จับตา 6G หัวเว่ย รวมการสื่อสารภาคพื้นดินและอวกาศเข้าด้วยกัน

จับตา 6G หัวเว่ย รวมการสื่อสารภาคพื้นดินและอวกาศเข้าด้วยกัน

ความท้าทายของข้อจำกัดที่ หัวเว่ย ถูกกดดันจากโลกตะวันตก ด้านการพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสาร ตลอดจนความใช้งานเทคโนโลยี 5G อาจจะกลายเป็นตัวเร่งที่สำคัญซึ่งให้การพัฒนาของหัวเว่ย วกกลับมาที่ความสามารถภายในประเทศจีนเอง โดยการเพิ่มอัตราเร่งให้ก้าวข้ามตลาดปัจจุบันไปสู่อนาคตเพื่อชดเชยการขาดช่วงของการพัฒนา

สิ่งที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือความร่วมมือของหัวเว่ยกับผู้พัฒนาชิป 5G ภายในประเทศจีนเองที่ชื่อว่า SMIC ซึ่งเป็นความร่วมมือของบริษัทเทคโนโลยีสัญญาชาติจีนกว่า 90 แห่งร่วมกันจัดตั้งโรงงานผลิตชิปของตนเองขึ้นมา หลังเกิดการกีดกันการใช้เทคโนโลยีจากโลกตะวันตกในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าก่อนหน้านี้เราจะรู้จัก SMIC ในฐานะผู้ผลิตชิป KIRIN ให้กับหัวเว่ยอยู่แล้ว แต่การโดนหางเลขของการจำกัดการใช้เทคโนโลยีของโลกตะวันตก ก็ทำให้ SMIC ชะงักเทคโนโลยีการผลิตชิปอยู่ที่ระดับ 14 นาโนเมตรเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการผลิตชิปได้แค่สมาร์ทโฟนระดับกลาง ๆ เท่านั้น ความร่วมมือกันครั้งนี้ของบริษัทเทคโนโลยีจีน จึงเป็นการเร่งการเติบโตด้านเทคโนโลยีการสื่อสารที่สำคัญ

และเมื่อการพัฒนา 5G ของหัวเว่ยสะดุด ประจวบเหมาะกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารในรูปแบบ 5G ของผู้ให้บริการเริ่มมีการชะลอตัว โดยผู้บริหารของกลุ่ม Dell’Oro Group ระบุว่า พบสัญญาณการชะลอตัวและเปลี่ยนทิศทางการลงทุนของผู้ให้บริการไปอยู่ที่การพัฒนาเครือข่ายประจำที่และการพัฒนาเน็ตเวิร์คระดับองค์กรเท่านั้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ในช่วง 2560-2564 จะมีการเติบโตของตลาด RAN (Radio Access Network) กว่า 40% ก็ตาม

แต่กระนั้นความต้องการด้านการสื่อสารที่จะยังทำให้ RAN เติบโตต่อไปได้ ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องระบบอัตโนมัติ การเปิดกว้างของรูปแบบการใช้งาน การตอบสนองด้าน Visualization และความต้องการด้านอัจฉริยะ ที่จะเข้ามาตอบโจทยการทำงานควบคู่กับระบบอัตโนมัติ ซึ่งแนวทางการพัฒนาด้านการสื่อสารประจำที่ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลพวงมาจากการแพร่ระบาดโควิดที่ทำให้การสื่อสารบอร์ดแบนด์กลับมามีความต้องการมากข้น ด้วยประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

หัวเว่ย

นิยาม 6G ของการพัฒนาภายใต้ หัวเว่ย ?

หากเรามองย้อนกับไปเมื่อครั้งที่มีการเปิดตัวสมาร์ทโฟน Mate 50 Pro เมื่อปี 2022 ที่ประเทศจีน เราจะเห็นฟีเจอร์ที่แปลกใหม่อย่างหนึ่ง นั่นคือ ฟีเจอร์ “การรับส่งข้อความผ่านดาวเทียม” ซึ่งแม้ว่าจะเป็นฟีเจอร์ที่จำกัดการใช้งาน ณ ขณะนั้นก็ตาม แต่ก็เป็นสัญญาณที่ยืนยันได้ว่า การสื่อสารที่มากกว่า 5G ของหัวเว่ยนั้น จะมีทิศทางของการผสานการสื่อสารระดับภาคพื้นและการสื่อสารระดับอวกาศเข้ามาในระบบการสื่อสารแห่งอนาคตแน่นอน

สัญญาณของการผสานการสื่อสารภาคพื้นดินกับอวกาศนี้ เริ่มชัดเจนมากขึ้นด้วยการเปิดตัว Huawei P60 Pro ที่มาพร้อมฟีเจอร์การส่งข้อความผ่านดาวเทียมี่เปิดกว้างมากขึ้น และการเปิดตัวล่าสุด Huawei Mate 60 Pro ที่เปิดตัวมาพร้อมฟีเจอร์ “Satellite Calling” ฟีเจอร์ที่ช่วยให้สามารถโทรศัพท์หากันได้ โดยที่ไม่ต้องมีเครือข่ายการสื่อสารภาคพื้นดินแต่อย่างใด โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการรับสายและโทรออก นับเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่สำคัญที่ยืนยันได้ว่า การสื่อสารของหัวเว่ย ได้ก้าวข้าม 5G ไปโดยปริยาย

แน่นอนว่า การสื่อสารผ่านดาวเทียมนั้นเป็นเรื่องของการเดินทางของสัญญาณวิทยุที่เรารับรู้กันว่าต้องใช้เวลาในการเดินทางพอสมควร ทำให้เกิดการดีเลย์ของสัญญาณ ความร่วมมือของหัวเว่ยกับผู้พัฒนาดาวเทียม  Tiantong-1 satellite system ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อสารสื่อสารของพัฒนาพัฒนาในประเทศจีน โดยคาดว่าการพัฒนาระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมของหัวเว่ย จะถูกพัฒนาขึ้นภายใต้วงโคจร VLEO (Very low Earth orbit) ซึ่งนับเป็นวงโคจรที่ต่ำที่สุดก่อนที่ถึงจุดที่มีแรงโน้มถ่วงของโลก โดยมีระยะห่างจากพื้นโลกราว 350-600 กิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าวงโคจรดาวเทียมสื่อสารที่มีผู้ให้บริการในปัจจุบันอย่างกลุ่ม Starlink ที่มีระยะห่างจากพื้นโลกในช่วง LEO (low Earth orbit) ราว 600-1200 กิโลเมตร

หัวเว่ย

การเปิดตัว Huawei Mate 60 Pro ซึ่งมาพร้อมการพัฒนา PA (Power Amplifier) ด้านการขยายสัญญาณใหม่ ให้สามารถสื่อสารระหว่างเครื่องสมาร์ทโฟนผ่านดาวเทียมได้เลย สะท้อนให้เห็นแนวทางการนิยามที่ชัดเจนของคำว่า “6G” ที่หัวเว่ยกำลังพัฒนา

แน่นอนว่า ความสามารถนี้ ยังคงจำกัดการใช้งานในประเทศจีนเท่านั้น แต่กระนั้นก็ถือว่าเป็นแนวทางการพัฒนาของโลกการสื่อสารในอนาคต ที่ทำให้เราพอมองภาพออกว่า ในอนาคต การสื่อสารจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ระบบเครือข่ายภาคพื้นดินเท่านั้น แต่จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตก็ขึ้นอยู่กับตัวเร่งที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ครั้งนี้เป็นอัตราเร่งที่เกิดจากการกีดกันทางด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ก็ทำให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนกลับมารวมตัวสุมหัวกันครั้งใหญ่ และทลายข้อจำกัดของการสื่อสารออกไปยังนอกโลก ด้วยอัตราเร่งที่ถือว่าเป็นการพัฒนาที่เร็วมากแม้จะมีข้อจำกัดด้านการพัฒนาชิปก็ตาม

Related Posts