ยูนิโคล่ ชูพลังเสื้อผ้าสู่นิยามความยั่งยืนคืนสังคม

ยูนิโคล่

ยูนิโคล่
สำนักงานใหญ่ ยูนิโคล่ ประเทศไทย

ความท้าทายของการทำธุรกิจยุคใหม่ นอกจากจะต้องตอบให้ได้ว่าผลกำไรจะเติบโตได้อย่างไรแล้ว นิยามของการรักษ์โลก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ก็เป็นอีกหนึ่งความจำเป็นที่ธุรกิจสมัยใหม่จะต้องตอบคำถามสังคมให้ได้อย่างแน่วแน่ และเมื่อ TheReporterAsia มีโอกาสเป็นนักข่าวกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามายังออฟฟิศ ยูนิโคล่ ประเทศไทย เราจึงไม่พลาดที่จะตามหานิยามความสำคัญที่ถ่ายทอดจากญี่ปุ่นมาสู่ประเทศไทย

จันทร์จิรา ตอชะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาที่ยั่งยืน ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) เปิดเผยกับเราว่า ความยั่งยืนในความหมายของยูนิโคล่ คือการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ พาร์ทเนอร์ ผู้คน และสิ่งแวดล้อมก็จะต้องเติบโตไปกับเราได้ด้วย ซึ่งนั่นเป็นความตั้งใจของยูนิโคล่ทั่วโลก ที่เราได้รับการถ่ายทอดมาจากยูนิโคล่ประเทศญี่ปุ่นมาอย่างต่อเนื่อง

เราดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 9 ปี ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามพันธกิจด้านความยั่งยืนของบริษัทแม่ ควบคู่กับการยึดมั่นในปรัชญา ไลฟ์แวร์ (LifeWear) ซึ่งเน้นการส่งมอบเสื้อผ้าที่มีคุณภาพและสวมใส่สบาย และยังมุ่งสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ ๆ และพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้พันธกิจที่เรายึดถือ ครอบคลุม 3 ด้านด้วยกันคือ ผู้คน ชุมชน และโลก

ด้านผู้คน

พันธกิจด้านความยั่งยืนของยูนิโคล่ เริ่มต้นตั้งแต่ที่บริษัท ยูนิโคล่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม และยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของผู้คน ไปพร้อมกับการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและใส่ใจกับสุขภาพพนักงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากอคติทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ เพศสภาพ ศาสนา ฐานะ หรืออายุ

และแม้ว่าในช่วงที่เกิดสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า โควิด-19 จะทำให้ยูนิโคล่ ประเทศไทย ต้องปิดสาขา แต่เราก็ไม่มีการปลดพนักงานแต่อย่างใด อีกทั้งพนักงานของยูนิโคล่ ประเทศไทย ทั้งหมดเกือบ 2,000 คน ซึ่งมีสัดส่วนของพนักงานประจำราว 60% และพาร์ทไทม์ 40% ในช่วงที่ปิดร้านจะใช้เวลาดังกล่าวฝึกอบรมพนักงาน เพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

จากเดิมที่มีการประชุมที่สำนักงานเป็นหลัก แต่วันนี้เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 เราก็เริ่มใช้งานเทคโนโลยีในส่วนของการ Conferrence ทั้งการประชุมและการฝึกอบรม ผ่านระบบเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งมีส่วนของทั้งพนักงานออฟฟิศ และส่วนของร้านจำหน่าย

ยูนิโคล่
จันทร์จิรา ตอชะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ยูนิโคล่ (ประเทศไทย)

อีกทั้งยูนิโคล่ ยังเชื่อมั่นใจศักยภาพของทุกคน และมีการจ้างงานผู้ที่บกพร่องทางสติปัญญาและร่างกาย โดยมีความร่วมมือกับสถาบันราชานุกูล และสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในการจ้างงานและพัฒนาศักยภาพบุคคลากร ซึ่งปัจจุบันเรามีการจ้างงานผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและร่างกายรวม 23 คน

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการสนับสนุนพนักงานให้มีการพัฒนาตนเองและเติบโตไปพร้อมกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้ไปทำงานแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ รวมถึงโครงการ ผู้จัดการร้านฝึกหัด ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาพนักงานให้เติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมรับโอกาสในการเป็นผู้จัดการร้านตั้งแต่เรียนจบใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้แต่ละคนสามารถวางแผนอนาคตในการทำงานได้ชัดเจนมากขึ้น

ด้านชุมชน

เป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยยูนิโคล่มองว่า ทุกพื้นที่เราเข้าไปจะต้องให้ความสำคัญกับชุมชม เพื่อให้ชุมชนสามารถเติบโตไปกับเราได้ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารด้วย ที่แน่นอนว่ามีความพยายามที่จะทำให้ผู้บริหารท้องถิ่น สามารถขึ้นมาบริหารควบคุ่กับผู้บริหารสำนักงานใหญ่ได้อย่างแนบแน่น

ซึ่งโครงการต่าง ๆ ของยูนิโคล่ ในการส่งเสริมชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง มีทั้ง Recycling Clothes Donation อันเป็นการส่งต่อเสื้อผ้าของยูนิโคล่ที่มีการผลิตได้ทนทานสู่ผู้ที่ขาดแคลน โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2555 และได้บริจาคเสื้อผ้ารวมแล้วกว่า 78,000 ชิ้น ให้กับผู้ขาดแคลนกว่า 4,500 คน

โครงการ 10 Million Masks Donation ซึ่งเป็นการบริจาคหน้ากากของ บริษัท ฟาสต์ รีเทลลิ่ง จำกัด 10 ล้านชิ้น โดย ยูนิโคล่ ประเทศไทย ได้นำบริจาคให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ 500,000 ชิ้น และยังมีกิจกรรมให้ความรู้และสอนทักษะการทำงานให้กับผู้บกพร่องทางปัญญา ผ่านโครงการ Education Center ซึ่งจัดขึ้นมาต่อเนื่องแล้ว 2 ปี จากความร่วมมือของยูนิโคล่และสถาบันราชานุกูล เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานสำหรับผู้คนกลุ่มนี้

นอกจากนี้ยังมีโครงการ In-Store Shopping Experience เพื่อเสริมทักษะด้านสังคมให้กับผู้บกพร่องทางปัญญา โดยร่วมมือกับสถาบันราชานุกูล และสมาคมกีฬาสเปเชียลโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะทางสังคม ผ่านการเลือกซื้อเสื้อผ้าด้วยตัวเอง โดยมีอาสาสมัครจากยูนิโคล่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีการจัดมาแล้ว 9 ครั้ง มีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 200 คนจาก 12 โรงเรียน

ด้านรักษ์โลก

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ยูนิโคล่ จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างค่านิยมให้กับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพและการใช้งานเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ด้วยสินค้าที่มีคุณภาพสูงที่มีพร้อมการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาเป็นอย่างดี

ทั้งในส่วนของกางเกงยีนส์ยูนิโคล่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นที่ศูนย์นวัตกรรมยีนส์ในลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ที่ใช้นวัตกรรมลดปริมาณน้ำในกระบวนการผลิตได้อย่างมหาศาล หรือจะเป็นเสื้อโปโล DRY-EX ซึ่งรีไซเคิลมาจากขวดพลาสติก PET ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งนวัตกรรมนี้จะช่วยให้เหงื่อที่ผ้า แห้งได้เร็วขึ้น หรือการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ดาวน์ขนเป็ดจากผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่ได้ใช้แล้ว ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ในช่วงฤดูหนาวนี้

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนหลอดไฟภายในร้านให้เป็นแบบ LED ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ราว 20-50% เมื่อเทียบกับหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม และยังตั้งเป้าลดการใช้ถุงพลาสติกภายในร้านลง 85% ภายในปี 2563 โดยการสนับสนุนให้ลูกค้าใช้ถุงผ้า Eco Bag ที่ทำมาจากผ้าฝ้ายที่ผลิตด้วยวิธีการยั่งยืน

และในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 นี้ ยูนิโคล่ จะงดให้บริการถุงพลาสติกสำหรับใส่สินค้า และเปลี่ยนมาใช้ถุงกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทำมาจากกระดาษรีไซเคิล ที่ผ่านการรับรองจากการจัดการป่าไม้ FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งถุงกระดาษนี้จะจำหน่ายในราคา 2 บาท โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดจำหน่ายจะมอบให้กับ มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (WARF) เพื่อนำไปสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สัตว์ป่า นอกจาการช่วยลดการสร้างขยะพลาสติกให้กับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

banner Sample

Related Posts