กระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การเข้ามาของอินเทอร์เน็ต เอไอ โรบอท และอีกหลายสิ่งที่กำลังจะตามมา ทำให้บริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด หรือ SCG Trading Co.,Ltd. บริษัทที่มีรายได้ระดับ 40,000 ล้านบาทถึงกับอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องทำการปรับกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ในปีนี้
เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อเป็น SCG International Corporation Co., Ltd. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมมุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาธุรกิจและโซลูชันใหม่ๆ โดยนำเทคโนโลยีที่นำสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
ปัจจุบันบริษัทเอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนลย่อยและสำนักงานการค้าต่างประเทศ ทั้งสิ้น 21 แห่ง ครอบคลุมตลาดการค้าสำคัญทุกภูมิภาคทั่วโลก นำเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้ากว่า 2,000 บริษัท ใน 50 ประเทศ โดยสัดส่วนการขายส่วนใหญ่อยู่ในอาเชียน 70-80%
ซึ่งภาระกิจนับจากนี้จะไม่เพียงเป็นตัวกลางในการจัดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยบริการแบบครบวงจรตลอดทั้ง Supply Chain ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ Digital Platform มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศกลยุทธ์หลักของอย่างประเทศจีน-อินเดีย
นายบรรณ เกษมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทฯ ได้เตรียมเงินลงทุน 4,500 ล้านบาท ในการนำมาใช้ทำแพลตฟอร์ม สร้างทีมงาน สร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ใช้ดิจิทัลมาร์เก็ตติง ซึ่งขณะนี้มี 7-8 โครงการที่พร้อมจะทำแล้ว
โดยตั้งเป้าสร้างยอดขาย 46,000 ล้านบาท ในปี 2562 หรือเติบโตขึ้น 13% เน้นการนำโซลูชันครบวงจรสู่ตลาดอาเซียน จีน และอินเดีย และตอบความต้องการลูกค้าด้วยแนวคิด Customer Centric, Data Driven และ Services and Solutions ผสานความเชี่ยวชาญของพนักงานที่รู้ลึก รู้จริงในตลาดแต่ละประเทศ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากทั่วโลกมาปรับใช้
“แนวคิดหลักในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจคือ การใช้จุดแข็งของสำนักงานการค้าในต่างประเทศ ทำความเข้าใจธุรกิจของลูกค้าให้ลึกซึ้ง เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของลูกค้าประสบความสำเร็จได้ดีที่สุด เน้นการทำ End-to-End Supply Chain Solution ด้วยการสนับสนุนลูกค้าตามความต้องการเฉพาะ
ตั้งแต่การทำตลาดและขยายตลาดต่างประเทศ จัดหาและจัดจำหน่ายสินค้าโดยทีมงานมืออาชีพ บริหารระบบโลจิสติกส์ครบวงจร และให้คำปรึกษาด้านกฏระเบียบและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละประเทศ นอกจากนี้จะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า พัฒนาวิธีตอบสนองลูกค้าได้เร็วขึ้นด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง
พัฒนาช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าบีทูบีและสนับสนุนธุรกิจของเอสเอ็มอี นำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าใช้พลังงานในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ทั้งนี้อาเซียนนับเป็นตลาดที่สำคัญที่สุด เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล มีโรงงานและพนักงานในอาเซียนรวมกันถึง 15,000 คน ซึ่งการขยายตลาดจะเน้นสินค้าหลักอย่าง สินค้าพลังงาน การเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และยานยนต์ที่เราเป็นดีลเลอร์ให้กับโตโยต้าในเมียนมา
โดยจะนำเสนอบริการจัดหาสินค้าสำหรับโรงงาน จัดหาอะไหล่อุตสาหกรรม และ Petro Station นอกจากนี้ยังจะเน้นการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสเติบโตสูง อาทิ Indudtrial Sourcing Platform เรายังมองหาพาร์ทเนอร์อย่างเช่นสตาร์ทอัพเพื่อการต่อยอดธุรกิจ
ส่วนการทำธุรกิจในตลาดจีนนั้นจะทำการจัดหาและจ้างผลิตสินค้าจากจีน สินค้าสมาร์ทโฮม และสินค้า Home Improvement นอกจากนี้จะสร้างตลาดในแบรนด์ไทยอาทิ ห่วงโซ่อาการ อุตสาหกรมการท่องเที่ยว การสนุนเอสเอ็มอีไทย
และนำอีคอมเมิร์ซ์มาเป็นช่องทางการจำหน่าย ส่วนธุรกิจใหม่นั้นจะเน้นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ระบบการจัดจำหน่ายและการร่วมในโอากาศธุรกิจใหม่ๆ
ธุรกิจในอินเดีย จะมุ่งด้านการจัดจำหน่ายจะพัฒนาเป็น Building Solution Provider ในอินเดียและภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อตอบรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งสมาร์ทซิตี้ หาแห่งสินค้าคุณภาพและบุคลากรที่มีคุณภาพ ส่วนธุรกิจใหม่นั้นจะทำ Business Process Outsourcing
รวมทั้ง Digital Platform ร่วมกับบริษัทในอินเดีย เพื่อตอนสนองนโยบาย “Make in Indea” สร้างโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ให้กับเอสซีจี ตั้งเป้าในจีนและอินเดียให้เกิดได้ภายในไม่เกิน 10 ปี และเอสซีจี จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ตลาดนี้ได้ภายใน 5 ปี
นอกจากนี้เอสซีจียังจะสร้างธุรกิจใหม่และตลาดใหม่ โดยในส่วนของธุรกิจแพคเกจจิงนั้นจะจัดหาและจำหน่าย Pulp, Kraft Paper, Sack Kraft and Recycled Paper จากแหล่งผลิตทั่วโลก ในส่วนของตลาดใหม่น้น จะมองหาโอกาสทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ ได้แก่ อเมริกา โอเชียเนีย และตลาดการค้าอื่นๆ ทั่วโลก
ส่วนทางด้านธุรกิจใหม่นั้น จะร่วมทุนกันบริษัทต่างชาติเพื่อรอบรับโอกาสทางธุรกิจใหม่อาทิ Smart Financial Solution เป็นต้น
“กลยุทธ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจในปีนี้คือการจัดมือกับพาร์ทเนอร์ โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับ Ralali.com ซึ่งปัจจุบันถือเป็น B2B Online Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย พัฒนาช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ บริการจัดการคลังสินค้า โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปีนี้
รวมไปถึงการจับมือคู่ค้าต่างชาติจัดตั้งบริษัทร่วมทุน “บริษัท สยาม เซย์ซอน จำกัด” ให้บริการ “Smart Financial Solution” บริการด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการวัสดุก่อสร้าง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับลูกค้าในการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น โดยได้เริ่มทดลองดำเนินการในประเทศไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และมีแผนจะขยายการดำเนินงานเต็มรูปแบบภายในปลายปีนี้”
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง