บ้านปู เพาเวอร์ฯ เตรียมขยายสู่จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม

บ้านปู เพาเวอร์ฯ เตรียมขยายสู่จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม
บ้านปู
นายสุธี สุขเรือน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Base-Load Power Business)และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business)ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลประกอบการปี2562 มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA)ที่4,802 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ19 และมีกำไรจากการดำเนินงานรวม3,191 ล้านบาท ลดลงร้อยละ33 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่ลดลงของโรงไฟฟ้าหงสาและโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี

อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งยังคงเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยรายงานดัชนีค่าความพร้อมจ่าย (Equivalent Availability Factor: EAF)ที่ร้อยละ81 และร้อยละ90 ตามลำดับ สำหรับปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตในจีนและญี่ปุ่น

ทั้งจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD)โรงไฟฟ้าตามแผนและการลงทุนเพิ่มในโรงไฟฟ้าที่COD แล้ว ซึ่งช่วยสร้างรายได้กลับคืนสู่บริษัทฯ ได้ทันที อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ มีการจัดพิธีเปิดหน้าดินเพื่อเริ่มการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ระยะที่1 ขนาด30 เมกะวัตต์ ที่เวียดนาม ถือเป็นการเดินหน้าสร้างการเติบโตในเวียดนาม ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐและชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบ้านปู เพาเวอร์ฯ ในการขยายการเติบโตให้ถึงเป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า ภายในปี2568

นายสุธี สุขเรือน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า “ในปีที่ผ่านมา บ้านปู เพาเวอร์ฯ ไม่หยุดที่จะเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วยการบริหารพอร์ตการลงทุนในประเทศที่มีศักยภาพ ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จในการCODโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คุโรคาวะ (Kurokawa)ในญี่ปุ่น และส่วนขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนาน (Luannan)ระยะที่3 ในจีนตามแผนที่วางไว้ พร้อมกับการลงทุนใหม่ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ CODแล้วและพร้อมรับรู้รายได้ทันที รวม 5 แห่ง ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จีซิน (Jixin)ในจีน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 4 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ มูโรรัง1 และ2 (Muroran 1 & 2)ในจังหวัดฮอกไกโด และเท็นซัง (Tenzan)และทาเคโอะ2 (Takeo 2)ในจังหวัดซะกะ

ทำให้กำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าที่CODแล้วเพิ่มขึ้น102 เมกะวัตต์ ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทฯ ยังเข้าลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant: VPP)และธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า(Energy Trading)ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ในประเทศญี่ปุ่นแต่สามารถสร้างรายได้กลับมาทันทีเช่นกัน ตอกย้ำถึงการดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์Greener & Smarterโดยคำนึงถึงการสร้างผลตอบแทนและกระแสเงินสดที่มั่นคงและสม่ำเสมอ

ในปี2562 บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีรายได้รวม5,687 ล้านบาท จากธุรกิจไฟฟ้าในจีน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง7 แห่ง จำนวน755 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน40 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต และรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม จำนวน 4,790 ล้านบาท นอกจากนี้ยังรับรู้รายได้จากธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Energy Trading) จำนวน142 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรภายใต้การลงทุนตามโครงสร้างTK จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นอีกจำนวน39 ล้านบาท

ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำไร3,673 ล้านบาท ลดลงร้อยละ23 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีมีการลดลงของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP)ตามโครงสร้างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าหงสาที่หยุดเดินเครื่องเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าหงสาทั้ง 3 หน่วยผลิตสามารถกลับมาเดินเครื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพพร้อมสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องตามปกติ

ณ ปัจจุบัน บ้านปู เพาเวอร์ฯ มีโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด33 แห่ง แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่COD แล้ว24 แห่ง และอยู่ระหว่างการพัฒนา9 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม2,901 เมกะวัตต์เทียบเท่า คิดเป็นกำลังผลิตที่COD แล้ว2,247 เมกะวัตต์เทียบเท่า สำหรับปี2563 บริษัทฯ คาดว่าจะมีโรงไฟฟ้าที่COD เพิ่มอีก4 แห่ง กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม451 เมกะวัตต์เทียบเท่า ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าซานซี ลู่กวงในจีน โรงไฟฟ้าพลังงานลม ระยะที่ 1 ในเวียดนาม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยามางาตะ (Yamagata)และยาบูกิ (Yabuki)ในญี่ปุ่น

“สำหรับการปรับเป้าหมายขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี2568 แบ่งเป็นพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป4,500 เมกะวัตต์เทียบเท่า และพลังงานหมุนเวียน800 เมกะวัตต์ ส่วนหลังจะมาจากการเข้าถือหุ้นร้อยละ50 ในบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด (Banpu NEXT) ที่มุ่งดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงาน นั่นหมายความว่าพอร์ตธุรกิจไฟฟ้าของบ้านปู เพาเวอร์ฯ จะมีความหลากหลายขึ้นและสอดรับกับกระแสด้านพลังงานแห่งโลกอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ในปีนี้ นอกจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ตามแผนแล้ว

บ้านปู เพาเวอร์ฯ ยังคงมองหาโอกาสในการขยายการลงทุนทั้งในประเทศที่ดำเนินธุรกิจอยู่และประเทศที่มีศักยภาพ รวมถึงมุ่งผนึกพลังร่วมกับกลุ่มบ้านปูฯ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการวางแผนและพัฒนาธุรกิจผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเวียดนาม พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG)ควบคู่กับการรักษาสมดุลระหว่างผลตอบแทนและกระแสเงินสดอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสีย”นายสุธี กล่าวปิดท้าย

Related Posts