___noise___ 1000

CAT ประกาศความพร้อม​ LoraWAN พัฒนาภูเก็ตต้นแบบ​ สมาร์ทซิตี้

CAT จับมือดีอี​พร้อมพันธมิตร​ เร่งดันภูเก็ตต้นแบบ​ สมาร์ทซิตี้​ เปิดตัวโครงข่าย LoRaWAN ภายใต้แบรนด์ “LoRa IoT by CAT” รองรับการพัฒนา​ไอโอที​ทั่วภูเก็ต

ผุดโซลูชั่น​ Smart Tracking สู่ระบบขนส่ง​ เรือท่องเที่ยว​ และสายรัดข้อมือ​ รวมโครงข่ายฟรีไวไฟ​ 100/25​ Mbps รองรับประชากร​และนักท่องเที่ยวไทย-เทศกว่า​ 13 ล้านราย​

ตั้งเป้าสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัลให้ครบสมบูรณ์ภายในไตรมาส​ 3​ปี​ 61​ รองรับการใช้งาน​ Beacon กว่า​ 2,000 จุด​ ควบรวมระบบสมาร์ทมิเตอร์ทั้งไฟฟ้าและประปา​ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชากรภูเก็ต​ และขยายรูปแบบสู่เมืองใหญ่ทั่วประเทศ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวภายในงาน“Success to Phuket Smart City” ซึ่งจัดโดย​บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT​ ​ถึงวัตถุประสงค์ของการผลักดันจังหวัดภูเก็ตสู่สมาร์ทซิตี้ต้นแบบ​ว่า

ความร่วมมือของทุกภาคส่วน​เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองด้วยเทคโนโลยีแบบยั่งยืน​

รวมไปถึงการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้​ ก็เป็นการแสดงถึงความพร้อมในการก้าวไปสู่เมืองอัจฉริยะของภูเก็ตเองและสอดรับกับการพัฒนาประเทศไทย​4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล

ครั้งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่คุณภาพชีวิตของประชากรในจังหวัดจะได้ถูกยกระดับด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี​ อีกทั้งความสำเร็จครั้งนี้จะดลายเป็นต้นแบบไปสู่การพัฒนาเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วประเทศต่อไป

ด้านพ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า CAT ได้มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสารไร้สาย LoraWAN​ เพื่อรองรับบริการ IoT ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0

โดยเฉพาะโครงการ Smart City ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่ CAT เปิดตัวโครงข่ายสื่อสารไร้สาย LoRaWAN อย่างเต็มรูปแบบครอบคลุมทั่วจังหวัด

เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการ Smart Servicesด้านต่าง ๆ และการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในจังหวัดภูเก็ตที่มีแนวโน้มจำนวนการใช้งานเพิ่มมากขึ้น

หลักการพัฒนาสมาร์ทซิตี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน กับส่วนที่เป็นบริการ  ซึ่งภารกิจหลักที่ CAT ได้ดำเนินการแล้วในส่วนแรก คือการติดตั้งโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง Free Wi-Fi 1,000 จุดทั่วทั้งภูเก็ต

โดยสามารถรองรับนักท่องเที่ยวกว่า​ 13​ล้านราย​ พร้อมประชาชนในพื้นที่กว่า​ 4​ แสนราย​ ด้วยความเร็วสูงสุด​ 100/25​ Mbps​ ครอบคลุมทั่วจังหวัดภูเก็ต​ ซึ่งสามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานด้วยเลขบัตรประชาชนหรือเลขพาสปอร์ตหากเป็นชาวต่างชาติ​ ครั้งละ​ 2​ชั่วโมง​ และสามารถเชื่อมต่อได้ใหม่เรื่อยๆไม่จำกัดจำนวนครั้ง

และล่าสุดคือการติดตั้งโครงข่ายไร้สายสำหรับ IoT ซึ่งหลังจากจัดให้มีโครงข่ายพื้นฐานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว CAT ยังได้ขยายมาดำเนินการต่อเนื่องในส่วนของบริการ

โดยขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและโซลูชั่นต่างๆ ร่วมกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่น ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเมืองภูเก็ตที่มีเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อปี 2560 CAT ได้วางโครงข่ายสื่อสารไร้สาย LoRaWAN (Long-Range Wide Area Network) ในภูเก็ต เป็นโครงข่ายที่ออกแบบมาเพื่อรองรับบริการ IoT (Internet of Things) และเป็นระบบที่รองรับการพัฒนาโซลูชั่นบริการอัจฉริยะต่างๆ ในเมืองที่เป็น Smart City สำคัญๆ ในหลายประเทศทั่วโลก

โดย LoRaWAN จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับ-ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์ต่างๆ อันเป็นหัวใจสำคัญของบริการ อัจฉริยะใน Smart City

อาทิ Smart Metering, Smart Buildings, Smart Lighting, Smart Parking, Smart Farming, Smart Logistics และ Smart Tourism ด้วยการรับ-ส่งสัญญาณได้ครอบคลุมระยะทางไกล

และใช้พลังงานต่ำ โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของ LoRaWAN

ขณะเดียวกันเพื่อสนับสนุนด้านการให้บริการ CAT ได้เปิดตัวพัฒนาแพลตฟอร์ม LoRa IoT by CAT เพื่อให้ความสะดวกต่อภาคธุรกิจที่จะเข้าร่วมศึกษาพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการบนโครงข่าย LoRaWAN

โดยบริการที่ได้เริ่มทดสอบให้บริการไปแล้ว ได้แก่ ระบบติดตามพิกัด (GPS Tracking) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งการเดินทางของยานพาหนะต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต​ อาทิ เรือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถเก็บขยะ รถทัวร์ ฯลฯ

ทั้งนี้ การใช้งานบริการด้าน IoT ในภูเก็ตยังอยู่ในระยะแรก และมีแนวโน้มเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว เช่น ผู้ให้บริการ Speed Boat รายใหญ่ได้เริ่มนำไปใช้เพื่อดูแลความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว

ทั้งในรูปแบบของการติดอุปกรณ์ระบบติดตามพิกัดไว้บนตัวเรือ และสายรัดข้อมือติดตัวนักท่องเที่ยว (Wristband) โดยบริการอื่นๆ ที่ CAT ได้พัฒนาร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อสนับสนุน Smart Tourism

อาทิเช่น แอปพลิเคชัน Smart Phuket 4.0, อุปกรณ์ Beacon เพื่อแจ้งให้ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติในภูเก็ตได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องโดยตรงจากแหล่งข้อมูล

เช่น บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวหรือโปรโมชั่นดีๆ และ Digital Signage จอภาพดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลพื้นฐาน เช่น ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ฯลฯ

“ในอนาคตข้อมูลที่รวบรวมจากพฤติกรรมและกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงเหล่านี้จะอยู่ในรูปของ Big Data Platform ที่จะเกิดประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการธุรกิจในภูเก็ต

โดยสามารถนำไปคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคในเชิงลึกได้มากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิมในอดีต ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า IoT มีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ๆในธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการเมืองก็สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูล Big Data เพื่อปรับปรุงพัฒนาเพิ่มคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย แก้ปัญหาต่างๆ ของเมืองได้อย่างดี

สามารถต่อยอดและพัฒนาไปสู่ City Data Platform ซึ่งจะยกระดับการบริหารจัดการเมืองภูเก็ตในทุกมิติให้ก้าวสู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์ เทียบชั้นสมาร์ทซิตี้ทั่วโลก”

ทั้งนี้​ CAT มุ่งพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยแนวคิด Smart Life, Smart Solution, Smart City โดยเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเป็นสำคัญ เช่น การร่วมสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ส่งเสริมการพัฒนาบริการอัจฉริยะภายในจังหวัดภูเก็ต เกิดจากหน่วยงานภาครัฐ เทศบาล และจังหวัด

ซึ่งดูแลสนับสนุนด้านนโยบาย  กลุ่มนักวิจัยพัฒนานวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ที่จะช่วยวิจัยและพัฒนา (R&D) การประยุกต์ใช้งานและอุปกรณ์ และกลุ่มเอกชน เช่น Maker Clubs รวมทั้งชาวเมืองภูเก็ตที่เข้าใจปัญหามาร่วมให้ข้อมูลเพื่อพัฒนานวัตกรรมการแก้ปัญหาเมืองร่วมกัน

การพัฒนา Smart City ในโครงการต่อๆ ไป เชื่อว่าจะดำเนินการได้รวดเร็วขึ้นด้วยโมเดลเดียวกับจังหวัดภูเก็ต โดยบริการที่จะพัฒนาบริการนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละเมือง

ซึ่งส่วนใหญ่มีความต้องการอยู่แล้วในบริการที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบการติดตามยานพาหนะ ระบบขนส่ง ฯลฯ แต่หากมีความต้องการเฉพาะ

ที่แตกต่างกัน บริการของ LoRa IoT by CAT สามารถที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะที่มีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ เช่น การแก้ไขปัญหาขยะตกค้าง ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศ ปัญหา

ที่จอดรถ ซึ่งจะสามารถนำเอาบริการ IoT ไปใช้เพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการระบบให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยในขณะนี้ CAT ได้ร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนในการรับทราบและรวบรวมความต้องการต่างๆ ของแต่ละเมืองเพื่อเตรียมพัฒนาตัวบริการแล้ว

อีกทั้ง​ CAT อยู่ระหว่างการนำโมเดล Smart City จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นต้นแบบ​ ขยายไปในหัวเมืองใหญ่ๆกว่า 18 จังหวัด​ ทั่วประเทศ

คาดว่าภายในไตรมาส 2 ของปี 2561 นี้จะทยอยเปิดให้บริการ LoRa IoT by CAT ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา น่าน สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี

สงขลา สุราษฎ์ธานี นครราชสีมา มหาสารคาม อุดรธานี อุบลราชธานี และนครปฐม รวมถึง 3 จังหวัดในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

banner Sample

Related Posts