5 ขั้นตอนการประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านระบบดิจิทัล

5 ขั้นตอนการประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านระบบดิจิทัล

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)ได้เขียนแนวคิดการดำเนินงานของศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์เรื่องของ “lights-out” ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติที่อาจจะใช้คนน้อยมาก หรือแทบไม่ต้องใช้คนดูแลที่ไซต์งานเลยก็ว่าได้ ช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งแนวคิดดังกล่าว จะหมายถึงการนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานทั้งจากไซต์งานเองก็ตาม และจากระยะไกลเพื่อช่วยให้ศูนย์ข้อมูลดำเนินการผ่านระบบดิจิทัลได้นั่นเอง

แนวคิดของการดำเนินการศูนย์ข้อมูลผ่านระบบดิจิทัล หรือศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะเริ่มมีมาสักระยะหนึ่งแล้ว และการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี IoT ที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกันอย่างครบวงจร ก็ยิ่งทำให้แนวคิดนี้ใกล้ความจริงเข้าไปทุกที และวันนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องวางกลยุทธ์การจัดการระบบเพื่อให้แนวคิดเป็นความจริงขึ้นมาได้

ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ : การผสานคนเข้ากับเทคโนโลยี

การดำเนินการศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะแม้ว่าจะไม่ต้องใช้คนในศูนย์เลย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับคน เพราะที่สุดแล้วจะเป็นการรวมคนเข้ากับเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เทคโนโลยีทั้งหมดเพื่อค้นหาและรวบรวมข้อมูลเพื่อให้คนตัดสินใจได้อย่างถูกต้องที่สุดในยามที่จำเป็น

ปัจจุบัน เรามีผู้บริหารจัดการทรัพยากรสำคัญของศูนย์ข้อมูล ที่คอยดูแลพื้นที่ในโซนสีเทา ที่เป็นระบบโครงสร้างรองรับการทำงานส่วนหลังบ้าน เช่นระบบหรืออุปกรณ์ที่ต้องการกำลังไฟฟ้าทั้งในส่วนของระบบหล่อเย็น ระบบตัดวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และระบบสำรองไฟฟ้า ขณะที่จะมีอีกกลุ่มที่ดูแลการจัดการระบบทั้งหมดที่อยู่ในโซนสีขาวซึ่งเป็นส่วนของกลไกหลักด้านไอที

เมื่อเราก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์ข้อมูลดิจิทัล ระบบปฏิบัติการในส่วนทรัพยากรสำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์บางส่วนจะถูกย้ายไปไว้ที่ศูนย์ควบคุมความเป็นเลิศจากส่วนกลาง (Centralized Centers of Excellence) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถนำความเชี่ยวชาญที่มีไปบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลได้หลายศูนย์ฯ แทนที่จะจัดการอยู่แค่ศูนย์ฯ เดียว จึงช่วยให้ประหยัดต้นทุนและเกิดประสิทธิภาพในการควบคุมสูงสุด

ซึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดของศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ ที่จะช่วยให้ผู้ควบคุมเหล่านี้สามารถสั่งการและควบคุมได้จากระยะไกล โดยที่ไม่ต้องใช้คนเข้าไปเฝ้าในศูนย์อย่างเช่นเคย คืออุปกรณ์ IoT ที่จะช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงานทั้งระบบอย่างละเอียดและต่อเนื่องไปที่ศูนย์การควบคุมส่วนกลาง สู่ระบบโซลูชั่นการจัดการโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูล ระบบการจัดการบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ หรือระบบการจัดการสินทรัพย์องค์กร รวมทั้งระบบการจัดการทรัพยากรลูกค้าที่สำคัญอย่างระบบ ERP

และเมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกรวมไปที่ศูนย์กลาง การนำข้อมูลทั้งหมดเหล่านั้นมาวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยให้สามารถรับทราบแนวโน้มที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจ และคาดการณ์ถึงเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ เพื่อการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถบริหารจัดการการซ่อมบำรุงด้วยการคาดคะเนจากอัตราการเสื่อมของอุปกรณ์ ซึ่งสามารถซ่อมเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างตามสัญญาณที่บ่งบอกถึงความจำเป็น มากกว่าการซ่อมบำรุงตามรอบเวลาที่แจ้งมา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนได้จริง

5 ขั้นตอนสู่การเปลี่ยนเป็นศูนย์ข้อมูลแบบดิจิทัล

จากคำถามที่ว่า แล้วเราจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ศูนย์ข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้สามารถบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลอย่างเบ็ดเสร็จจากที่ไหนของโลกได้อย่างไร ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค มองว่ามีอยู่ 5 ขั้นตอนที่สำคัญดังนี้

1.ประเมินตัวเอง : เป็นขั้นตอนของการประเมินโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันของคุณ และตรวจสอบดูว่าระบบโครงสร้างในปัจจุบันสามารถควบคุมและจัดการด้วยอุปกรณ์หรือระบบอย่างเซ็นเซอร์ หรือการ์ดควบคุมการจัดการเครือข่ายได้หรือไม่ เพื่อจะได้สามารถตรวจสอบการทำงานได้จากระยะไกล หากว่าไม่ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มเข้าไปในส่วนของรายการที่จะต้องอัปเดตต่อไป

2.การเชื่อมต่อ : ขั้นตอนต่อไปเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพทั้งหมดในพื้นที่สีเทา ซึ่งรวมถึงส่วนของชั้นวางอุปกรณ์แรคเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้าสู่ระบบตรวจสอบทั้งในส่วนของระบบ DCIM (Data Center Infrastructure Management), CMMS (Computerized Maintenance Management Systems), ERP (Enterprise Resource Planning) และระบบขั้นสูงอย่าง EAM (Enterprise Asset Management)

3.รวมศูนย์ : ขั้นตอนนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีจากเครื่องจักรทั้งหมดรวมเข้ากับข้อมูลที่มาจากคน เช่นที่ได้จากการตรวจเช็คศูนย์ข้อมูล เพื่อรวมไว้ในแหล่งเก็บข้อมูลส่วนกลางขนาดใหญ่หรือ data lake

4.วิเคราะห์ : ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำข้อมูลที่มีทั้งหมดใน data lake มาวิเคราะห์ เพื่อหาความเชื่อมโยง สาเหตุของความผิดปกติ ตลอดจนคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิด และโอกาสเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการส่วนนี้ ไม่ได้เข้ามาแทนที่มนุษย์ แต่จะเป็นการเข้ามาช่วยเสริมการทำงานและการตัดสินใจของมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมนุษย์ยังจะยังคงต้องตีความผลลัพธ์และฝึกความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

5.ลงมือทำ : ที่สุดแล้วคุณต้องดำเนินการกับผลลัพธ์ที่ได้รับจากการวิเคราะห์ของแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจเรื่องใดก็ได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการอัปเกรด การเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบโครงสร้างโซนสีเทา หรือกระทั่งเพิ่มพลังในการประมวลผลให้สูงขึ้น และอาจจะรวมถึงการจัดงบประมาณเผื่อไว้สำหรับการวางแผน การกำหนดเวลา และการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ

ประโยชน์ของการเปลี่ยนเป็นศูนย์ข้อมูลดิจิทัล

การเปลี่ยนเป็นศูนย์ข้อมูลดิจิทัล ให้ประโยชน์มากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขยายระบบงานได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เนื่องจากใช้คนทำงานน้อยลง  การมีข้อมูลช่วยให้บำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเรื่องเหล่านี้ ในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากการนำเครื่องมือการจัดการที่ดีอย่าง DCIM และความสามารถของปัญญาประดิษฐ์มาช่วยดูแลเรื่องดังกล่าว

ผมพูดเรื่องนี้ได้อย่างมั่นใจ เพราะผมเห็นประโยชน์มากมายจากศูนย์ข้อมูลดิจิทัลที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดำเนินการอยู่ทั่วโลก ในกรณีของเรานั้น เครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากเช่นกัน เพราะเรารวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านั้น เอามารวมไว้ใน data lake แห่งเดียวซึ่งไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน การขยายแหล่งข้อมูลที่พร้อมใช้งานให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้การวิเคราะห์และการคาดการณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ความแม่นยำยิ่งขึ้น เช่นการคาดการณ์แนวโน้มจากข้อมูลดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน หรือดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีระบบโครงสร้างเกือบจะเหมือนกันทุกอย่าง

เรียนรู้วิธีควบคุมพลังของ IoT และ AI เพิ่มเติม

ทั้งนี้รายละเอียดของแนวคิดการเปลี่ยนไปเป็นศูนย์ข้อมูลดิจิทัล สามารถเข้าไปดูได้ที่ White Paper No.237 “Digital Remote Monitoring and How it Changes Data Center Operations and Maintenance.” ที่เป็นข้อเท็จจริงของประโยชน์ที่เกิดขึ้นเมื่อปรับเปลี่ยนสู่ศูนย์ข้อมูลดิจิทัล การควบคุมระยะไกล ตลอดจนวิธีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการศูนย์ข้อมูลดิจิทัลและการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ยังสามารถอ่านรายละเอียดของการเตรียมการที่สำคัญของเรา เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของ IoT และ Ai ผ่านหน้าเว็บเพจนี้ได้อีกด้วย

ผู้เขียน Kevin Lemke, Global Offer Manager for Critical Facility Operations, Schneider Electric

Related Posts