ส่อง AWS เบื้องหลังดัน แสนสิริ สู่ Ai Company

ส่อง AWS เบื้องหลังดัน แสนสิริ สู่ Ai Company

โมเดลของการทรานส์ฟอร์มสู๋ดิจิทัลที่นับว่าประสบความสำเร็จที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย TheReporter Asia นึกถึงชื่อ ‘แสนสิริ’ ขึ้นมาทันที เพราะจากบริษัทที่ไม่ได้ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเลย ไม่มีแม้กระทั่งนักพัฒนาโปรแกรมอยู่ภายในบริษัทเลย แต่วันนี้แสนสิริตั้งเป้าที่จะกลายเป็นบริษัท Ai แห่งแรกในประเทศไทยให้ได้ภายในปี 2020 ซึ่งก็คือภายในปีหน้านั่นเอง

จากเป้าหมายเช่นนี้ ทำให้เกิดความท้าทายในหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ทั้งเรื่องของความรู้ ความเข้าใจ การพัฒนา การเลือกใช้ การประยุกต์ใช้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การปรับตัว การฝึกอบรม หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรขนาดใหญ่ ให้ตระหนักและใช้งานเทคโนโลยี อย่างที่คนเทคโนโลยีกระทำ

เรื่องนี้เบื้องหลังความสำเร็จต้องมีบริษํทเทคโนโลยีช่วยเหลืออย่างแน่นอน และเอนจิ้นสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้แสนสิริไปถึงฝั่งฝันได้ “อเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส” หรือ AWS ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่สำคัญ

วันนี้ TheReporter Asia ได้มีโอกาสเจอ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด ถึงการเป็นป๋าดันที่ทำให้แสนสิริ กล้าออกมาประกาศตัวที่จะเป็น Ai Company ซึ่งหมายถึงการเป็นบริษัทที่จะมีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย ในทุกทุกกระบวนการทำงาน

นับตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล พิจารณาโครงการ การควบคุมการก่อสร้าง การจัดการเอกสาร ตลอดจนจบปิดโครงการ ซึ่งเรื่องนี้มีความซับซ้อนที่สำคัญ และเป็นโมเดลต้นแบบที่บริษัทอื่นๆจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน

ดร.ชวพล กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เราเข้ามาช่วยดูแลทั้งแพลตฟอร์มเลย ซึ่งความต้องการของแสนสิริ คือการรีแบรนด์ไปสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยมี 2 ส่วนที่สำคัญ ส่วนแรกคือนวัตกรรม(Innovation) ซึ่งการที่จะสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ แอปพลิเคชั่นใหม่ขึ้น หรือสร้าง User Experience ใหม่ๆให้เกิดขึ้น จะต้องมีทั้งในส่วนของดิจิทัล เอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง ไอโอที นี่คือสิ่งที่เราต้องมาทำงานร่วมกัน

ด้วยการนำตัวอย่างของการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาพัฒนาร่วมกัน ด้วยความหลากหลายของ AWS ที่เรามีเครื่องมือในการสร้างและพัฒนาเช่นนี้ รองรับอยู่บนแพลตฟอร์มของเราเอง โดยปีที่ผ่านมาเรามีฟีเจอร์ใหม่ๆขึ้นมารองรับการทำงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 1,950 ฟีเจอร์ ปีก่อนก็มีพิ่ม1,480 อย่าง ซึ่งแต่ละปีเรามีของใหม่ๆออกมาเยอะแยะ

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงสามารถเปลี่ยนธุรกิจ Traditional Business แบบเดิมๆซึ่งมีเครื่องเต็มไปหมดเลย ให้กลายมาเป็น Digital Business ที่มีแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบใหม่ในการทำงาน ซึ่งมีทั้งความอัจฉริยะและนวัตกรรมเทคโนโลยี โดยเราสามารถนำข้อมูลการทำงานแบบเดิมเหล่านี้มาสร้างแพลตฟอร์ม ที่ข่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น เกิดประสิทธิผลที่มากขึ้น

ซึ่งในส่วนของความเร็วนั้น เราครอบคลุมทั้งส่วนของความเร็วในการเข้าใช้งานของลูกค้าแสนสิริเอง และความเร็วในการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว ซึ่งในสมัยก่อนที่ไม่มีฟีเจอร์หลายพันชิ้นในแพลตฟอร์มการพัฒนาของ AWS นักพัฒนาก็จะต้องเริ่มต้นเขียนเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ใช้ระยะเวลาหลายเดือน ไปจนถึงหลายปี

แต่เมื่อเรามีฟีเจอร์ในทุกวันนี้ กระบวนการพัฒนาของบางโครงการ เราสามารถสร้างและใช้งานได้ภายในระยะเวลาหลักวัน ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่จะช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น ขณะที่ต้นทุนของการใช้งานก็ลดลง เนื่องจากเป็นการจ่ายตามการใช้งานจริงผ่านระบบคลาวด์

โดยบางเซอร์วิสต์คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานเป็นวินาทีหรือชั่วโมงกันแล้ว ทำให้ไม่ต้องวางงบประมาณเรื่องระบบล่วงหน้าอย่างในอดีต อีกทั้งระดับค่าใช้จ่ายทางเทคโนโลยีก็มีอัตราลดลงต่อเนื่องทุกปีอยู่แล้ว

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเรามีไอเดีย เราสามารถสร้างเป็นต้นแบบ แล้วทดลองใช้งานได้เลยทันทีในต้นทุนที่ต่ำมาก เพราะเราไม่จำเป็นต้องไปซื้อเครื่องฮาร์ดแวร์มาติดตั้งอีกต่อไป และด้วยระยะเวลาที่สั้นมาก คนที่มีไอเดียก็สามารถสร้างรูปแบบธุรกิจ จากการทดลองที่ประสบความสำเร็จ

แสนสิริ
ดร.ทวิชา ตระกูลยิ่งยง ประธานผู้บริหารสายงานเทคโนโลยี บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน)​ กล่าวถึงแพลตฟอร์ม Noah ซึ่งเป็นเอไอที่จะเข้ามาช่วยตัดสินใจด้านการลงทุน การก่อสร้าง ตลอดจนช่วยจัดการให้โครงการบรรลุผลสำเร็จ ได้อย่างเป็นระบบ

ด้วยรูปแบบสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ทำให้เราไม่เสียโอกาสในการทดลอง และลดความเสี่ยงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเหมือนการทดลองตลาดในอดีต

ซึ่งในอดีตนั้น เป็นเรื่องยากมากเลยที่เราจะคาดการณ์ว่าโครงการไหน จะมีคนมาใช้เท่าไหร่ จะคุ้มทุนไหม จะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ซึ่งทั้งหมดเราต้องทำลงบนแผ่นกระดาษ แต่ถ้าวันนี้ เราสามารถเขียนโครงการแล้ว ทดสอบในระบบที่มีสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงมากที่สุดแล้วทดสอบความสำเร็จดู ก็จะทำให้ต้นทุนในการสร้างไอเดียของเราต่ำลง ความเสี่ยงของการนำไอเดียไปใช้ก็ลดน้อยลงหรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้

ความง่ายของการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เรามีการออกฟีเจอร์เพื่อช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้ง่ายขึ้น ราวปีละ 800 รายการ 3 ปีก่อนเราออก 1,100 อย่าง และ 2 ปีก่อนเราออก 1,400 อย่าง และในปีที่ผ่านมาเราออก 1,950 อย่าง นั่นหมายถึงสปีดในการออกเทคโนโลยีใหม่ๆของเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว หากนักพัฒนาต้องการสร้างไอเดียอะไรขึ้นมาสัก 1 ชิ้น อาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันๆในการทำ แต่เมื่อเขามีเครื่องมือให้ใช้มากขึ้น ความเร็วของการสร้างและพัฒนาก็จะร่นเวลาลงเหลือหลักชั่วโมงเท่านั้น

หลักของการพัฒนาเทคโนโลยีให้ออกมาทุกวันของเรา เราตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้งานเทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งเมื่อฟีเจอร์ใหม่ออกมา โครงการที่ถูกออกแบบมาเดิมนั้นจะต้องสามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ หรืออัปเกรดเข้าสู่ระบบใหม่ได้อย่างทันทีเช่นกัน เพราะสิ่งนี้คือหัวใจของการทำ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่แท้จริง ที่จะต้องสามารถเข้าใช้งานเทคโนโลยีของวันพรุ่งนี้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ภายใต้โครงสร้างเดิม

ขณะที่เมื่อมองเรื่องต้นทุนของการพัฒนา ทั้งในส่วนของการลดราคาแต่ละฟีเจอร์ลงมาหลายครั้งของ AWS เอง และการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง ก็ทำให้นักพัฒนาสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดการรองรับการใช้งานของไอเดียนั้นๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และและต้นทุนที่สำคัญที่สุด คือต้นทุนค่าเสียโอกาสทางธุรกิจและต้นของการพัฒนาโดยรวม

เวลาที่เราสร้างเซอร์วิสต์ใหม่ๆขึ้น ปัจจุบันจะเป็นระบบอัตโนมัติหมด ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนของฟีเจอร์ลดน้อยลง ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของการ compliances ซึ่งทุกเซอร์วิสต์ที่ออกมาจะต้องใช้ และเมื่อพูดถึงเรื่องระบบชำระเงินเราก็ต้องใช้ compliance ในกลุ่ม PCIs

ซึ่งสมัยก่อนเราต้องทำเองทั้งหมด ทั้งในส่วนของโครงสร้างและแอปพลิเคชั่น ซึ่งในการทำ compliance ไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่กลับเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แล้วก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจจของแสนสิริแต่อย่างใด

แต่ปัจจุบันเมื่อเราใช้เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งอะไรก็ตามที่อยู่บนแพลตฟอร์ม AWS จะได้รับการ compliance แบบอัตโนมัติ ทำให้ลดลงทั้งระยะเวลา จำนวนคน จำนวนเงิน โดยลดลงเยอะมากจะมีก็แต่การ compliance ในระดับแอปพลิเคชั่นเท่านั้น ทำให้เมื่อเรามีไอเดีย เราก็จะสามารถร่นระยะเวลาจากเดิมที่ใช้เป็นเดือนๆ เหลือเพียงเป็นวันวัน หรือในหลักสัปดาห์เท่านั้น

แสนสิริ
แพลตฟอร์ม Emma แพลตฟอร์มนี้ จะเชื่อมโยงประสบการณ์ของลูกค้าให้มีความต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเข้าไปใช้บริการที่ไหน และส่วนไหนของแสนสิริก็ตาม
หัวใจสำคัญของการทรานส์ฟอร์มแสนสิริ สู่ Ai

สิ่งสำคัญของการพัฒนาไปสู่บริษัทดิจิทัล หรอืการทรานส์ฟอร์มนั้น สิ่งแรกคือเรื่องของอินโนเวชั่น หรือไอเดีย อย่างที่กล่าวไปแล้ว และอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือสิ่งที่ต้องย้ายไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ เราต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง

เนื่องจากบริษัทที่อยู่มานานกว่า 30-40 ปี จะมีข้อมูลที่เยอะมาก เราจะต้องมาทำการศึกษาว่าส่วนไหนสำคัญอย่างไร ระยะเวลาการย้ายที่เหมาะสม และรูปแบบการย้าย เมื่อย้ายแล้วของใหม่หน้าตาจะเป็นอย่างไร เพื่อสร้างขั้นตอนการทำงานให้เกิดความต่อเนื่องมากที่สุด

งานทั้ง 2 ส่วนทั้งอินโนเวชั่น ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำเร่งด่วน เป็นปัจจุบัน ในส่วนของการออกแบบ ดีไซน์ และพัฒนา เพื่อเข้ามาแก้ไขจุดพกพร่องหรือเสริมเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น แต่ในส่วนของการย้ายนั้น เป็นส่วนของการสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้คล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ซึ่งทั้งหมดเป็นการทำงานหลังบ้านของบริษัท ทั้งระบบบัญชี ระบบทรัพยากรบุคคล หรืออื่นๆอีกมากมาย ทั้ง 2 ส่วนจะต้องมีการประสานแนวคิดเข้าด้วยกัน

ความเร็วของการทรานส์ฟอร์มของ 2 ส่วนนี้ก็จะต่างกัน ซึ่งโดยธรรมชาติ งานในส่วนอินโนเวชั่นจะมีความรวดเร็วกว่า เนื่องจากการย้ายของที่ยังมีการทำงานอยู่เป็นเรื่องยากที่ต้องใช้เวลา

ทั้งการปรับตัว การเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคคลกร ตลอดจนการเพิ่มความรู้ให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้งานทดแทนการทำงานรูปแบบเดิมได้อย่างคล่องตัว จึงจะเกิดการทรานส์ฟอร์มอย่างเป็นรูปธรรม

จุดที่ยากของการทำแพลตฟอร์มให้กับแสนสิริ ในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความท้าทายที่แตกต่างกัน โดยความท้าทายทางฝั่งนวัตกรรม ก็คือเราจะทำอย่างไรให้พนักงานสามารถใช้งานแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นการทำของที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน

เราก็ต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆมากพอ มีความเข้าใจรูปแบบการทำที่ถูกต้อง เข้าใจว่าจะทำอย่างไรให้ปลอดภัย สามารถลดขนาดข้อมูลได้อย่างถูกต้องได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้เขาสนใจทดลองใช้งานด้วย

ขณะที่ความท้าทายในการย้ายของเก่านั้น เราจะทำอย่างไร ในการย้ายของที่อยู่บนแพลตฟอร์มโบราณย้ายไปอยู่บนแพลตฟอร์มใหม่ โดยที่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่ยังต้องทำงานอยู่

แล้วเมื่อย้ายไปแล้วจะต้องเป็นการทำงานที่ดีขึ้น และมีเวลาการจัดการที่มากขึ้นกว่าเดิม ความท้าทายของทั้ง 2 อย่างก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นเราก็จะมีทีมที่แยกกันทำอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นทักษะที่แตกต่างกัน

โมเดลของการเปลี่ยนให้องค์กรใหญ่อย่าง ‘แสนสิริ’ กลายเป็นบริษัทดิจิทัล ที่ใช้ Aiในทุกขั้นตอนการทำงาน สามารถประยุกต์ใช้ได้กับบริษัทแบบดั้งเดิมได้ทั้งหมด ซึ่งเรามีลูกค้า 2 แบบ ทั้งแบบบริษัทดิจิทัล Digital Business ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดมาบนเทคโนโลยีอยู่แล้ว

กลุ่มนี้ก็จะสามารถพัฒนาในส่วนของนวัตกรรมต่อเนื่องได้เลยทันที และอีกกลุ่มที่เป็น Traditional Business ทั้งกลุ่มธนาคาร บริษัทประกัน ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทโทรคมนาคม กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก็จะต้องทำทั้ง 2 อย่าง ทั้งนวัตกรรมและการย้าย

แต่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเลือกทำ นวัตกรรมก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้ลูกค้าได้ชัดเจน ซึ่งก็จะสามารถทำได้เร็ว แล้วในปัจจุบันผู้บริหารที่เมื่อ 2-3 ปีก่อนยังมีความกังวลอยู่ในเรื่องของเทคโนโลยี ก็มีความกังวลน้อยลง

มีความมั่นใจและสามารถเข้าใจในไอเดียแบบดิจิทัลมากขึ้น เนื่องจากเริ่มเห็นผลจากการทำนวัตกรรมเข้ามาช่วยลดต้นทุนในปีก่อนหน้า ดีกว่าเดิม ถูกกว่าเดิม และมีความปลอดภัยมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น บริษัทต่างๆก็จะเริ่มขยับขยายและมองเรื่องของข้อมูลเก่าๆที่เก็บมาตลอดหลายสิบปีแต่มีคุณประโยชน์ต่ำๆ ในการย้ายเข้าสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น องค์กรส่วนใหญ่ก็จะเป็นลักษณะเช่นนี้ ซึ่งไม่ต่างจากการเปลี่ยนแปลงของแสนสิริ ที่ตั้งเป้าในการเดินหน้าสู่ Ai Company นั่นเอง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท อเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด

Related Posts