เร้ดแฮท ชี้เอเชียแปซิฟิกรับนวัตกรรมเร็วพร้อมเปิด Labs รับไอเดียใหม่

เร้ดแฮท ชี้เอเชียแปซิฟิกรับนวัตกรรมเร็วพร้อมเปิด Labs รับไอเดียใหม่
เร้ดแฮท เปิด Open Innovation Labs ในเอเชียแปซิฟิก ณ สิงคโปร์ หลังเห็นแนวโน้มการรับนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยังมีกลุ่มสตาร์ทอัพเกิดขึ้นมากมาย เผยเป็นห้องแล็บส์เสมือนที่ลูกค้าสามารถเข้ามาสร้างสรรค์นวัตกรรมได้จากทุกหนทุกแห่ง บนพื้นฐานของโอเพนซอร์สคอมมิวนิตี้
นอกจากแล็บส์ที่สิงคโปร์แล้ว เร้ดแฮทยังมี Red Hat Open Innovation Labs ตั้งอยู่ที่บอสตันและลอนดอน โดย Red Hat Innovation Labs เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความสนใจในการนำความเชี่ยวชาญด้านโอเพนซอร์สของเร้ดแฮท ไปปรับใช้จัดการกับการดำเนินธุรกิจ สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว ยืดหยุ่น และมีความปลอดภัยมากขึ้น
เดเมียน วอง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคอาเซียน เร้ดแฮท กล่าวว่า สำหรับในส่วนของ Open Innovation Labs นั้น ลูกค้าสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของเร้ดแฮท ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนทำงานอยู่ในห้องแล็บส์จริงๆ หรือป๊อป-อัพ แล็บส์ ที่เรียกใช้งานได้ทันที ณ สำนักงานของลูกค้า
การเปิดแล็บส์แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สิงคโปร์นั้น เนื่องจากมองว่าองค์กรในภูมิภาคนี้มีการตอบรับนวัตกรรมได้อยางรวดเร็ว รวมไปถึงการเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเปิดแล็บส์ที่นี่จะเป็นเสมือนการรวบผู้คน วิธีการ และเทคโนโลยี สำหรับลูกค้า เพื่อกระตุ้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่และแลกเปลี่ยนความรู้และการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
“ภายในแล็บส์จะประกอบไปด้วยคอมมูนิตี ที่จะมีโปรเจ็กต์จากทั่วโลกในส่วนของโอเพ่นส์ซอร์สรวบรวมอยู่ที่นี่ ซึ่งสมาชิกจะสามารถเข้ามาเป็นนักพัฒนา รวมไปถึงแก้ปัญหาร่วมกัน คุยเรื่องโอเพ่นสแตนดาร์ด การเปิดนวัตกรรมใหม่ๆ แชร์ความคิดสร้างสรรค์ เพราะทุกสิ่งที่นำมาอยู่ในนี้ต้องเป็นการโอเพ่นส์
ซึ่งลูกค้าจะสามารถใช้ไมโครเซอร์วิส ทำงานกับคอนเทนเนอร์ต่างๆ ได้ และพัฒนาผ่าน DevOps ทั้งสภาพแวดล้อมแบบกายภาพทั่วไป บนระบบคลาวด์ และโมบาย เพื่อให้สามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังรองรับความต้องการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น”
เดเมียน กล่าวว่า สำหรับธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกำลังเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรม และบริษัทหลายแห่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและสร้างประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นให้แก่ลูกค้า เร้ดแฮทจึงได้เปิด Red Hat Open Innovation Labs ในภูมิภาคนี้ เพื่อให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้การกระตุ้นจากบรรดาสมาชิกที่ทำให้สมาชิกเกิดแรงหลักดันที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ
“การสร้างขีดความสามารถในการทำธุรกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ นั้น ก็จะมีส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ แต่อีกส่วนหนึ่งก็ไม่สำเร็จ เพราะกลัวว่าจะเกิดความเสี่ยง ทำให้ตอบรับนวัตกรรมใหม่ๆ ช้า และสุดท้ายธุรกิจก็จะหายไป โดยผลสำรวจของการ์ทเนอร์พบว่า 91% รู้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจภายใน 2 ปี ส่วนอีก 59% บอกว่าคนในองค์กรรู้ว่าธุรกิจจะเปลี่ยนแปลง แต่องค์กรยังไม่พร้อม”
ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลกำลังเปลี่ยนโฉมภาคอุตสาหกรรม องค์กรทุกขนาดในทุกภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาทบทวนแนวทางการสร้างนวัตกรรมของตนเองใหม่ และทบทวนว่าเทคโนโลยีจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้อย่างไร
Red Hat Open Innovation Labs การทำงานที่สามารถเปิดใช้งานได้ทุกที่
พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เทคโนโลยี วิธีการใช้งาน และมีทักษะต่างๆ เพื่อผลักดันการสร้างสรรค์ทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ผ่านพื้นฐานของโอเพนซอร์สคอมมิวนิตี้ ดังนั้นลูกค้าสามารถนำคำปรึกษาและเทคโนโลยีมาใช้ออกแบบและพัฒนาโซลูชันต่างๆ เพื่อปรับปรุงแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย
สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันสถาปัตยกรรม รวมถึงฟีเจอร์สำหรับโมบาย ระบบคลาวด์ ไมโครเซอร์วิส และอื่นๆ ได้มากมาย ด้วยการจัดการกับปัญหาที่แท้จริงทางธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น ผ่านการใช้ push button infrastructure ของเร้ดแฮท และสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่เป็นแบบอัตโนมัติต่างๆ
“ธุรกิจยุคนี้ต้องกล้าที่จะเปลี่ยน ธุรกิจที่ไม่กล้าลงทุนนวัตกรรมใหม่ๆจะ ล่าช้าและเสียโอกาส และบริษัทที่ประสบความสำเร็จจะนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรมากว่าที่จะใช้เอาท์ซอร์ส เป้าหมายของแลปคือ ลูกค้าสามารถเข้าถึงนวัตกรรมของเรดแฮทได้จากข้างนอก ช่วยสร้างความตื่นตัวภายในคอมมูนิตี้ของเรดแฮท ในการพัฒนานวัตกรรม สามารถเข้ามาคิดค้นได้และนำไปพัฒนาต่อที่องค์กรได้”

Related Posts