โลกของสุขภาพที่เทคโนโลยียังเข้าไปถึงได้น้อยมาก และสร้างความยุ่งในการเข้าใช้บริการของผุ้ป่วยได้อย่างไม่น่าเชื่อ บ่อยครั้งที่เราเห็นการรักษาที่ผิดพลาดในวินาทีสำคัญ ด้วยเพราะข้อมูลที่จำเป็นของผู้ป่วยถูกเก็บรักษาจนแพทย์ผู้รักษาไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ไม่ล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการรักษา เช่นอาการแพ้ยา โรคที่แทรกซ้อน หรือแม้กระทั่งอาการสำคัญบางอย่างที่ตัวผู้ป่วยเองก็ไม่ทราบได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถบ่งบอกผ่านข้อมูลประวัติการรักษาอย่างละเอียดเท่านั้น
- – จับตา อนาคต วงการแพทย์ Health Data Scientist
- – พริ้นซ์สุวรรณภูมิ โรงพยาบาลแนวคิด Healthcare Ecosystem
ด้วยปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เกิด เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี หรือ EVER สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนไทยที่ชื่อว่า ภาณุสิชฌ์ ชมะนันทน์ ที่ร่วมกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง อย่าง นายแพทย์โฮเซ่ มอเรย์ ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทด้านข้อมูลกลางทางการแพทย์ของผู้ป่วย เพื่อช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะบุคคลกลับมาเป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกครั้ง ซึ่งจะกลายเป็นสิทธิ์ของผู้ป่วยที่สามารถนำติดตัวไปได้ในทุกที่ที่เข้ารับการรักษา ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชน
เอเวอร์ ได้วางโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการรักษาสุขภาพ ผ่านการพัฒนาพัฒนาเทคโนโลยีบนพื้นฐานของบล็อกเชน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลการรักษาตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือได้ พร้อมเชื่อมโยงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และโรงพยาบาลจากทั่วทุกมุมโลกไว้ด้วยกัน เพื่อทลายข้อจำกัดขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ อาทิ การเดินทางไปรักษาที่ต่างประเทศจะกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะมีแพลตฟอร์มกลางของเอเวอร์เข้ามาอำนวยความสะดวก ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังสามารถรับคำปรึกษาด้านสุขภาพกับแพทย์ในไทย ไปจนถึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในประเทศนั้น ๆ ผ่านแพลตฟอร์มที่เอเวอร์พัฒนาขึ้นได้ทันที
นายภาณุสิชฌ์ ชมะนันทน์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Founder and Chief Executive Officer) บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จํากัด กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 โดยมุ่งเน้นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการส่งต่อ–แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล และการที่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลสุขภาพของตนเองอย่างแท้จริงตามสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ เอเวอร์จึงมีเป้าหมายในการทำลายกำแพงที่กั้นระหว่างผู้ป่วยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้การส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นเกิดประสิทธิผลสูงสุด พร้อมอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างตรงจุดมากที่สุดด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ผ่านการใช้งานบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เอเวอร์เชี่ยวชาญ ผสานไปกับวงการแพทย์ เพื่อใช้เทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
EVER (เอเวอร์) มุ่งมั่นที่จะใช้นวัตกรรมพลิกโฉมวงการแพทย์ด้วย Web3.0 และบล็อกเชน ผ่านการเปลี่ยนมุมมองการรักษา โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Decentralized) เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลด้วยมาตรฐานความปลอดภัยในระบบสูงสุด โดยผู้ป่วยสามารถอนุญาต (Consent) ให้สถานพยาบาลใช้ข้อมูลเพื่อรักษา และร้องขอการเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ผ่านแอปพลิเคชัน EVER ที่ผ่านมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่งมีการประกาศใช้ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
ด้าน นายแพทย์โฮเซ่ มอเรย์ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ (Chief Medical Officer) บริษัท เอเวอร์ เมดิคอล เทคโนโลยี จํากัด กล่าวว่า โจทย์ของเอเวอร์ คือการช่วยเหลือให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างครอบคลุม โดยภารกิจได้เริ่มต้นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เราได้เป็น 1 ใน 10 จาก 235 บริษัททั่วโลก ที่ได้เข้าร่วมโครงการ UC Berkeley Blockchain Xcelerator ในปี 2019 ที่ร่วมมือกับ UN-IDAIR ในเรื่องการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ในการเชื่อมโยงข้อมูลและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ จากนั้นในปี 2022 เอเวอร์ ได้ร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในไอวอรี่โคสต์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ในประเทศ และขยายสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้เอเวอร์ได้จัดงานการเปิดตัว EVER Health Wallet กระเป๋าสุขภาพเฉพาะบุคคลขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะเชื่อมโยงระบบทั้งหมดจากโรงพยาบาลมาสู่มือผู้ป่วย เพื่อให้การเก็บข้อมูลการรักษา (Personal Health Record) การสั่งยา การพบแพทย์ การบันทึกข้อมูลสุขภาพและการเพิ่มความรู้ทางด้านสุขภาพและรักษารวมอยู่ในแอปพลิเคชัน EVER ที่เดียว
โดยความเชี่ยวชาญของเอเวอร์ แบ่งออกเป็น 3 ด้านที่สำคัญคือ 1.Data Exchange Platform แพลตฟอร์มหลักของการเชื่อมต่อข้อมูลทางการแพทย์เข้าด้วยกัน ด้วยการนำบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบสาธารณสุข
2.Innovation in Hospital System การพัฒนาระบบสถานพยาบาล เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และ 3. Health data engineering การพัฒนาโครงสร้างเวชระเบียนด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำมาผนวกเข้ากับแพลตฟอร์มการรักษาสุขภาพ ภายใต้กฎระเบียบด้านข้อมูลส่วนบุคคล ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นับตั้งแต่การติดฉลากข้อมูลทาการแพทย์แบบเฉพาะบุคคล ไปจนถึงการรักษาสุขภาพเชิงพยากรณ์และการเรียนรู้เชิงลึกทางการแพทย์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการรักษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต