ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น เปิดตัว EcoStruxure สถาปัตยกรรม และแพลตฟอร์มเพื่อการจัดการพลังงานอัจฉริยะเจาะตลาดทุกระดับชั้น ชู 3 จุดเด่นสำคัญ 1.เชื่อมต่อได้ทุกสิ่ง 2.ควบคุมได้ดั่งใจ และ 3. วิเคราะห์และแก้ไขระบบได้ทันควัน
พร้อมเปิด Customer Experience Center โชว์เคสนวัตกรรมสถาปัตยกรรมการจัดการพลังงานในอนาคต สาธิตรูปแบบการใช้งานจริง IoT เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้กับทั้งพันธมิตรและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยเฉพาะตามแนวนโยบาย Thailand 4.0
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผสานพลังงาน ระบบการทำงานโดยอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อการนำ IoT เข้ามาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสนองตอบต่อเทรนด์โลกด้าน ความต้องการด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า (More Electric) ที่คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 2 เท่าภายในปี 2040 และยังเป็นการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น (More Digitized) ด้วยจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบที่จะสูงกว่าจำนวนประชากรถึง 20 เท่า
และยังเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้น (More Decarbonized) ด้วยอัตรา 82 เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในอาคาร และมากกว่าครึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่เคยใช้ระบบการจัดการพลังงาน และ 4) การมีศูนย์จ่ายพลังงานที่เพิ่มขึ้น (More Decentralized) โดยภายในปี 2040 ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังการผลิตใหม่จะอยู่ในรูปของพลังงานทดแทน (Renewable)
EcoStruxure แพลตฟอร์มใหม่ด้านจัดการพลังงานทุกระดับ
EcoStruxure™ ช่วยให้โซลูชันด้าน IoT มีความสามารถ 1.ต่อเชื่อมได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกสิ่งให้สามารถสั่งการผ่านระบบซอฟท์แวร์ได้อย่างสะดวกจากทุกที่ 2.เก็บข้อมูลการใช้พลังงานได้อย่างละเอียด พร้อมแสดงผลผ่านหน้าแดชบอร์ดบนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ได้จากทุกที่ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 3. วิเคราะห์ระบบต่างถึงสาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไขจากข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความยั่งยืน โดยตัวแพลตฟอร์มถูกนำไปใช้ในอาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ โรงงานอุตสาหกรรม และในโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Grid) ทั้งในอาคาร และบนคลาวด์ นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับระบบการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ที่ติดตั้งมาล่วงหน้าในทุกระดับของผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ในการควบคุมอุปกรณ์ปลายทาง ในแอพพลิเคชันและการวิเคราะห์ และในการบริการ
นายทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “การเติบโตอย่างมหาศาลของ IoT กำลังพาโลกของเรามุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการแข่งขัน การมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ต้องการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ”
“สำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค IoT ไม่ใช่สิ่งใหม่ ไม่ใช่การปฏิวัติแต่เป็นวิวัฒนาการ เราคือผู้บุกเบิกระบบการควบคุมแบบกระจายแบบดิจิทัล (DCS) ตัวแรกที่เปิดตัวไปในปี 1987 ซึ่งเป็นเวลาหลายปีก่อนที่ World Wide Web จะเกิดขึ้นเสียอีก สำหรับเรา IoT คือการบูรณาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เข้ากับเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เพื่อสร้างการควบคุม และการนำข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจมาต่อยอด ดังนั้น EcoStruxure คือแพลตฟอร์ม สถาปัตยกรรม และแผนกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถใช้ประโยชน์จาก IoT เพื่อการดำเนินงานแบบอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ด้วยความรวดเร็วและง่ายดาย”
“เราพัฒนา EcoStruxure ในฐานะของ IoT แพลตฟอร์มพร้อมสถาปัตยกรรมแบบเปิดที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ลูกค้ามีอยู่เพื่อสร้างความความปลอดภัย เสริมประสิทธิภาพ และความยั่งยืนในการทำงาน แพลตฟอร์มของเราสามารถรองรับได้ทั้งอาคาร โครงข่ายไฟฟ้า อุตสาหกรรม และดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งนับเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานกว่า 70% ของการใช้พลังงานทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยี IoT ที่ทันสมัย EcoStruxure มาพร้อมกับโมบิลิตี้และเทคโนโลยีทางด้านคลาวด์ ระบบการวิเคราะห์ และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์”
นายมาร์ค เพลิทเยร์ ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวว่า “บริษัทได้สร้าง Customer Experience Center ขึ้นเพื่อเป็นโชว์รูมนำเสนอ และสาธิตการทำงาน เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพอย่างชัดเจนของทำงานของ IIoT ว่าจะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สร้างความยั่งยืน ตลอดจนเสริมสมรรถนะของสินทรัพย์ และเพิ่มผลิตผลการทำงานให้แก่ลูกค้าได้อย่างไร โดยโชว์รูมจะแบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก ได้แก่ อาคาร โครงข่ายไฟฟ้าเพื่อเมืองอัจฉริยะ อุตสาหกรรม ดาต้าเซ็นเตอร์ และบ้านที่อยู่อาศัย”
ทั้งนี้ การเปิดตัว EcoStruxure พร้อมกับการเปิดศูนย์ Customer Experience Center เป็นไปเพื่อสอดคล้องกับแนวนโยบาย Thailand 4.0 โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ตั้งเป้าหมายในการให้การสนับสนุนเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งหมดประสบความสำเร็จในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติผ่านการใช้งาน IoT
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ได้รับการกระตุ้นด้วยนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ ที่ต้องการสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนเดินหน้าดำเนินธุรกิจไปในแนวทางเดียวกับเป้าหมายในระดับประเทศด้วยการให้การสนับสนุนทางด้านต่างๆ อาทิ การละเว้นภาษีในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) 6.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) 7.อุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 8.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 9.อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) 10.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเชื่อมั่นว่า EcoStruxure สามารถทำงานได้บนทุกแพลตฟอร์ม และยังเป็นโซลูชันที่ทุกอุตสาหกรรมต่างมองหา โดยตัวแพลตฟอร์มได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทายของลูกค้าในการนำ IoT โซลูชันเข้ามาใช้งานโดยไม่ติดขัด ในราคาที่เหมาะสม และสามารถเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต
“เราคือหนึ่งในไม่กี่บริษัทในอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจด้วยการจับมือร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านพลังงาน เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างก้าวกระโดดของทั้งเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีตลอดเวลา และนอกเหนือจากการสร้างโชว์รูมแล้ว เรายังมีรถ Smart Solution Delivery ซึ่งเป็นเสมือนโชว์รูมเคลื่อนที่ เพื่อให้สามารถนำโซลูชันของเราบางส่วนลงพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำเสนอลูกค้าในเชิงรุก ให้ลูกค้าได้สัมผัสกับเทคโนโลยีของเราได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม” นายมมาร์ค กล่าว
“ในยุคของ Thailand 4.0 การใช้งานทางด้านเทคโนโลยีสามารถช่วยให้ธุรกิจทุกประเภทสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพในการทำงานและผลผลิต ทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนได้ในหลายด้าน รวมถึงต้นทุนด้านเวลาได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่จะก่อให้เกิดผลกำไรให้กับองค์กรซึ่งในทางกลับกันยังสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในที่สุด