AWS เปิดบ้านเฉลยแนวคิดทางธุรกิจ สู่การปรับคัวและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล พร้อมแนะแนวทางการปรับตัวธุรกิจด้วยปรัชญาการสร้างนวัตกรรม การจัดการองค์กร ตลอดจนแนวคิดการบริหารทีมงานให้ประสบความสำเร็จจนสามารถผลักดันบริการด้านไอทีขึ้นสู่ระบบคลาวด์เป็นผลสำเร็จ
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AWS เปิดเผยว่า ทุกท่านเข้าใจว่าเราเป็น บริษัทเทคโนโลยี ซึ่งยุคเริ่มต้นลูกค้ากลุ่มแรกๆของเราล้วนเป็นสตาร์ทอัพ ทั้งหมดล้วนเป็นบริษัทที่เข้ามาดิสรัปต์บริษัทขนาดใหญ่ ทำให้เราต้องหันมามองว่า บริษัทเหล่านั้นสามารถพัฒนาและสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ทำให้บริษัทใหญ่ๆเริ่มเข้ามาใช้บริการกับเรา
AWS เกิดขึ้นจากการผสานวัฒนธรรมเข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อลูกค้าตลอดเวลา ซึ่งเราไม่ได้สร้างเฉพาะประสบการณ์ลูกค้าใหม่ๆเพียงแค่บนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีวิธีคิดที่จะผสานและเปลี่ยนแปลงความน่าเบื่อของร้านค้าให้กลับมาเป็นประสบการณ์ที่ดีด้วย
เราเติบโตจากร้านหนังสือออนไลน์ที่เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่ต้องจัดส่งในปริมาณมาก เราต้องใช้คลังสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งมีต้นทุนที่สูง วันนี้เราเริ่มเปลี่ยนแนวคิดใช้โรบอตเข้าไปถึงชั้นวางสินค้าด้วย AiและML เพื่อคำนวนหาที่ว่าง ด้วยแนวคิดของการทำให้ชั้นวางเข้ามาหาคน ทำให้เราสามารถส่งของได้เร็วขึ้น จนสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ ภายในการส่ง 1 ชั่วโมง
เราเชื่อว่านวัตกรรมจะต้องเข้าไปอยู่ในธรรมชาติที่เราจะต้องคิดทุกวัน แม้ว่านวัตกรรมจะมีหลายรูปแบบ แต่นวัตกรรมที่ดีที่สุดสำหรับ AWS คือนวัตกรรมที่สามารถสร้างให้ความฝันหรือไอเดียของลูกค้า ไปสู่การสร้างนวัตกรรมของตัวเองได้อย่างประสบความสำเร็จ
“ทุกอย่างเริ่มที่ลูกค้า” ครั้งแรกของการเข้าระดมทุนในตลาด ราวปี 1997 จดหมายฉบับแรก ของเจฟฟ์ เบซอส ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Amazon.com Inc มีการกล่าวถึง Day1 ทำให้เกิดเป็นแนวคิดพันธสัญญาของเรา ที่จะทำให้ทุกวันเหมือนวันทำธุรกิจวันแรกเสมอ ด้วยความตั้งใจที่จะผสานนวัตกรรมให้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ด้วยแนวคิดเช่นนี้ทำให้เกิด คีย์ของความสำเร็จ 4 ส่วนที่สำคัญ
- Customer obsession ทุกอย่างต้องเริ่มที่ลูกค้าเสมอ
- Long Term Tginking ต้องคิดระยะยาว เพื่อสร้างความสำเร็จ
- Willing to fail ต้องพร้อมที่จะเฟลล์หรือล้มเหลว เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเสมอ
- Willing to be misunderstood ต้องพร้อมที่จะถูกเข้าใจผิด จากการที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมในอนาคต
และทำให้เกิดแนวคิดของการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นทุกวัน โดยเรามีวิธีการจัดการด้วยรูปแบบที่สอดคล้องกัน 4 ส่วนสำคัญ
1.วิธีการ ซึ่งเราจะสร้างรูปแบบย้อนกลับก่อนการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาจริง เราใช้การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ก่อนที่จะสร้างนวัตกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายบนพื้นฐานของความต้องการจริงที่เกิดขึ้น
2.สถาปัตยกรรม วันนี้เราสนับสนุนให้คนคิด ลงมือทำได้อย่างสะดวกที่สุด เราพยายามสร้างเครื่องมือที่ไม่ต่างจากการต่อเลโก้ จากไอเดีย สู่ความสำเร็จ ภายใต้แพลตฟอร์มที่จัดการต่อไอเดียแบบง่ายๆ ซึ่งสามารถทำให้ไอเดียนั้นๆเกิดขึ้นได้จริง
3.วัฒนธรรม สิ่งนี้เป็นหัวใจขององค์กรที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นผู้ประกอบการของตัวพนักงานเอง เราสร้างวัฒนธรรมให้กับองค์กร ภายใต้ความร่วมมือ โดยไม่ได้มองว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นเรื่องที่ถูกตลอดไป ในอนาคตอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดและเราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอ แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนให้คนเห็นต่างและใช้ดาต้าเข้ามาตัดสิน แต่ท้ายที่สุดจะต้องพร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกันจากความต่างนั้นๆ
4.องค์กร การจัดทีมของเราจะเป็นขนาดเล็กเพื่อความคล่องตัว ด้วยแนวคิดของ “ทีมพิซว่า 2 ถาด” หมายถึงขนาดของทีมจะเพียงพอแค่กินพิซซ่า 2 ถาดเพียงพอเท่านั้น ซึ่งโดยปกติก็จะราว 4-10 คนเท่านั้น เนื่องจากทีมที่ใหญ่จะเพิ่มความล่าช้าเป็นทวีคูณ การสร้างทีมเพิ่มอีก 2 ถาดมาขนานการทำงานกัน ทำให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วกว่าการขยายถาดพิซซ่าให้กับคนที่เพิ่มในทีมเกินกว่า 10 คน
จดหมายของเจฟฟ์ เบซอส ถึงผู้ถือหุ้นในราวปี 2015 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า AWS มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้จากความล้มเหลว ความท้าทายนี้ทำให้เกิด AWS ซึ่งเป็นการแยกแผนกนวัตกรรมของบริษัท ออกมาเป็น AWS เป็นการดึงระบบไอทีของทั้งโลกให้ไปอยู่บนคลาวด์ แน่นอนว่าถูกโจมตีจากสื่อและนักลงทุนอย่างหนักในช่วงแรกๆ
ท้ายที่สุดก็สามารถสร้าง AWS ให้กลายมาเป็นทุกวันนี้ด้วยรายได้ในปี 2018 กว่า 2.56 หมื่นล้านเหรียญ และมีรายได้เติบโตขึ้นทุกปี ขณะที่ Amazon.com Inc ในปี 2018 มีรายได้กว่า 2.3289 แสนล้านเหรียญ นับจากวันแรกในปี 2015 ของการปรับตัวเข้าสู่บริการทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบที่มีรายได้อยู่เพียง 1.07 แสนล้านเหรียญเท่านั้น ขณะที่ปี 2004 ซึ่งเป็นปีแรกของการเริ่มต้น อะเมซอน มีรายได้อยู่ที่ราว 6.92 พันล้านเหรียญ
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง