มีผู้ติดตามแค่ร้อยก็เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ Tellscore ได้?

มีผู้ติดตามแค่ร้อยก็เป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ Tellscore ได้?
Tellscore
สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscore

โลกออนไลน์ใครว่าหาเงินยาก วันนี้ TheReporterAsia ได้มีโอกาสพูดคุยกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม ที่เป็นสื่อกลางด้านอินฟลูเอ็นเซอร์กับผู้สปอนเซอร์ ซึ่งยืนยันว่าบัญชีผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งหลายที่มีผู้ติดตามตั้งแต่หลักร้อยขึ้นไปสามารถสร้างรายได้จากการสปอนเซอร์ได้แล้วจริง!!!! ว้าว งานนี้เราต้องไม่พลาดที่จะมาทำความรู้จักกับผู้บริหารแพลตฟอร์มที่ว่านี้ซึ่งนั่นก็คือ สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscore นั่นเอง

สุวิตา จรัญวงศ์ เล่าว่าวันนี้การทำตลาดของธุรกิจนั้น เริ่มปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบคอนเทนต์มาเก็ตติ้งมากขึ้น ทั้งในส่วนของแบนเนอร์ที่สร้างสรรค์ การใช้ผู้คนบนโลกออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ และมีที่มาที่ไปชัดเจน สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตามได้อย่างเห็นผล และที่สำคัญการวัดผลทางการตลาดที่จะต้องใช้เครื่องมือดิจิทัลเข้ามาวิเคราะห์ความคุ้มค่าของผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

แต่ความยุ่งยากของการเลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศของเอเจนซี่ที่ผ่านมา ต้องใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบรายบุคคล ซึ่งมีความยากลำบากพอสมควร ขณะที่การวัดผลก็ทำได้ยากเนื่องจากต้องติตดามผลเองจากแพลตฟอร์มที่อินฟลูเอ็นเซอร์นั้นๆ อยู่ แน่นอนว่าความเสี่ยงของการเลือกใช้แล้วไม่ปังกับแคมเปญที่ต้องจ่ายออกไป ส่งผลให้ความคุ้มค่าลดน้อยลง ก็เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาดังกล่าวทำให้ Tellscore จัดทำแพลตฟอร์มกลางที่จะเข้ามาตอบโจทย์ด้าน Influencer Marketing ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทั้งเอเจนซี่และอินฟลูเอ็นเซอร์สามารถเข้ามาใช้งานได้ฟรี โดยจะมีเครื่องมือให้เข้าถึงมากมาย ทั้งในส่วนของระบบการคัดสรรค์อินฟลูเอ็นเซอร์ที่ตรงกับงานที่ต้องการด้วยระบบเอไอ(ปัญญาประดิษฐ์) การรวบรวมอินฟลูเอ็นเซอร์กว่า 40,000 รายให้เอเจนซี่เลือกใช้ในหลายระดับผู้ติดตาม

นับตั้งแต่ 1. Macro-influencer Thought leaders ที่มีผู้ติดตามราว 100,001 – 1,000,000 Followers  2. Macro-influencer Trendsetters ที่มีผู้ติดตามราว 50,000 – 100,000 Followers 3. Micro-influencer Opinion artists & creators ที่มีผู้ติดตามราว 5,001 – 50,000 Followers 4. Micro-influencer Prosumers & Advocates ที่มีผู้ติดตามราว 3,001 – 5,000 Followers 5. Micro-influencer Consumers ที่มีผู้ติดตามราว 1,000 – 3,000 Followers และ6. Nano-influencer ที่มีผู้ติดตามราว 100 – 1,000 Followers

นอกจากนี้เอเจนซี่ยังสามารถสร้างแบบจำลองแคมเปญเพื่อทดสอบผลลัพธ์ของการเลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์เป้าหมาย เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะได้ล่วงหน้า แล้วนำไปขายแคมเปญให้ลูกค้าเพื่อกลับมาทำจริงในภายหลังได้อย่างสะดวก โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนจ้างอินฟลูเอ็นเซอร์เพื่อทดสอบแคมเปญอีกต่อไป อีกทั้งสถิติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจะถูกเก็บรวบรวมให้ทั้งเอเจนซี่และ อินฟลูเอ็นเซอร์ สามารถเข้าไปดูค่าแบบออแกนิกได้อย่างอิสระ และยังสามารถติดตามความนิยมที่ตัวแบรนด์มีต่ออินฟลูเอ็นเซอร์นั้นได้อย่างละเอียด เพื่อให้อินฟลูเอ็นเซอร์สามารถปรับปรุงการให้บริการเพื่อให้แบรนด์นิยมเลือกใช้มากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่รายได้ที่ดีต่อไปในอนาคต

คอนเทนต์ซื้อจะยังคงน่าเชื่อถือหรือไม่

ประเด็นหลักของการเป็น อินฟลูเอ็นเซอร์ คือความน่าเชื่อถือที่นับว่าเป็นความรับผิดชอบต่อผู้ติตดามที่มีอยู่ ซึ่ง Tellscore ได้ให้ความสำคัญตรงนี้ ทำให้มีการอบรมการแสดงออกที่ดีและจรรยาบรรณของการนำเสนอสินค้า ที่จะต้องบอกชัดเจนว่าเป็นการได้รับสนับสนุนสปอนเซอร์ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และสร้างความผิดหวังให้กับผู้ติตดาม ซึ่งแน่อนว่าก็จะเป็นการส้รางความน่าเชื่อถือให้กับตัวอินฟลูเอ็นเซอร์เองด้วย

และการบอกว่ามีการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ก็ไม่ได้ทำให้ยอดเอนเกจเมนต์ลดลงแต่อย่างใด ซึ่งจากผลการสำรวจของสำนักวิจัย ระบุว่า การมีสปอนเซอร์สนับสนุนก็ไม่ต่างจากการไม่มี เนื่องจากกลุ่มอินฟลูเอ็นเซอร์ขนาดเล็กยังคงมีการนำเสนอที่เป็นธรรมชาติมากพอ ทำให้เกิดความน่าสนใจแบบใกล้ชิดมากกว่าการนำเสนอโดยอินฟลูเอ็นเซอร์ที่โด่งดัง ซึ่งบางครั้งความโด่งดังก็เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่ได้นั่นเอง จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเหล่าไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์นั้นสามารถสร้างยอดขายได้ดีกว่า อินฟลูเอ็นเซอร์ ที่มีความโด่งดังมากซึ่งจะสร้างการรับรู้ให้กับสินค้ามากกว่าเมื่อเทียบกับรายจ่าย

ดังนั้นความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์จะยังคงอยู่ ด้วยไมโครอินฟูเรนเซอร์ก็ยังคงใช้ชื่อของตัวเองในการนำเสนอสินค้าเช่นเดิม และผู้เข้าชมยังรับรู้ว่าเป็นสินค้าที่ได้รับการสนับสนุน แต่ด้วยข้อข้อเท็จจริงที่ว่าหากการรับงานนั้นเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง ตัวไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์เองก็จะเสียชื่อเสียงไปด้วย กลุ่มอินฟลูเอ็นเซอร์เหล่านี้ก็จะไม่กล้าที่จะทิ้งฐานผู้ชมของตนเอง ทำให้คุณภาพของการรับสปอนเซอร์สินค้าที่ตรงจริต ย่อมมีความชัดเจนในการทำที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

แต่สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากกว่า คือ สื่อมวลชน  เนื่องจากวันนี้เรารับรู้กันดีว่ากว่า 70% ของข่าวสารที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ล้วนเป็นข่าวปลอมทั้งสิ้น ซึ่งสำนักข่าว เป็นเพียงเงื่อนไขเดียวที่เข้ามากลั่นกรองว่าข่าวไหนปลอม ข่าวไหนจริง การล้มหายตายจากของสำนักข่าวอย่างที่เรารับรู้กันจึงอาจจะสร้างปัญหา ทำให้เกิดปริมาณข่าวปลอมที่มากขึ้น และที่สำคัญคอนเทนต์ในอนาคตหากสื่อมีจำนวนไม่มากพอ คอนเทนต์ที่จะเกิดขึ้นก็อาจจะถูกควบคุมโดยอำนาจเงินที่ใครมีเยอะก็สามารถซื้อได้ หรือเลือกที่สร้างความนิยมของคอนเทนต์ได้โดยง่าย และที่สุดแล้วก็จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์ที่ลดลง

อินฟลูเอ็นเซอร์เองนั้นก็มีบทบาทเป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ส่งไปยังผู้คน เราจึงต้องมีเงื่อนไขและกำหนดกรอบการนำเสนอที่ชัดเจนให้กับเหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์ในสังกัด ให้มีกรอบการทำงานที่ไม่กลายเป็นสิ่งสกปรกให้กับสังคม ยกตัวอย่างเช่นการโฆษณาเหล้าเบียร์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นข้อห้ามที่จำกัดอยู่ในการโฆษณาผ่านทางสื่อมวลชนเป็นหลัก แต่เราก็นำข้อกำหนดดังกล่าวมาใช้กับ อินฟลูเอ็นเซอร์ ของเราด้วย เพื่อทำให้เกิดการทำงานที่ไม่ขัดแย้งต่อจริยธรรมในอนาคต

Tellscore

อินฟลูเอ็นเซอร์ จะสามารถเข้าสู่แพลตฟอร์มได้อย่างไร

ทั้งนี้แพลตฟอร์ม Tellscore ผู้ที่เป็นนักการตลาดสามารถเข้าใช้แพลตฟอร์มได้ฟรี โดยสามารถเข้าถึงเครื่องมือในการคาดการณ์ผลลัพธ์จากแคมเปญที่จะสร้างขึ้น ทำให้นักการตลาดรู้ล่วงหน้าถึงความสำเร็จและข้อมูลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยอดผู้ติดตามของ อินฟลูเอ็นเซอร์ ที่มีให้เลือกกว่า 40,000 รายในระบบแบบแคตตาล็อกนั้นจะมีความสามารถในการสร้างเอนเกจเมนต์เฉลี่ยที่ราว 10% ของผู้ติดตาม ทำให้นักการตลาดสามารถเลือกใช้และวิเคราะห์ความคุ้มค่าในงบประมาณแคมเปญได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านโมเดลที่สร้างขึ้น

ขณะที่อินฟลูเอ็นเซอร์ที่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มที่นอกจากจะใช้ได้ฟรีเช่นกันแล้ว ยังสามารถเข้าถึงเครื่องมือเรทติ้งของแบรนด์ ที่จะสะท้อนความพึงพอใจของแบรนด์ที่เลือกใช้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อินฟลูเอ็นเซอร์ สามารถพัฒนาและปรับปรุงตัว เพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือยกระดับการทำงานของตนเองให้โด่งดังมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

ซึ่งอินฟลูเอ็นเซอร์ทุกระดับที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100 ผู้ติดตามขึ้นไป สามารถสมัครเข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระ และเมื่อไม่ต้องการเป็นต่อก็สามารถบอกเลิกได้อย่างสะดวก แล้วทาง Tellscore ก็จะทำการลบข้อมูลออกทั้งหมด ตามมาตรฐาน GDPR ที่ทางยุโรปบังคับใช้

โดยขั้นตอนการสมัครนั้นเมื่อกรอกรายละเอียผ่านหน้าเว็บไซต์ https://th.tellscore.com แล้ว ทางทีมงานจะทำการเช็กข้อมูลออนไลน์ของอินฟลูเอ็นเซอร์รายนั้นๆ ย้อนหลัง 30 วัน แล้ววิเคราะห์ออกมา ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะเป็นแบบออแกนิก แล้วทำการติดต่อกลับเพื่อรับทราบเงื่อนไขการสมัคร ก่อนที่จะบรรจุอินฟลูเอ็นเซอร์นั้นเข้าสู่ระบบเพื่อจับคู่สปอนเซอร์ต่อไป ซึ่งในปีนี้เราจะคาดว่าจะมีอินฟลูเอ็นเซอร์เพิ่มขึ้นกว่า 60,000 คน เนื่องจากปัจจุบันมีการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามาวันละ 100 กว่าคน

เรามีการแบ่งประเภทของกลุ่มอินฟูราว 12 สาย เพื่อช่วยให้เอเจนซี่สามารถเข้ามาเลือกใช้งานได้อย่างสะดวก ทั้งในส่วนของ 1.Women, Beauty, Fashion 2.Food, Restaurants, Café 3.Tech, Gadget, Game 4.Design, Art, Decor 5.Investment, Finance, Real Estate 6.Entertainment, Movies, Celebs 7.Motorsports, Cars 8.Health, Sports, Mom & Baby 9.Social News, Variety 10.Travel 11.Lifestyle, Hobby, Cooking, Pets, etc. 12.Gurus, Specialists ซึ่งเรียงลำดับตามความนิยม

ทั้งนี้ เทรนด์ของ O2O (Online to Onground)  เป็นเทรนด์การตลาดของปี 2020 ซึ่งนาโนหรือไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์ สามารถสร้างสถิติเชิญคนเข้าร้านได้อย่างเห็นผล ยกตัวอย่างเช่นการเลเซอร์หน้าใส ที่ทั้งในส่วนของแบรนด์เองก็ได้รับการเชิญชวนอย่างเป็นกันเอง ขณะที่อินฟลูเอ็นเซอร์เองก็ชื่นชอบในการเข้าไปรับบริการ ทำให้งานที่ออกมามีความเป็นธรรมชาติและสร้างแรงดึงดูดผู้ที่สนใจเดินทางเข้าไปที่ร้านมากขึ้น

โดยจากสถิติกว่า 60% ของผู้บริโภค อย่างน้อยแทบจะได้เห็นคอนเทนต์จากอินฟลูเอ็นเซอร์ ก่อนที่จะซื้อสินค้าจริง ซึ่งตัวเลขอีคอมเมิร์ชที่เติบโตขึ้น ก็ส่งผลให้มีการใช้งานอินฟลูเอ็นเซอร์มากขึ้นตาม โดยกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์มนี้คือ กลุ่มอีคอมเมิร์ช และเดลิเวอรี่ เป็นหลัก

เทรนด์ของการใช้อินฟลูเอ็นเซอร์

ปัจจุบันครึ่งหนึ่งของนักการตลาด มีการใช้เครื่องมือที่เป็นการวิเคราะห์เดต้าที่เกิดขึ้น ซึ่งกว่า 70% เคยใช้บริการอินฟลูเอ็นเซอร์มาแล้ว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ขณะที่การเลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์ จะมีการใช้จำนวนอินฟลูเอ็นเซอร์ตามเป้าหมายที่ตรงกลุ่ม

และในปี 2019 กว่า 75% ของนักการตลาดที่มีอยู่ มีการเพิ่มงบประมาณที่จ่ายให้กับอินฟลูเอ็นเซอร์มากขึ้นกว่าปี 2018 แต่ราคาจ้างที่เกิดขึ้น มีอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์ที่เกิดขึ้น โดยมีการจ้างงานนับตั้งแต่ราคา 100-5 ล้านบาท ตามจำนวนสถิติผู้ติดตามทั้งแบบหลักร้อยและผู้ติดตามเป็นหลักล้าน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ได้หมายความว่าผู้ติดตามเยอะจะทำให้สินค้านั้นปังได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะอินฟลูเอ็นเซอร์ที่มีผู้ติดตามน้อย แต่ถ้าออกมาพูดพร้อมกันก็จะทำให้เกิดความสนใจมากยิ่งขึ้นบนโลกออนไลน์ได้เช่นกัน

การเลือกใช้อินฟลูเอ็นเซอร์ขนาดเล็กแต่ปริมาณมาก ก็เป็นเทรนด์การตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้น ตัวอย่างของแคมเปญการติดตั้งพลังงานสะอาด ที่ได้รับผลดีเกินคาด จากการใช้อินฟลูเอ็นเซอร์ทั้งแบบยอดนิยมและไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์กว่า 5,000 คน ทำให้เกิดเอนเกจเมนต์แบบ ออแกนิก ได้กว่า 13% โดยที่เรายังไม่ได้บูทเลย เมื่อเรายิ่งบูทก็ยิ่งสำเร็จ ซึ่งแม้ว่าแคมเปญนี้จะเป็นเพียงการรณรงค์ให้คนสนใจพลังงานสะอาดก็ตาม

อีกทั้งเทรนด์ของอินฟูลเรนเซอร์ที่เกิดขึ้น เริ่มมีการลงลึกเป็นเรื่องราวเฉพาะกลุ่มของแต่ละหมวดหมู่มากขึ้น ทั้งในส่วนของคนเลี้ยงแมว ที่ไม่ได้อยู่ในอินฟูลเรนเซอร์กลุ่มสัตว์ หรือในส่วนของอินฟูลเรนเซอร์การเดินทาง ก็จะเริ่มมีรูปแบบการเดินทางคนเดียวก็เที่ยวได้ ให้เห็นมากขึ้นซึ่งนักการตลาดก็จะต้องปรับตัวให้ทัน

ขณะที่กลยุทธ์การตลาดที่เราจะเห็นในอนาคตจะมีทั้ง 1.กลยุทธ์ช่วงเวลา ซึ่งจะใช้จํานวนผู้ติดตาม เป็นตัวกําหนด ทิศทางของ KPI หรือผลลัพภ์ เช่น  1.1.ผู้ติดตามมาก ที่โดดเด่นด้านการสร้างการรับรู้ (Awareness)จะใช้ Launch แคมเปญสัปดาห์ที่ 1 และ 1.2.ผู้ติดตามน้อย โดดเด่นด้านการเข้าถึง (Engagement) ควรจะ Launch แคมเปญในช่วงสัปดาห์ที่ 2 เป็นต้น

2.กลยุทธ์กองทัพมด ซึ่งโดยหลักการแล้วจะทำงานร่วมกับอินฟลูเอ็นเซอร์ที่มี ผู้ติดตามน้อย (800-5,000) ในจํานวนมากๆ (100 คนขึ้นไป) ในหนึ่งแคมเปญ ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารได้ผลดียิ่งขึ้น กลายเป็นกระแสที่ผู้คนพูดถึงพร้อมๆ กัน 3.Call-to-Action ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองบางอย่าง โดยเราจะต้องสร้าง CTA เช่น ชวนไป ทําอะไร, มีลิงก์ไปดูข้อมูลต่อ, ลงทะเบียน หรือซื้อ สินค้า, promo-code เป็นต้น

Related Posts