___noise___ 1000

ยูพีเอส เผยการทดสอบส่งของด้วยโดรน ผ่านระบบนำทาง ORION ช่วยประหยัดกว่า 50 ล้านเหรียญต่อปี

ORION

ยูพีเอสเผยความสำเร็จในการทดสอบโดรนที่ปล่อยขึ้นจากหลังคารถยนต์ขนส่งพัสดุภัณฑ์ โดยโดรนสามารถนำส่งพัสดุไปยังบ้านของผู้รับได้ด้วยตัวเองผ่านระบบนำทาง ORION จากนั้นก็จะบินกลับมายังรถ ในขณะที่พนักงานขับรถจัดส่งยังคงสามารถขับรถไปตามเส้นทางเพื่อทำการจัดส่งแยกต่างหากได้ โดยการทดสอบครั้งนี้ทำขึ้นในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา โดยได้ร่วมกับ Workhorse บริษัทผู้ผลิตโดรนและรถบรรทุกพัสดุภัณฑ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในรัฐโอไฮโอ เพื่อนำมาใช้ในการทดสอบครั้งนี้

มาร์ค วอลเลซ รองประธานอาวุโสด้านวิศวกรรมและความยั่งยืนของ ยูพีเอส กล่าวว่า “การทดสอบโดรนในครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าสามารถนำมาใช้ได้จริงในการจัดส่งพัสดุในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่รถยนต์ขนส่งพัสดุภัณฑ์ของเราจะต้องเดินทางเป็นระยะทางหลายไมล์เพื่อการจัดส่งเพียงครั้งเดียว

ลองนึกถึงเส้นทางจัดส่งที่เป็นสามเหลี่ยมที่จุดจัดส่งห่างจากถนนเป็นระยะทางหลายไมล์ การส่งโดรนขึ้นจากรถยนต์ขนส่งพัสดุภัณฑ์เพื่อทำการจัดส่งเพียงแค่ครั้งใดครั้งหนึ่งเหล่านั้นสามารถลดต้นทุนจากระยะทางขับรถหลายไมล์ได้เป็นจำนวนมาก นี่คือก้าวที่สำคัญต่อการส่งเสริมประสิทธิภาพในเครือข่ายของเรา และลดการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ของเราได้ในเวลาเดียวกัน”

ในการคำนวณโดยใช้ ORION (On-Road Integrated Optimization Navigation) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการกำหนดเส้นทางถนนที่เหมาะสมที่สุดในการส่งพัสดุของยูพีเอสพบว่า การลดระยะทางเพียงแค่หนึ่งไมล์ต่อพนักงานขับรถหนึ่งคนต่อวัน ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งปีจะสามารถช่วยยูพีเอสประหยัดเงินได้มากถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ยูพีเอสมีพนักงานขับรถจัดส่งประมาณ 102,000 คนบนท้องถนนทั่วโลกในแต่ละวัน เส้นทางการจัดส่งในพื้นที่ชนบทเป็นพื้นที่ให้บริการที่มีต้นทุนสูงที่สุด ทั้งในส่วนของเวลาที่ต้องเสียไปและค่าใช้จ่ายของยานพาหนะที่ใช้ในแต่ละครั้ง ในการทดสอบนี้ โดรนได้ทำการจัดส่งพัสดุได้หนึ่งครั้ง ขณะที่พนักงานขับรถก็ยังคงขับรถต่อไปตามเส้นทางเพื่อทำการจัดส่งไปยังจุดอื่น นี่คือสิ่งที่ยูพีเอสเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำโดรนมาใช้ในอนาคต”

“พนักงานขับรถคือหน้าตาของบริษัท และยังคงเป็นเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่น่าตื่นเต้นก็คือ ศักยภาพของโดรนที่จะช่วยพนักงานขับรถได้ในหลายๆ จุดตลอดเส้นทาง ช่วยให้พวกเขาประหยัดเวลา และจัดส่งได้ตามความต้องการด้านบริการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า อันเป็นผลจากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ”

บุนเทียม ตัน กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทย เสริมว่า “ในประเทศไทย โดรนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากการนำมาใช้เพื่อถ่ายภาพหรือวีดิโอทางอากาศในการรายงานข่าวหรือถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญ ศักยภาพของการใช้โดรนในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น การทดสอบโดรนของยูพีเอสครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการนำโดรนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ และสะท้อนถึงความเป็นผู้นำของยูพีเอสในการมุ่งใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

ระบบ Workhorse HorseFly™ UAV Delivery และใช้ ORION ในการนำทาง

โดรนที่ใช้ในการทดสอบใช้ระบบ Workhorse HorseFly™ UAV Delivery เป็นโดรนสำหรับจัดส่งประสิทธิภาพสูงที่ใช้เครื่องออคโตค็อปเตอร์ที่ผนวกรวมเข้ากับรถบรรทุกขนส่งที่ใช้ระบบไฟฟ้า/ไฮบริดของ Workhorse ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดรนจะหยุดอยู่บนหลังคาของรถบรรทุกจัดส่ง มีกรงแขวนไว้อยู่ใต้โดรน และกรงจะหย่อนผ่านช่องเข้าไปในรถบรรทุก

ORION

พนักงานขับรถของ UPS ที่อยู่ด้านในจะทำหน้าที่ใส่พัสดุเข้าไปในกรงนั้น แล้วกดปุ่มบนหน้าจอสัมผัส จากนั้นก็ส่งโดรนให้บินขึ้นไปเองบนเส้นทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วเพื่อไปยังที่อยู่จัดส่ง โดรนของ HorseFly ที่ใช้แบตเตอรี่จะชาร์จพลังงานใหม่ขณะที่พักที่หลังคาของรถบรรทุกจัดส่ง โดยที่สามารถบินได้ 30 นาที และรองรับน้ำหนักพัสดุได้สูงสุด 10 ปอนด์

สตีเฟน เบิร์นส์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Workhorse กล่าวว่า “การได้เห็นการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในทางปฏิบัติเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่วิเศษมาก โดรนนี้ทำงานโดยอิสระอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ต้องใช้นักบินควบคุม ด้วยเหตุนี้ พนักงานขับรถจึงสามารถขับรถไปจัดส่งพัสดุยังที่แห่งอื่นๆ ได้อย่างอิสระขณะที่โดรนกำลังบินไปส่งของ”

ทั้งนี้ยูพีเอสได้ทำการทดสอบระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีโรโบติกส์รวมถึงโดรนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว ยูพีเอสได้ทำการจำลองการจัดส่งยาที่มีความต้องการแบบเร่งด่วนจากเมืองเบเวอร์ลี รัฐแมสซาชูเซตส์ไปยังเกาะแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งแอตแลนติกสามไมล์ นอกจากนี้ ยูพีเอสยังใช้โดรนในภารกิจบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ

โดยร่วมมือกับองค์กรที่เป็นบุคคลที่สามเพื่อจัดส่งโลหิตและวัคซีนไปยังพื้นที่ซึ่งเข้าถึงได้ยากในประเทศรวันดา ยูพีเอสยังใช้โดรนในการตรวจสอบสินค้าคงคลังบนชั้นจัดเก็บที่อยู่สูงในโกดังสินค้าของบริษัท

โดยการทดสอบโดรนของยูพีเอสครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโดรนจะสามารถให้ความช่วยเหลือในการทำให้การจัดส่งถึงที่พักอาศัยแบบไม่เร่งด่วนในฐานะส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำวันได้อย่างไร ซึ่งจะต่างจากการทดสอบทั้งหมดที่ผ่านมา

ขณะที่เมื่อปีที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยระบบอากาศยานขนาดเล็กแบบไร้นักบิน ซึ่งอนุญาตให้มีการใช้โดรนบางประเภทเพื่อการพาณิชย์ได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่การขยายการใช้งานโดรนในอนาคต ยูพีเอสเป็นหนึ่งใน 35 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ

เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโดรนของ FAA โดยคณะกรรมการจะให้คำแนะนำแก่ FAA ในประเด็นหลักๆ เกี่ยวกับการผนวกรวมโดรน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วจะเป็นการอนุญาตให้มีการใช้งานโดรนได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ภายในระบบน่านฟ้าของประเทศ (National Air Space System)

banner Sample

Related Posts