ตามติด AIS 5G ดัน Smart Factory เชิงพาณิชย์

AIS 5G

AIS 5G

โลกของ 5G เป็นเรื่องของการทำให้อุปกรณ์สามารถคุยและสื่อสารกัน เพื่อให้เกิดการทำงานต่อเนื่องกันได้อย่างอิสระจากการควบคุม และนั่นก็เป็นคอนเซ็ปต์ของโรงงานยุคใหม่ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน และการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิต วันนี้ TheReporterAsia ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกและครั้งสำคัญเชิงพาณิชย์ที่ AIS 5G ได้จับมือกับเลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงโรงงาน ยาวาต้า ให้กลายมาเป็นโรงงานอัจฉริยะอย่างแท้จริง

โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงสู่โรงงานอัจฉริยะในครั้งนี้ ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่า บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) เป็นบริษัทผู้ผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 50 ปี เรามีการเปลี่ยนแปลงตลอด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ทั้งช่วยลดต้นทุน ลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโดยใช้เทคโนโลยีและ 5G เข้ามาช่วย

AIS 5G

ความร่วมมือกับเอไอเอสในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย 5G และเลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ ในฐานซัพพลายไซต์ ซึ่งมาผสานร่วมกับโรงงาน ยาวาต้า ซึ่งเป็นดีมานด์ไซต์ที่ต้องการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการทำงานจริง

ด้านนายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า ในแง่ของ 5G โซลูชั่นโรงงานอัจฉริยะ ในวันนี้สามารถทำงานได้จริงแล้ว โดยประโยชน์ของ 5G สามารถแบ่งออกได้เป็น 4ส่วนที่สำคัญ ซึ่ง 1.อย่างแรกเป็นส่วนของการเชื่อมต่อโมบายหรือเครื่องลูกข่าย 2.การเชื่อมต่อดาต้าที่รวดเร็วด้วยโครงข่ายที่รองรับ 5G 3.การนำดาต้ามาสู่การวิเคราะห์ และสุดท้าย 4.เป็นเรื่องเวอติคอลโซลูชั่นที่จะเป็นการพัฒนาโซลูชั่นขั้นสูงที่จะเข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่โลกของเทคโนโลยีได้

เดิมทีในการสร้างเน็ตเวิร์คภายในหากมีพื้นที่ของโรงงานราว 15,000 ตารางเมตร จะต้องทำไวไฟหลายตัวเพื่อให้ครอบคลุม แต่พอเป็น 5G ใช้เพียงตัวเดียวก็สามารถครอบคลุมได้แล้ว ประโยชน์ของ 5G ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญ โดย1.เราสามารถที่จะแบ่งชาแนลสำหรับการทำงานหลากหลายประเภทได้โดยง่าย เพื่อไม่ให้การงานรบกวนแบนด์วิดช์ต่อกัน สามารถตรวจจับข้อมูล แล้วนำดาต้านั้นมาประมวลผลเพื่อให้เกิดประโยน์สูงสุด ภายใต้ความปลอดภัย 2 .การใช้งานจริง ซึ่งจะไม่ใช่เพียงแค่เน็ตเวิร์คเท่านั้น แต่จะต้องมีการนำมาใช้งานจริงกับโรงงาน เน็ตเวิร์คเดิมเราไม่สามารถทำงานได้แบบเรียลไทม์ แต่สำหรับ 5G สามารถทำงานได้อย่างทันที

FACoBOT AMR500

หรือ3.หากต้องการความเร็วที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เน็ตเวิร์ค 5G ก็ยังสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นตามประสิทธิภาพที่ต้องการได้ และเรื่องของความปลอดภัย 5G สามารถสร้างความปลอดภัยสูงสุดภายใต้เครือข่ายแบบส่วนตัว โดยไม่จำกัดจำนวนโรงงานและระยะทางระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้โรงงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานได้สอดประสานและพร้อมกันทันที เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างอัตโนมัติ

ซึ่ง AIS 5G ก็มีโซลูชั่นออกมา 3 ส่วนที่สำคัญ แบ่งออกเป็น Private Network Type 1 ที่รองรับธุรกิจที่ไม่ใหญ่มาก ความซับซ้อนไม่มาก ช่วยให้สามารถใช้งานเน็ตเวิร์ก 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่โซลูชั่น Private Network Type2 ที่ทำมาเพื่อกลุ่มธุรกิจในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งสามารถเข้าร่วม 5G ได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และสุดท้าย Private Network Type3 ที่จะรองรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการความซับซ้อนและประมาณของข้อมูลที่มีวิ่งมีขนาดใหญ่

AIS 5G Private Network

จะเห็นได้ว่าเอไอเอสมีโซลูชั่นที่ครบทุกรูปแบบที่จะช่วยให้ลูกค้าทุกขนาด สามารถเลือกใช้งาน 5G ได้อย่างอิสระ วันนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกของการเปิดตัวโซลูชั่นเชิงพาณิชย์ และนับเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่จะช่วยเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงโรงงานให้มีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น ด้วยต้นแบบที่เกิดขึ้นจากโรงงาน ยาวาต้า

ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ก่อนที่จะมาถึงการทำงานร่วมกันนั้น เมื่อ 5 ปีก่อนหน้า เรามีความร่วมมือในการปรับระบบการผลิตของบริษัทใหญ่ 8 แห่งกับ BOI เพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติในการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0

วันนี้เรามีการเปลี่ยนมาใช้โรบอตในการทำงาน มีระบบอัตโนมัติในการทำงาน และการขนย้ายแบบอัตโนมัติด้วยโรบอต โดยเป็นการลงทุนที่อยู่ภายใต้โครงการ 3 ปีจากการสนับสนุนของ BOI ที่ให้เราได้รับการยกเว้นภาษี 3 ปี นับว่าเป็นการใช้งานด้านภาษีลงทุนที่มีความคุ้มทุนตามเฟสการทำงานทั้ง 3 ปีต่อเนื่อง ซึ่งเราจบโครงการไปที่เมื่อเดือน 6 ที่ผ่านมา

FACoBOT AMR500

โดยประสิทธิภาพการทำงานมีการเปลี่ยนการยกของด้วยบุคคล 2 คนในจุดเก็บสินค้าเข้าคลังต่อจุดให้กลายเป็นหุ่นยนต์ จากเดิมที่คนสามารถยกได้ด้วยเวลา 14.4 วินาทีต่อการยก 1 ลังที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัม เมื่อเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์สามารถยกขนาดเท่ากันได้ภายใน 11 วินาที ทำให้ระบบทำงานเร็วขึ้น 23.6% ด้วยกำลังคนที่น้อยลง ช่วยทำให้ผลผลิตแรงงานเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้น 8.2% สรุปก็คือทุกส่วนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง

เราต้องการพัฒนาไปอีกขั้นสู่ Industry 4.0 ภายใต้มาตรฐานที่สูงขึ้น ของ IEC 62541 ที่มีการเชื่อมต่อระบบบริหารข้อมูลของงบริษัทขึ้นไปสู่คลาวด์ เพื่อเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน โดยโรงงานยาวาต้ามีพื้นที่ราว 25,000 ตารางเมตร ซึ่งต้องการหุ่นยนต์อัตโนมัติเข้ามายกของ ทำให้เราต้องเปลี่ยนระบบแบบเดิมมาสู่ระบบใหม่ ที่จะต้องลงทุนราว 30 ล้านบาท แต่ด้วยผมเห็นเทคโนโลยีตัวนี้ และเมื่อนำมาวิ่งแล้วมีการปรับเปลี่ยนระบบประตูเปิด-ปิดนิดหน่อย ซึ่งใช้เงินทุนเพียงแค่ 5 ล้านก็ช่วยประหยัดเงินไปได้ แถมยังได้ใช้เทคโนโลยีที่เป็นอนาคตสามารถต่อยอดไปได้อีกในอนาคต

วันนี้เราใช้ AIS 5G กับ AMR Acobot เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลกับโรงงาน เพื่อให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติ ซึ่งก็ได้ทีมของเอไอเอสในการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยความเร็วของการเชื่อมต่อข้อมูลทำได้สูงถึง 1Gbps ในย่านความถี่ 2.6GHz ด้วยความหน่วงต่ำกว่า 15 มิลลิวินาที ทำให้เรารู้ตำแหน่งของ AMR อยู่เสมอว่าอยู่ตรงไหนของโรงงาน

ดร.กุลฉัตร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน จาก บริษัทเลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ กล่าวว่า เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรม4.0 มันก็คือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน โดยในส่วนของโรงงาน ยาวาต้านั้นก็มีทั้ง OT (Operation Technology) และ IT (Information Technology) ที่จะเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกัน โดยส่วนของ OT ในโรงงานแบ่งออกเป็นหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เครื่องจักรอัตโนมัติ รวมถึงระบบกล้องที่เป็นทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ มี PLC Base System กลุ่มสมองกลควบคุมเครื่องจักร มี PC Base System และยังมีรถ AMR (Autonomous Mobile Robots) ขณะที่ในส่วนของ IT เรามีระบบ ERP ช่วยจัดการดาต้าเบสและโลจิสติกส์ มีระบบ IIoT ช่วยดึงข้อมูลจากเครื่องจักรเข้าสู่ระบบ และซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการคลังสินค้า

โดยทั้ง OT และ IT จะเชื่อมต่อกันด้วยโพโตคอล OPC UA ซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงภายใต้เครือข่าย AIS 5G Private Network

FACoBOT AMR500

ในโรงงานยาวาต้า เราได้มีการนำ AMR เข้าไปทดแทนในส่วนของรถยกที่ต้องใช้แรงงานคนแบบเดิม ๆ ช่วยให้โรงงานเข้าสู่ความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น โดย AMR จะเป็นการทำงานอัตโนมัติ เมื่อขั้นตอนการยกครบตามจำนวนที่กำหนด รถ AMR จะเข้ามายกเพื่อนำไปสู่พื้นที่ที่ต้องการ เมื่อเสร็จภารกิจ AMR จะเข้าโหมดสแตนบายเพื่อรอรับงานต่อไปจากระบบ ARM Manager

ซึ่งหากมองในแง่ของการใช้งาน AMR จะมีความพร้อมในการทำงานที่ไร้ปัญหา ต่างจากการใช้รถยกที่จะต้องใช้แรงงานที่อาจจะติดปัญหาบางประการในการทำงานได้ ขณะที่ต้นทุนในการลงทุน AMR จะอยู่ที่ 1.5 ล้านบาทต่อคัน แต่รถยกทั่วไปจะอยู่ที่ราว 1 ล้านบาทต่อคันซึ่งยังต้องใช้แรงงานคนขับที่ราว 400,000 บาทต่อปี และยังไม่รวมค่าทำงานล่วงเวลาและค่าน้ำมันรถยก ซึ่งเมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 รถยกจะยังต้องจ่ายค่าแรงงานต่อไป แต่สำหรับ AMR นั้นจะเริ่มเห็นจุดคุ้มทุนที่มากกว่า เนื่องจากประหยัดค่าแรงงานและทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงนั่นเอง

และแม้ว่าในส่วนของระบบ เมื่อโรบอตยกของใกล้ถึงจำนวนที่ต้องการแล้ว จะแจ้งไปยัง AMR Manager เพื่อให้ส่งรถ AMR เข้ามายกไปเก็บ แต่ขั้นตอนก่อนหน้าที่จะสั่งระบบจะทำการเช็กพื้นที่ว่างก่อน เพื่อกำหนดพื้นที่วางในคำสั่งให้ชัดเจนสำหรับรถ AMR ในการไปยกแบบอัตโนมัติ นอกจากนั้นผู้ควบคุมระบบสามารถรับรู้ภาพและข้อมูลจากการทำงานในพื้นที่ได้แบบเรียลไทม์เลย ภายใต้การทำงานของ AIS 5G Private Network บนความปลอดภัยของ OPC UA ที่เป็นโปรโตคอลเฉพาะ

FACoBOT AMR500

โดย AMR ที่นำมาใช้ในโครงการนี้ จะมีชื่อแบรนด์ว่า FACoBOT ในรุ่น AMR500 น้ำหนักรวมแบตเตอรี่ 145 กิโลกริม บรรทุกโหลดได้ 500 กิโลกรัม ลากจูงได้หนัก 800 กิโลกรัม ทำความเร็วได้สูงสุด 1.17เมตรต่อวินาที วิ่งทางชั่นได้ 2.86 องศา ทำงานได้ 6-8 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้งในเวลา 3.5 ชั่วโมง แต่จริงๆแล้วเมื่อ FACoBOT ไม่มีงานจะมีการวิ่งเข้าฐานเพื่อชาร์จตัวเอง ทำให้การทำงานต่อเนื่องสามารถทำงานได้ทั้งวันนั่นเอง

ทั้งนี้ FACoBOT AMR500 สามารถพัฒนาต่อเนื่องไปสู่การบริการอื่นๆ ทั้งการส่งยาให้ผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลได้ หรือแม้กระทั่งการส่งอาหาร ซึ่งสามารถติดกล้องเข้าไป เพื่อทำเป็นระบบการตรวจการแล้วส่งข้อมูลกลับไปที่มอนิเตอร์ให้กลับส่วนกลาง เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไปได้ ซึ่งสามารถใช้ตรวจการณ์ด้านความปลอดภัยได้อีกด้วยเช่นกัน

5 จุดเด่น AIS 5G ที่สำคัญ

1.Network Slicing การใช้งานเน็ตเวิร์กตามกลุ่มการใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
2.เชื่อมต่อได้ 100 อุปกรณ์ต่อ 1 ตารางเมตร
3.ส่งข้อมูลได้สูง 10Gbps
4.มีความหน่วงต่ำ ข้อมูลเรียลไทม์ได้ถึง 99.99%
5.ระบุตำแหน่งได้แม่นยำในระดับ 10 เซนติเมตร ภายใต้เน็ตเวิร์ค 5G

banner Sample

Related Posts