เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค 5G ความสัมพันธ์ของการสื่อสารที่รวดเร็วและอัจฉริยะระหว่างเครื่องจักร กลายเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ และไม่ใช่เพียงแค่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะต้องเรียนรู้ 5G แต่ทุกธุรกิจล้วนต้องการการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลแทบทั้งสิ้น การเปลี่ยนครั้งสำคัญของ AIS Business ที่จะก้าวไปสู่การเป็นระบบอัตโนมัติด้านโทรคมนาคม หรือ Cognitive Telco เคียงข้างพาร์ทเนอร์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าสามารถก้าวข้ามไปสู่โลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรน์พร้อมจะเป็นอย่างไร วันนี้ TheReporterAsia มีแนวคิดจากคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS มาบอกเล่าเรื่องราวของเส้นทางสู่การเป็น Cognitive Telco
- – คณะ กสทช. รุดเยือนสหรัฐ เร่งหารือ การค้าการลงทุนด้านโทรคมนาคม
- – ย้อนรอย ตัวอย่าง การควบรวม กิจการโทรคมนาคมทั่วโลก
AIS Business เชื่อว่าการจะเป็นCognitive Telco ได้นั้น จะต้องมีระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้แบบเบ็ดเสร็จ มีความฉลาด สามารถที่จะคาดเดาล่วงหน้าหรือว่ารู้ถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ และวางระบบป้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อที่จะให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังต้องสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างเจาะลึกจนเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรในรูปแบบข้อแนะนำได้อย่างสมบูรณ์แบบ
โดยเริ่มจากการสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดีที่สุดให้ได้ ทำอย่างไรเราจะทำงานเคียงคู่กับลูกค้าไปได้ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ของเอไอเอสทั้งหมดที่เรามี ภายใต้ทรัพยากรการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เรามีความเชื่อเหลือเกินว่า ไม่มีทางที่จะมีโซลูชั่นเดียวที่สามารถตอบสนองได้ทุกบริการ ดังนั้นกลยุทธ์ของเราจึงชัดเจนมากว่า เราจะสร้าง Partners Ecosystem ด้านดิจิทัล 5G และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการผสมผสานความรู้ทั้งของเอเอเอสและลูกค้า เพื่อทำให้เกิดโซลูชั่นที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจง
โดยแต่ละปีเราลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเฉลี่ยนราว 2-3 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างระบบโครงข่ายสื่อสารให้มีความฉลาดขึ้น เสถียรขึ้น และมีการตอบสนองที่ฉับไวมากขึ้น
มิชชั่นเราไม่เคยเปลี่ยนแปลง เรายังคงต้องการเป็นผู้ขับเคลื่อน “เศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืน” ให้กับประเทศไทย จากการทำงานร่วมกับดิจิทัลพาร์ทเนอร์ของเรา เพื่อที่จะนำโซลูชั่นต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งานเพื่อช่วยสนับสนุนให้ลูกค้า สามารถเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้น ดีขึ้น เรามั่นใจว่าลูกค้าต้องการพาร์ทเนอร์ที่ดีในการทรานฟอร์ม ซึ่งลูกค้าเองก็โฟกัสที่ธุรกิจของตัวเอง แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากพาร์ทเนอร์ในการที่จะขับเคลื่อนไปสู่องค์กรดิจิทัลต่อไป
ในปีที่แล้ว เราได้ประกาศ 5 กลยุทธ์ที่สำคัญของเรา 1) เชื่อมต่อ 5G Ecosystem การสร้างเน็ตเวิร์คให้ชาญฉลาดมากขึ้น 2) ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Networkมองหาเน็ตเวิร์คใหม่ ๆ เพื่อเข้ามาเสริม ให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น 3) มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม โดยปีที่ผ่านมาเราได้ประกาศเปิดตัวตัวแพลตฟอร์ม 5G NextGen ในการรองรับการเติบโตของดิจิทัลในระดับอินฟาสตรักเจอร์ เพื่อสร้างอินฟาสตรักเจอร์ที่ดีที่สุด ให้กับโซลูชั่นใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ หรืออื่น ๆ แอปพลิเคชันเหล่านี้ ต้องการทรัพยากรแวดล้อมที่สเถียรต้องมีการจัดสรรทรัพยากรการทำงานที่ดี และมีความหน่วงต่ำแบบเรียลไทม์ 4) เสริมอาวุธด้านการตลาดและเพิ่มโอกาสการเติบโต Data-driven Business ในเรื่องของการนำดาต้ามาใช้เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกทิศทาง และพัฒนาการทำงานให้กับพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่เรามีการจัดการดาต้าระหว่างพาร์ทเนอร์ ซึ่งเรามีรูปแบบการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ที่เป็นระบบทั้งหมด 5) ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพที่ไว้วางใจได้
อีกทั้งยังมีการพัฒนาคนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานดิจิทัลให้มากขึ้น ปีที่แล้ว แม้ว่าจะเป็นปีของการท้าทายมากแล้ว แต่ท้ายที่สุดในปีนี้การเปลี่ยนแปลงธุรกิจของลูกค้าก็ยังต้องเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
ด้านพาร์ทเนอร์ เรามีทั้งระดับโกลบอลและท้องถิ่น เพื่อเข้ามาช่วยตอบสนองการทำงานของลูกค้าให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น และยังเป็นการยืนยันความเป็น Cognitive Telco ของเอไอเอสที่มีการผสมผสานภาคโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างอัจฉริยะอีกด้วย
ปี 2023 ของ AIS Business ในแง่ของทิศทางทางธุรกิจเรายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยยังคงเน้นไปที่ 3 แกนที่สำคัญ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”
แกนที่ 1.”สร้างการเติบโต” เป็นการเดินเคียงคู่แบบพาร์ทเนอร์ชิปเพื่อทำงานร่วมกัน ด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ของพาร์ทเนอร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ
- “ความเชื่อใจ อุ่นใจ” การเข้าไปใกล้ธุรกิจของลูกค้ามากขึ้น เราจึงต้องสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการเลือกใช้บริการจากเอไอเอส และสุดท้ายจะต้องนำไปสู่แกนที่
- “สร้างความยั่งยืน” ทั้งในแง่บุคลากร โครงสร้างการทำงาน กระบวนการทำงาน หรือแม้แต่โซลูชันที่จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความยั่งยืนได้ หรือเข้ามาช่วยในการบริการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ