___noise___ 1000

NTT DATA หนุนสร้างระบบนิเวศน์ e-Payment เพื่อนวัตกรรมชำระเงินดิจิทัลปลอดภัยในทุกอุตสาหกรรม

NTT DATA

NTT DATA

บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) ภายใต้เครือบริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด เผยไทยมุ่งหน้าสู่ ดิจิทัลไลฟ์ อย่างก้าวกระโดดหลังโควิด-19 เป็นปัจจัยเร่ง คาดผู้บริโภคไทยเกินครึ่งคุ้นชินกับการจ่ายเงินไร้สัมผัส แนะหนทางความสำเร็จธุรกิจควรเร่งปรับรูปแบบการจ่ายเงินสู่ e-Payment สอดรับความต้องการผู้บริโภค ควบคู่การอัพเกรดเทคโนโลยีใหม่ รุกตลาดเชิงสร้างประสบการณ์จับจ่ายที่ดีกว่าให้ลูกค้า ด้วยความปลอดภัยด้านข้อมูลและระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ป้องกันการโจรกรรมทางไซเบอร์

โดยสนับสนุนสร้าง e-Payment eco-system ช่วยสร้างนวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับภาคการธนาคารที่เป็นลูกค้าปัจจุบันและกำลังจะขยายไปยังลูกค้าอุตสาหกรรมรายอื่นด้วยเทคโนโลยีโซลูชันระดับโลก มั่นใจติดอาวุธธุรกิจไทยก้าวทันโลกดิจิทัล

ฮิโรนาริ โทมิโอกะ (Hironari Tomioka)  ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NTT DATA (Thailand) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่รูปแบบการใช้ชีวิต ดิจิทัลไลฟ์ อย่างก้าวกระโดด โดยมีโควิด-19 เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง เกิดการใช้จ่ายด้วยระบบการชำระเงินที่ไร้การสัมผัส หรือ Contactless Payment สำหรับการทำธุรกรรม ซื้อ จ่าย โอน ผ่าน แอปพลิเคชันต่างๆ รวมทั้ง Mobile payment, และ Prompt Pay แทนเงินสด ตลอดจน Cross-border QR Payment หรือการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่มีการพัฒนามาตรฐานกลาง Thai QR payment ที่สามารถรองรับการชำระเงินได้หลายประเภท

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บ่งชี้ว่ามีการใช้ e-Payment ของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น จากธุรกรรมอินเตอร์เน็ตและโมบายแบงก์กิ้งที่ขยายตัวสูงขึ้นกว่า 72% ขณะที่มีการชำระเงินผ่านพร้อมเพย์สูงสุดถึง 28.6ล้านรายการต่อวัน (เม.. 64) และคาดว่าในปีนี้ปริมาณการใช้งาน e-Payment ยังคงเติบโตอย่างก้าวกระโดดเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา

เป็นผลจากความคุ้นชินในการใช้ e-Payment ภายใต้บริบทใหม่ของคนไทยกระจายตัวออกไปมากขึ้น  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลระดับสากลจาก Digital Global Overview Report ประจำปี 2021 ที่พบว่าคนไทยมีการทำธุรกรรมผ่าน Mobile banking เป็นประเทศแรกๆ ของโลก โดยมีปริมาณทีเพิ่มขึ้นกว่า 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 

อย่างไรก็ดีปัจจัยดังกล่าวนับเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤติ ภาคธุรกิจสามารถพลิกเกมสร้างโอกาสการเติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยการนำเสนอบริการที่สอดรับพฤติกรรมดิจิทัลไลฟ์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน และมากไปกว่านั้นคือการสร้างประสบการณ์ที่รวดเร็วปลอดภัย อันมีผลต่อการส่งเสริมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรมธนาคาร สถาบันการเงิน ประกันภัย ค้าปลีก โทรคมนาคม รวมทั้งบริการ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน น้ำและไฟฟ้า  ต่างให้ความสำคัญและเร่งลงทุนระบบ e-Payment รองรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัสหรือไร้เงินสด เสริมความคล่องตัวในการทำธุรกรรมมากยิ่งขึ้น

การลงทุนพัฒนาระบบ e-Payment เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ควรทำทั้ง eco-system เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างนวัตกรรมการชำระเงินดิจิทัลที่ปลอดภัย ควรให้ความสำคัญตั้งแต่การวางโครงสร้างระบบ แผนการพัฒนาระบบ จนถึงกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการใช้งาน ที่สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง รวมไปถึงความยืดหยุ่นในการอัพเกรดระบบด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตและการสร้างประสบการณ์จับจ่ายที่ดีกว่าให้กับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างระบบหน้าบ้านและหลังบ้านแบบไร้รอยต่อ รวมถึงสามารถการคาดการณ์ปริมาณรองรับผู้ใช้บริการที่เหมาะสม การรักษาความปลอดภัยในข้อมูลของลูกค้าและความปลอดภัยสูงสุดของระบบ เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจและบริการ รวมทั้งความปลอดภัยในด้านข้อมูลของลูกค้า เพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบและความสูญเสียมูลค่ามหาศาลด้านภาพลักษณ์รวมถึงธุรกิจและบริการได้” ฮิโรนาริกล่าว

ฮิโรนาริ กล่าวเสริมว่า NTT DATA (Thailand) ให้บริการด้าน Payment solutions สำหรับธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้าด้วยระบบหน้าบ้านที่รองรับ Contactless Payment ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น Mobile payment, และ Prompt Pay แทนเงินสด ตลอดจน Cross-border QR Payment เริ่มต้นตั้งแต่บริการที่ปรึกษา ช่วยคิดและให้คำแนะนำ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยทีมงานที่มีประสบการณ์เข้าไปช่วยดำเนินการให้เกิดขึ้นได้จริง รวมไปถึงการจัดหาระบบหรือเทคโนโลยีโซลูชันที่มีประสิทธิภาพจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับโลก ดูแลลูกค้าหลังการติดตั้งระบบ ร่วมพัฒนาและต่อยอดระบบ รวมไปถึงการจัดอบรมพนักงานผู้ใช้ระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากรในองค์กร

โดยลูกค้าหลักเป็นกลุ่มธุรกิจธนาคารและอุตสาหกรรมการเงินปัจจุบันบริษัทฯ วางแผนขยายฐานไปในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ที่มีศักยภาพในการให้บริการทางการเงินแก่ผู้บริโภค รวมไปถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการพัฒนาระบบการชำระเงินไร้สัมผัส

banner Sample

Related Posts