ไต้หวัน โชว์ศักยภาพโรงงานอัจฉริยะ พร้อมดันประเทศไทย

ไต้หวัน โชว์ศักยภาพโรงงานอัจฉริยะ พร้อมดันประเทศไทย

ไต้หวัน ขนเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ จัดโชว์ในงาน METALEX 2018 จัดเต็มเทคโนโลยีเพื่อการสร้างโรงงานอัจฉริยะ ทั้งโรบอท อุปกรณ์การผลิตแบบไฮเทค เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องจักร IIoT ตลอดจนโซลูชั่นควบคุมการผลิตแบบครบวงจร พร้อมดันไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยวิสกรรมเทคโนโลยี เปรยความร่วมมือรัฐส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

นายเจสัน สวี่ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นความตั้งใจของกลุ่มภาคการผลิตของประเทศไต้หวันที่ต้องการ นำเทคโนโลยีการผลิตเข้ามาส่งเสริมประเทสไทย ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0

โดยภายใน พาวิลเลี่ยนประเทศไต้หวัน จะมีการจัดแสดงเทคโนโลยีที่รองรับการสร้างโรงงานอัจฉริยะ เพื่อต่อยอดโรงงานดั้งเดิมให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ฮับภาคการผลิตของภูมิภาค

อีกทั้งยังมีในส่วนของระบบอัตโนมัติ ที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการผลิต ลดจำนวนแรงแรงบุคคลที่นับวันยิ่งขาดแคลนมากขึ้น ซึ่งเป็นเพียงตัวเลือกของภาคการผลิต ที่สามารถนำเทคโนโลยีเข้าไปทดแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศไต้หวันมาแล้ว

นอกจากนี้ เรายังประกาศเจตนารมณ์ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทย สามารถเดินหน้าเข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายหลักของประเทศที่มุ่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเราพร้อมให้ความร่วมมือภาครัฐ ในการเป็นหนึ่งของผู้สนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีภาคการผลิตให้กับประเทศไทย

ไต้หวัน

ซึ่งโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยยังมีอยู่มาก นับตั้งแต่นโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมของภาครัญ โครงการสร้างพื้นฐาน ทำเลที่ตั้งของการขนส่งสู่ภูมิภาค ตลอดจนความร่วมมือของภาคเอกชน ที่ร่วมกันส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศน์ที่สอดรับการเติบโตในอนาคต

ด้านตัวแทนจากบริษัท Advantech เปิดเผยว่า การก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 นั้น มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน นั่นก็คือ 1. Smart Factory ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรกของการปรับเปลี่ยนโรงงาน ให้มีการใช้งานเครื่องจักรที่มีความทันสมัยมากขึ้น ปรับเปลี่ยนการใช้แรงงานคนสู่เครื่องจักกล หรือโรบอทมากยิ่งขึ้น

และต่อยอดไปสู่สู่ระบบ Automation หรือการพัฒนาให้เกิดระบบอัตโนมัติในการผลิตต่อไป เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองการผลิตได้ตามปริมาณความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

  1. Machine Connected การเชื่อมต่อเครื่องจักรระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรและเครื่องจักร โดยที่คนเราไม่ต้องโปรแกรมหรือสั่งการแบบเป็นขั้นตอนอีกต่อไป โดยเมื่อเราต้องการสินค้าชิ้นใด ระบบจะทำงานแบบอัตโนมัติจวบจนสินค้านั้นจัดส่งให้ผู้ซื้อได้อย่างสมบูรณ์

ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้การสื่อสาร และเชื่อมต่อด้วยรูปแบบของ AIoT ซึ่งรองรับการใช้งานผ่านระบบคลาวด์ที่มีความปลอดภัย โดยบริษัทของเรามีแพลตฟอร์ม WISE-PaaS 3.0 ซึ่งเป็นโซลูชั่นการจัดการที่พร้อมสมบูรณ์ รองรับการผลิตสินค้าที่หลากหลาย พร้อมการปรับแต่งที่ยืดหยุ่น ด้วยการเพิ่ม/ลด แอปพลิเคชั่นได้มากถึง 6 แอปพลิเคชั่นภายในโซลูชั่นเดียว

  1. การผสนผสานการทำงานระหว่างเครื่องจักรและโซลูชั่นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเครื่องจักรและโซลูชั่นการควบคุม ต้องทำงานสอดรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการผลิตที่รวดเร็วและแม่นยำ ตอบสนองความต้องการสินค้าของตลาดได้อย่างทันท่วงที

4.Big Data ซึ่งเป็นขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จากทุกส่วนของภาคการผลิตและด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และเอื้อให้เกิดการผลิตอย่างชาญฉลาด ด้วยการดึงเทคโนโลยีในทุกขั้นตอนมาผสานร่วมกัน

โดยขั้นตอนนี้จะช่วยให้เครื่องจักรสามารถคิดและสร้างสรค์ การผลิตได้มากขึ้น แต่ยังคงตอบสนองนโยบายการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก การใช้แรงงานคน ระยะเวลาการผลิตที่น้อยลง หรือแม้กระทั่งการผลิตตามออร์เดอร์ที่ไม่จำกัดจำนวนการผลิตอย่างในอดีต

นอกจากนี้สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวันประจำประเทศไทยหรือ TAITRA และผู้ผลิตอัจฉริยะ 20 แห่งจากเวที Taiwan Excellence จะนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นส์ล้ำยุคที่พาวิลเลียน Taiwan Excellence ในนิทรรศการ METALEX 2018

ไต้หวัน
ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีไฮเทค จาก เครือ Hiwin Mikrosystem

โดยบริษัทที่เข้าร่วมงานนี้ยังรวมถึงผู้ผลิตชั้นนำ ที่จะนำเสนออุปกรณ์อุตสาหกรรมในหลากหลายภาคส่วน ตั้งแต่ส่วนควบคุมเครื่องจักรแบบ CNC ที่ล้ำสมัย เครื่องเจียระไนและลับคมตัด และเครื่องปั๊มชิ้นงาน ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในรางสไลด์ลิเนียร์ไกด์ เครื่องตัด และเครื่องจับเครื่องมือกัดกลึง

งานนี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการและโรงงานผลิตได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญๆ ในด้านการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้คำปรึกษาเรื่องเครื่องจักรกลคุณภาพสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตของไต้หวันมักเป็นที่ต้องการและเป็นที่รู้จักเป็นอย่างมากในบรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เพราะมีคุณภาพดีและนวัตกรรมล้ำสมัย

ทั้งนี้รัฐบาลไต้หวันมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรอัจฉริยะ โดยมีจุดประสงค์ให้ไต้หวันเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกของเครื่องจักรอัจฉริยะ และได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมยุค 4.0 อุตสาหกรรมยุค 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ หมายถึงการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการผลิตอัจฉริยะและการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น ระบบอัตโนมัติในโรงงานระดับสูง และการใช้งาน Internet of Things

ไฮไลท์เด่นๆ จากพาวิลเลียน Taiwan Excellence
  • โซลูชั่นอุตสาหกรรมอัตโนมัติ 4.0
  • เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะ
  • TOYO desktop robot
  • โซลูชั่นส์การซ่อมบำรุงอุตสาหกรรม
  • ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีไฮเทค
  • หัวจับประเภท Angle Head Holder สำหรับเครื่องจักรสองด้าน
  • หุ่นยนต์ TM-5 Robot หุ่นยนต์ที่คิดและทำงานได้เหมือนมนุษย์
ไต้หวัน
หุ่นยนต์ TM-5 Robot จาก บจก. Techman Robot

ประเทศไทยกำลังพัฒนานโยบาย Thailand 4.0 ในขณะที่ไต้หวันกำลังผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound policy) ทั้ง2 ประเทศจึงสามารถร่วมมือกันในด้าน การพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อวกาศ เรือดำน้ำ อุปกรณ์การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ เศรษฐกิจดิจิทัล การแพทย์ และเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว

และยังมีผลิตภัณฑ์ก้าวล้ำนำสมัยอีกเป็นจำนวนมาก ณ พาวิลเลียน Taiwan Excellence ในงาน METALEX 2018 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ณ ไบเทค บางนา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป

Related Posts