___noise___ 1000

มข. อัพเดตแนวโน้มเทคโนโลยี 2565 ให้ครูทั่วประเทศ

มข.

มข.

มข. จัดสัมมนาอัพเดทแนวโน้มเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา ในปี 2565 ในหัวข้อ “Trends Transforming The Higher Education Outlook In 2022”  ให้กับอาจารย์ทั่วประเทศ ด้วยหัวข้อที่น่าสนใจจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน จัดสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “Trends Transforming The Higher Education Outlook In 2022” แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา ปี 2565 เนื่องด้วยสถาบันอุดมศึกษากำลังเผชิญสภาวะวิกฤติครั้งใหญ่ มีความท้าทายมากมายหลังโควิด19 สถานประกอบการและตลาดแรงงานต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะขั้นสูง สามารถสร้างสรรค์งานในเชิงนวัตกรรม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ภายใต้วัฒนธรรมดิจิทัล นักศึกษาต้องพยายามปรับตัวใน Learning Ecology ใหม่ อาจารย์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ช่องทางการสื่อสาร สื่อการสอน หรือแม้แต่การประเมินผลการเรียนรู้ การไหลบ่าที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ อันเป็นผลผลิตโดยตรงจากสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องปฏิรูปตัวเอง

มข.

ทั้งนี้ ในการสัมมนาดังกล่าว ประกอบด้วยหัวข้อที่น่าสนใจจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาทิ

  1. ปฏิรูปประเทศไทยด้วยอุดมศึกษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โดย รศ. นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2. กรอบทักษะใหม่ที่สถานประกอบการและสังคมต้องการ โดย ศ. ดร.สุรินทร์ คำฝอย รองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ดร. กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา TDRI ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ชลดา ผาริโน อาจารย์ประจำ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
  3. แนวโน้มรูปแบบและวิธีจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา โดย รศ. พญ.กมลวรรณ เจนวิถีสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ และ รศ. ดร. วิศปัตย์ ชัยช่วย ประธานหลักสูตร BiS (โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ) iSchool KKU ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์เบญจพร เหล่าวงษี อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์
  4. Education Technology Trends in 2022 โดย ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล และ ดร.กิตติ์ เธียรธโนปจัย ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีดิจิทัล
  5. Learning Space for Future Higher Education โดย รศ. ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ รศ. ดร. วนิดา แก่นอากาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน ผู้ช่วยฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์
  6. Learning Resources for Digital Future Learners โดย ศ. ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข นายกสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และ รศ. ดร.สุรพล บุญลือเลขาธิการสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ดำเนินการอภิปรายโดย ผศ. ดร.ปรมะ แขวงเมือง อาจารย์ประจำ คณะศึกษาศาสตร์
  7. Skills Set ใหม่ที่จำเป็นสำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษา โดย ศ. ดร.กุลธิดา ท้วมสุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ต และ รศ. ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ดำเนินการอภิปรายโดย ผศ. ศักดิ์สุรยา ไตรยราช อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

มข.

พร้อมนี้ มข.ยังได้แนะนำห้องผลิตสื่อ Production House (ห้องพร้อมอุปกรณ์) โดย ผศ. ดร.อนุชา โสมาบุตร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมฯ ประกอบด้วยห้อง Mini Studio จำนวน 2 ห้อง Self Studio จำนวน 2 ห้อง ห้อง Working Space และห้อง Studio ขนาดใหญ่จำนวน 1 ห้อง ซึ่งทางศูนย์นวัตกรรมฯ จะเปิดให้บริการในเร็วๆนี้ สำหรับผู้สนใจงานสัมมนาในครั้งนี้ สามารถรับชมคลิปบรรยายย้อนหลังได้ทางยูทูปศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน   https://www.youtube.com/channel/UCmMusmK6oIlLCsLB22NLePA

banner Sample

Related Posts