Howe จะติดตามโครงการระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในปลายปีหน้าด้วยระบบที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ โดยจะสามารถพัฒนาระบบ RCV ได้มากถึง 7,000 ระบบ
ทั้งนี้ Endeavour Robotics, Inc. เป็นผู้ผลิตระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับยานพาหนะทางบกไร้คนขับ มีการส่งมอบหุ่นยนต์มากกว่า 7,000 ตัวให้กับลูกค้าในกว่า 55 ประเทศ ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ที่น่าเชื่อถือที่สุดทนทานใช้งานง่ายที่สุด เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินทั่วโลก โดยมีฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง