___noise___ 1000

เริ่มแล้ว สถาปนิก’65 กระตุ้นเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง-หนุนเม็ดเงินหลังจบงานสะพัดกว่า 2 หมื่นล้าน

ARC22

ARC22

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด พร้อมกลุ่มผู้แสดงสินค้ากว่า 500 บริษัท ร่วมกันเปิดงานสถาปนิก’65 (Architect’22) ภายใต้แนวคิด “CO-WITH CREATORS: พึ่งพา-อาศัย” งานที่รวบรวมผลงานระหว่างสถาปนิกกับนักสร้างสรรค์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ครั้งแรก! กับพื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษ “Thematic Pavilion” ผลงานออกแบบร่วมกันระหว่าง “ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ x ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง” พร้อมทัพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมากมาย พบกันได้ที่งานระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

นายชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานในพิธีเปิดงาน “สถาปนิก’65 (Architect’22)” เปิดเผยว่า การจัดงานสถาปนิกเป็นหนึ่งในภารกิจที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 34 ภายใต้คอนเซปต์ “CO – WITH CREATORS: พึ่งพา – อาศัย” ซึ่งจะได้เห็นความร่วมมือกันเป็นครั้งแรกที่มีประธานจัดงาน 3 ท่าน จาก 3 ภูมิภาค ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด “พึ่งพา-อาศัย” ของสถาปนิกทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของประเทศไทย เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลงานออกแบบเทียบเท่าผลงานดีไซน์ระดับสากล และขับเคลื่อนการจัดงานสถาปนิกในปีนี้ให้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมออกแบบ-ก่อสร้าง สถาปัตยกรรมของประเทศไทย

รวมถึงช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้สามารถเดินหน้าไปต่อได้ในยุคโควิด โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการพึ่งพาอาศัยศักยภาพของกันและกัน ระหว่างสถาปนิก x นักสร้างสรรค์ (Creators) ในสาขาอาชีพต่าง ๆ จนเกิดการ Cross-culture และ Cross-function

นายปองพล ยุทธรัตน์ ประธานจัดงานสถาปนิก ตัวแทนสถาปนิกจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า สถาปนิก’65 นำเอางานสถาปัตยกรรมในลักษณะ “พึ่งพา-อาศัย” มาเป็นหัวข้อในการจัดงานเพราะเล็งเห็นความน่าสนใจของ “การสร้างสรรค์ร่วมกัน” (Co-Creation) ระหว่างผู้คนต่างสาขาอาชีพมากขึ้น เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับภูมิสถาปนิก ศิลปิน นักออกแบบแสง แฟชั่นดีไซเนอร์ ช่างภาพ หรือ นักออกแบบสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จนเกิดผลลัพธ์ของงานสถาปัตยกรรมที่มีมุมมองหลากหลายจากไอเดียที่แตกต่าง นอกจากนั้น สถาปนิก’65 ยังเป็นเวทีสำหรับการตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบถึงการพึ่งพาอาศัยระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ในสาขาอื่น ๆ เพื่อพึ่งพาศักยภาพของกันและกัน และทำให้งานในปีนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ อีกทั้งยังสร้างประสบการณ์การเข้าชมงานให้แตกต่างไปจากที่ผ่านมา

นายอิศรา อารีรอบ ประธานจัดงานสถาปนิก ตัวแทนสถาปนิกจากภาคเหนือ กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ จะเน้นการนำเสนอเรื่องราว กระบวนการคิด และหลักการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับนักสร้างสรรค์ โดยมีนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย “นิทรรศการ CO-WITH COVID” พาวิลเลียนที่นำเสนอทางเลือกในการเดินหน้าไปสู่การดำเนินชีวิตแบบปกติใหม่อย่างมั่นคงท่ามกลางการระบาดที่เกิดขึ้น “นิทรรศการ Professional Collaboration” พื้นที่จัดแสดงแนวความคิดและการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์จากทั่วประเทศทั้ง 12 คู่ ภายในงานสถาปนิก’65 กับผลงานในรูปแบบหุ่นจำลอง (Model) ภาพถ่ายแนวความคิด และสื่อวิดีทัศน์ “นิทรรศการ Local Innovation” หรือ CO-Breathing House” ที่ถูกออกแบบพื้นที่ภายในเป็นห้องต่าง ๆ โดยใช้ผนังกั้นที่กลมกลืนไปกับวัสดุพื้นถิ่นและเลือกเล่นกับผัสสะ หรือ ประสาทสัมผัสของมนุษย์ผ่านภาพ เสียง สัมผัส

นอกจากนี้ยังมี “นิทรรศการผลงานสถาปนิก สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA Member)” และ “นิทรรศการ Delineation of Architectural Masters” นิทรรศการที่เริ่มต้นจากโครงการ ASA Talk Series ฯลฯ

ในส่วนของนิทรรศการวิชาการจะประกอบด้วย “นิทรรศการ ASA Architectural Design Student Workshop’22” ที่นำเสนอผลงานเหล่านิสิต นักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ และ “นิทรรศการประกวดแบบเชิงแนวความคิด (ASA Experimental Design)” การแสดงผลงานการประกวดแบบในระดับนานาชาติที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมฯ และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมส่งผลงานแสดงแนวคิดในการออกแบบภายใต้กรอบธีมงานที่กำหนด

ด้าน นายราชิต ระเด่นอาหมัด ประธานจัดงานสถาปนิก ตัวแทนสถาปนิกจากภาคใต้ กล่าวว่า สมาคมสถาปนิกสยามฯ ยังเตรียมพื้นที่นิทรรศการสมาคม วิชาชีพ วิชาการ ไว้ ประกอบด้วย “นิทรรศการรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น และ นิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ประจำปี 2565” “นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” และ “นิทรรศการงานประกวดแบบภาครัฐและองค์กรอื่น ๆ” นอกจากนั้นยังมีพื้นที่กิจกรรมและบริการอื่น ๆ อาทิ “หมอบ้านอาษา” บริการให้คำปรึกษาในเรื่องการออกแบบและก่อสร้าง ASA Shop” พื้นที่จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ หนังสือวิชาการจากสถาบันการศึกษา ASA Club” พื้นที่ Meeting Point และจุดพักผ่อนประจำของชาวอาษา “ลานกิจกรรมกลาง” พื้นที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ  อาทิ  เสวนา ดนตรี ทดลองสาธิตเวิร์กช็อป ASA Night 2022” งานสังสรรค์ตามประเพณีของเหล่าสมาชิกอาษาทุกรุ่นทุกสมัยทุกสถาบัน และสุดท้าย คือ ส่วนงานสัมมนาวิชาการ ได้แก่ ASA International Forum 2022” และ ASA Seminar 2022” โดยส่วนหนึ่งของงานสัมมนาจะเป็นรูปแบบ Hybrid Forum ที่สามารถเข้าร่วมฟังสัมมนาแบบ On-site และแบบ Online

นายศุภแมน มรรคา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะผู้จัดงานฯ กล่าวว่า ถึงแม้เศรษฐกิจไทยในเวลานี้จะยังคงเผชิญกับปัจจัยที่ท้าทายหลายด้าน ทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น แต่มองภาพรวมอุตสาหกรรมออกแบบ สถาปัตยกรรม อสังหาริมทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จะเริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้นจากความร่วมมือของทุก ๆ ภาคส่วนเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ไปต่อได้ สะท้อนจากการขานรับเข้าร่วมงานสถาปนิก’65 จากเหล่าผู้แสดงสินค้าจากไทยและต่างประเทศกว่า 500 ราย จนเต็มพื้นที่จัดแสดง 50,000 ตารางเมตร โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติที่มาจัดแสดงในปีนี้มีสัดส่วนถึง 5% อาทิ อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ ซึ่งผลตอบรับที่ดีในครั้งนี้จะเป็นภาพสะท้อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยที่ดูแล้วจะคึกคักอย่างแน่นอน โดยตั้งเป้ายอดผู้เข้าชมงานตลอด 6 วัน อยู่ที่ 3 แสนคน และมีเม็ดเงินหลังจบงานสะพัดกว่า 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับผู้แสดงสินค้าแต่ละบูธต่างนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่น่าสนใจมานำเสนอมากมาย อาทิ นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ “SEE JORAKAY” สีเดียวในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ VIRUTECT” ลามิเนตปิดผิวที่มีคุณสมบัติในการกำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้มากถึง 99% ภายใน 8 ชั่วโมง “Lemilliur” วอลล์เปเปอร์ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส และ “TOA Organic care” สีที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ ทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียม รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย

นวัตกรรมด้านดีไซน์ ได้แก่ “DOS” ถังเก็บน้ำคู่ปั๊มน้ำ รางวัล Good Design Award จากประเทศญี่ปุ่น และ Demark Design Award , “COWAY” เครื่องกรองน้ำเบอร์ 1 จากประเทศเกาหลีใต้ เจ้าของรางวัลจากทั่วโลก ทั้ง CES Innovation Award, IF Design Award, Red Dot Design Award และ Good Design Award ฯลฯ

ทั้งนี้ ยังมีแบรนด์ชั้นนำที่มาร่วมจัดแสดงภายในงานมากมาย อาทิ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ – ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด นำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด “SCG for Smart Living, Smart City” สัมผัสกับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยทั้งในบ้าน อาคาร และเทคโนโลยีการก่อสร้างจาก SCG ที่จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับวันนี้และในอนาคต พร้อมด้วยไฮไลต์ นิทรรศการ “Dwell Well อยู่ได้ อยู่ดี” ที่จัดแสดงนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยในปัจจุบันและเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์เมืองที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นในอนาคตผ่านหลายมุมมอง ได้แก่ Smart Construction, Energy Saving & Comfort Living, Convenience & Hygiene, Health & Wellness และ ESG (Environmental, Social and Governance)

ในส่วนของไฮไลต์ที่สร้างสีสันและพลาดไม่ได้เป็นอย่างยิ่งในงานสถาปนิก’65 ได้แก่ การนำเสนอพื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษ Thematic Pavilion” ครั้งแรกของการจัดงานที่จะได้เห็นความร่วมมือระหว่าง “ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ x ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง” ในการนำเสนอการออกแบบพื้นที่จัดแสดงโดยใช้ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจากผู้แสดงสินค้า สร้างสรรค์ผลงานออกแบบที่เทียบเคียงกับงานดีไซน์ระดับโลก เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์พิเศษที่ไม่เหมือนทุก ๆ ปี ให้กับเหล่านักออกแบบ นักสร้างสรรค์ ผู้จัดแสดงสินค้า และผู้เข้าชมงาน พร้อมยกระดับการจัดงานสู่สากล

อาทิ บูธ TP01 ผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่าง VG x PHTAA ที่นำเอารางน้ำฝนและหลังคาไวนิล มานำเสนอพื้นที่แบบบ้านทรงไทยยกใต้ถุน บูธ TP02 ระหว่าง TOA x ARiA Design Architects ที่นำเสนอศักยภาพของวัสดุที่ส่งเสริมการออกแบบอย่างยั่งยืนผ่านพื้นที่แบบ Unique Form และ Visual Impact บูธ TP07 ระหว่าง EDL x Sher Maker ผลงานออกแบบที่ชวนให้มองถึงแง่มุมในการใช้วัสดุแบบใหม่ ๆ ผ่านพื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์ และบูธ TP08 ระหว่าง WDC x ACa ที่ตีโจทย์การออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ ออกมาเป็น Conceptual Space ผ่านวัสดุกระเบื้องหลายรูปแบบ

นอกจากผู้เข้าชมงานจะได้เพลิดเพลินกับไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ภายใต้พื้นที่ Thematic Pavilion แล้ว ภายในงานยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานร่วมโหวตผลงาน Thematic Pavilion ที่ชื่นชอบ เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะและคว้ารางวัล Thematic Pavilion of teh Year 2022 อีกด้วย

ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่ผู้เข้าชมงานจะสามารถสัมผัสและเข้าถึงได้ด้วยตนเองที่งาน “สถาปนิก’65” งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้เข้าชมงานสามารถใช้บริการรถตู้รับส่งฟรีได้ที่บริเวณลานจอดรถ สถานีรถไฟฟ้า (BTS) หมอชิต ทางออก 2 หรือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สวนจตุจักร ทางออก 4 รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่: www.ArchitectExpo.com และ www.facebook.com/ASAArchitectExposition

banner Sample

Related Posts