
เอบีมคอนซัลติ้งชี้การจัดงาน Digital Transformation Day ครั้งแรกในไทย เพราะเป็นประเทศที่เอบีมให้ความสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ หลังการดำเนินธุรกิจของเอบีมในไทยมีการเติบโตประมาณ 200% ภายใน 5 ปีที่ผ่านมา และได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่มีรายได้เติบโตสูงสุดของกลุ่มธุรกิจเอบีมใน 12 ประเทศทั่วโลก เผยภายในงานมีการจัดแสดง 4 ด้านหลักของการก้าวสู่เส้นทางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน การจัดแสดง พร้อมการสาธิตและการสัมมนา เพื่อบรรยายให้เข้าใจแต่ละโซลูชัน ในการดิจิทัลทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้เร็วขึ้น ด้วยงบการลงทุนที่น้อยลง
ก่อนหน้านี้ เอบีม คอนซัลติ้ง สำนักงานใหญ่ ได้เดินสายจัดงานดังกล่าวมาแล้วที่มาเลเซีย โอซาก้า อินโดนีเซีย และนาโกย่า ซึ่งเอบีมเล็งเห็นถึงความสำคัญที่องค์กรและอุตสาหกรรมหันมาให้ความสนใจเรื่องดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน งานนี้จึงจัดขึ้นเพื่อนำเสนอเทคโนโลยี ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แนวความคิด โครงการใหม่ ๆ และกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งจับจากเทรนด์ล่าสุดในการทรานส์ฟอร์มของแต่ละอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทย
นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ จัดงาน Digital Transformation Day เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและนวัตกรรมล่าสุด รวมทั้งกรณีศึกษา เทรนด์การทรานส์ฟอร์มของอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทย เช่น ธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมรถยนต์ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ
“งาน Digital Transformation Day ที่จัดครั้งแรกในประเทศไทย เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดหลักของ 38 สำนักงาน ใน 12 ประเทศทั่วโลกของเอบีม ทั้งนี้ เอบีมในประเทศไทยได้ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาในกับบริษัทในประเทศไทยเป็นปีที่ 14 ในปีนี้ โดยได้ขยายสำนักงาน ควบคู่กับการพัฒนาความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ซึ่งเอบีม ประเทศไทย ได้สร้างรายได้เติบโตสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มบริษัทเอบีมทั่วโลก ต่อเนื่องจากในปี 2556 มีรายได้ 367 ล้านบาท เพิ่มเป็น 702 ล้านบาทในปี 2561 หรือมีอัตราเติบโตประมาณ 200% นอกจากนี้ ในปี 2562 นี้ เราคาดว่ามีรายได้จะเติบโตถึง 906 ล้านบาท”
ในงานดังกล่าวมีการจัดแสดง 4 ด้านหลัก ๆ ของการก้าวสู่เส้นทางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน พร้อมการสาธิต (Demo) และการสัมมนา ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับด้านการเปลี่ยนแปลงธุรกิจอุตสาหกรรม (Industry Transformation) ด้านระบบออโตเมชัน (Automation) ด้านกระบวนการวิเคราะห์ (Analytic) และด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยมี 11 บูท นำเสนอโซลูชันของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการ ทรานส์ฟอร์มธุรกิจที่ใช้เร็วขึ้น ด้วยงบการลงทุนที่น้อยลง
อาทิ สมาร์ทไฟแนนซ์โซลูชัน ที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อยกระดับกระบวนการทางการเงินที่ทันสมัย โซลูชัน SAP Industry Template บนแพลตฟอร์มคลาวด์ โซลูชันด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Digital Transformation) และการบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร (Talent Management) อีกทั้งการสาธิต แนะนำเทคโนโลยีกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation – RPA) และโซลูชันการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์
ด้าน Credit Scoring & AI Leading Targeting สำหรับการปรับปรุงการขาย การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพ “การไหล” ของ “สิ่งต่าง ๆ” โดยใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม เพื่อใช้ในการทำการตลาด (Spatial Marketing) การสาธิตและอธิบายขั้นตอนการผลิต ด้วยเครื่องจักรโรงงานขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในการเพิ่มผลิตภาพ (Data Driven Manufacturing with miniature factory machine with IoT & AI demo for productivity) และ ดิจิทัล ซับพลายเชน เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ลูกค้าพร้อมกับการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด
นอกจากนี้ ยังมีการจัดสัมมนาย่อยตามความสนใจของผู้เข้าร่วมงานในหลากหลายหัวข้อ เช่น แกนหลักด้านดิจิทัล (Digital Core) ได้แก่ Smart Finance และ ABeam Cloud โรงงานดิจิทัล (Digital Factory): คุณภาพการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดิจิทัล บีไอ (Digital BI): Analytics และ Big Data, ดิจิทัล ซับพลายเชน และโชว์เคสการทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรม เป็นต้น
นายฮาระ เปิดเผยว่า จากการสัมมนาเกี่ยวกับเส้นทางของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าให้กับลูกค้าโดยใช้การเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับดิจิทัลไลซ์เซชันเป็นสิ่งที่เร่งด่วนสำหรับตลาดในประเทศไทยที่กำลังได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เอบีมพบว่าปัจจุบันทุกองค์กรต่างตระหนักเกี่ยวกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน โดยจะเห็นว่ามีการรวมกลยุทธ์ด้านไอทีเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นกลยุทธ์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน รวมทั้งมีการพิจารณานำเทคโนโลยีมาช่วยและเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งยัง มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำในความพยายามทางด้านดิจิทัล (Leadership of digital efforts) และวัฒนธรรม ดิจิทัล (Digital culture) รวมถึงการรับรู้ ซึ่งกลายมาเป็นเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แม้จะเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการตระหนักถึงกลยุทธ์มาก่อน
“ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันทางธุรกิจ บุคลากร เป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ อย่างไรก็ตามการทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัลในองค์กรใด ๆ ไม่เพียงแต่ต้องการเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการจัดการเชิงกลยุทธ์ ความเป็นผู้นำ กระบวนการทำงาน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องบูรณาการในทิศทางเดียวกัน เพื่อความยืดหยุ่นในการทำงาน ความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ควบคู่กับการสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรจะต้องพิจารณาสถานการณ์ในภาพรวมและจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ”
ทั้งนี้งาน Digital Transformation Day ดังกล่าวมีลูกค้าเข้าร่วมงานกว่า 130 ราย โดยผู้เข้าร่วมงานมีความพอใจกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากงานเป็นอันมาก โดยหลังจากการจัดงานดังกล่าวที่ประเทศไทย จะจัดงาน Digital Transformation Day ครั้งต่อไปที่ สิงคโปร์ โตเกียว และจีน ภายในเดือนธันวาคม 2562 นี้