___noise___ 1000

TeC นำธุรกิจไทยดีลค้าตลาดจีนบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์

มูลค่าตลาดผู้บริโภคประเทศจีนหวานหอม อดีตผู้บริหารธุรกิจคอมเมิร์ชดัง และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไอที เห็นช่องทางโอกาส รวมตัวเปิดบริษัท เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์ หรือ TeC คนกลางเชื่อมโยงธุรกิจไทยเข้าสู่ตลาดออนไลน์ แพลตฟอร์มดิจิทัล เว็บดังในจีน พร้อมเป็นที่ปรึกษา ติวเข้ม ดันบิซิเนสทริป แมชชิ่ง เปิดบริษัทสร้างดีลจริง คาดมูลค่าเริ่มต้นพันล้านบาท ในปี 2019

นางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์ (Thailand e-Business Center) หรือ TeC เปิดเผยว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการเติบโตของ อีบิสสิเนส และอีคอมเมิร์ซสูงที่สุดในเอเชียกว่า 800 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

อีกทั้งยังมีช่องว่างมูลค่าระหว่างไทยและจีนต่างกัน 20 เท่า ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจไทยพยายามเชื่อมต่อกับกลุ่มธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ อีคอมเมิร์ซ ในจีน ผ่านการแสดงสินค้าและ บิสสิเนสแมชชิ่ง เพื่อสร้างโอกาสทางการค้า

แต่ด้วยระบบและทางด้านกฎหมายการค้า มีข้อจำกัด จึงทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายได้เต็มที่ TeC จึงได้รวบรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ทั้งส่วนของประเทศไทย จีน และเครือข่ายพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำ เป็นผู้ช่วยสนับสนุน ทำให้สามารถเปิดบริษัทในจีน จด trademark

และสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ IP Law พร้อมช่วยประสานงานให้สามารถบรรลุข้อตกลง หรือ ดีลจบสำเร็จ ทั้งในรูปอีบิสสิเนส อีคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างฐานแข่งขันทางการค้าบนระบบดิจิทัลในระยะยาว

“เบื้องต้นนี้ได้มีการนำธุรกิจไทย ไปสร้างกิจกรรม และเจรจาการธุรกิจ บ้างแล้ว ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าการซื้อขายให้เกิดขึ้นมากกว่า 1,000 ล้านบาท ได้ในปี 2019 ผ่านแผนการจัดกิจกรรมดูงาน แลกเปลี่ยน พร้อมเจรจา และเปิดธุรกิจได้ในแต่ละเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ บนกลยุทธ์ Tech Edutainment และ Cross functional creativity”

ทั้งนี้ TeC จะเข้ามาสร้างธุรกิจแนวใหม่ 3 ด้านคือ 1. Digital Work-Force การสร้างกำลังคนสำหรับธุรกิจดิจิทัล โดยนำผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและใช้ Global assessment อย่าง International Computer Driving Licence (ICDL) ซึ่งเป็นศูนย์สอบอย่างเป็นทางการระดับโลก

เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์

โดย TeC ได้รับสิทธิ์ในการจัดสอบ 2. Business Expansion การขยายธุรกิจยังต่างแดน ตั้งแต่การจัดการการเข้าพบเหล่าสมาคม บริษัท เพื่อเจาะตลาดจีนในเมืองเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น หังโจว, เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง, เซินเจิ้น, ตงกวน และกวางโจว เป็นต้น

  1. E-Business & Technology Training การสร้างองค์ความรู้ให้กับธุรกิจเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัลที่พร้อมจะก้าวสู่ต่างแดน อีกทั้งเทคยังเป็น AGCs – Executive Program Organizer ให้กับหลักสูตรของ Alibaba Business School ซึ่งเป็นเอกชนเจ้าเดียวในประเทศไทยในขณะนี้

นางสาวกุลธิรัตน์ กล่าวว่า การเปิดตลาดอีคอมเมิร์ซ หรือ ตลาดออนไลน์ผ่านเว็บชั้นนำในประเทศจีน อาทิ Tmall JD Taobao ซึ่งแต่ละผู้ให้บริการนั้นมีข้อจำกัด มีรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนนี้ TeC จะเป็นผู้ช่วยในการให้คำแนะนำต่างๆ ให้กระบวนซื้อขายผ่านช่องทางเหล่านี้เกิดความสำเร็จ โดยแต่ละรายจะมีระยะเวลาและกระบวนการที่แตกต่างกัน

ในส่วนด้านการสร้างกำลังคนทางด้านดิจิทัลนั้น ทาง TeC จับมือกับ JobBKK.com ผู้นำ Recruitment platform หรือการจัดหางานรายใหญ่ของไทย ซึ่งมีการทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOUs และจะสร้างหลักสูตรพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย กว่า 20 แห่งในปีหน้า

โดยจะเน้นหนักการสร้างความเชี่ยวชาญดิจิทัลบิสสิเนส หรือ skills ทางด้านอีคอมเมิร์ชที่ใช้กับสถานการณ์การค้าขายจริงถ่ายทอดกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป้าหมาย เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจไทยยุคใหม่ขาดแคลนกำลังคนทางด้านนี้อย่างมาก

จากสถิติกองวิจัยแรงงาน กรมการจัดหางานพบกว่า เด็กจบใหม่ ปี 2561 กว่า 400,650 คน ตกงานกว่า 180,000 คน และขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรหลักที่ล้อกับสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการแก่ตลาดแรงงานดิจิทัล ได้ทันการเปลี่ยนแปลง คาดว่า TeC จะเข้าไปสร้างกำลังคนรองรับตลาดอีคอมเมิร์ชไทยได้ในกลางปีหน้ากว่า 1,000 คนเป็นอย่างน้อย

อีกทั้งจะมีการเปิดฝึกกำลังคนทางด้านอีบิสสิเนส และอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดยในปีหน้าจะมีการนำผู้เชี่ยวชาญทางด้านอีบิสสิเนสของไทยเองมาให้ความรู้กับภาคธุรกิจที่สนใจจะเชื่อมโยงกับธุรกิจในเอเชีย ขณะเดียวกันก็จะมีการนำภาคธุรกิจที่สนใจ ไปฝึกอบรมที่จีนและฮ่องกงกับหน่วยงานชื่อดังด้านเทคโนโลยี

โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ดำเนินธุรกิจเหล่านั้นจริงๆ ในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแบ่งปัน Best Practices & know-how หรือองค์ความรู้ ขณะเดียวกันก็จะนำผู้เชี่ยวชาญพิเศษเหล่านี้ เข้ามาประเทศไทยเพื่อสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในไทยอีกด้วย รวมไปถึงดึงดูดให้คนจีน และคนฮ่องกง เข้ามาลงทุนในไทยผ่านหลักสูตรสร้างความรู้พื้นฐานการลงทุนในไทยอีกด้วย

ส่วนการขยายธุรกิจในต่างแดน ซึ่งถือเป็นรายได้หลักกว่า 50% ของบริษัทในช่วงสั้นๆ นี้ เป็นการรองรับความต้องการของภาคธุรกิจไทยในช่วงเริ่มต้น เนื่องจากความต้องการของภาคธุรกิจระดับ Corporate หรือบริษัทที่มียอดขายมากกว่า 10 ล้านบาท – 50,000 ล้านบาท

ในการเชื่อมต่อกับธุรกิจดิจัทัลในประเทศจีน ที่มีกำลังซื้อมหาศาล เริ่มมีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือในช่วงต้นจะไม่นับรวมกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ยังมียอดขายไม่พอที่จะเริ่มขยายธุรกิจ

โดยการเริ่มขยายธุรกิจนั้น ทาง TeC มีบริการตั้งแต่การทำ Business Trip หรือ การเดินทางแบบธุรกิจ ตั้งแต่การจับคู่ทางธุรกิจแบบเป็นจริง การหาแหล่งผลิตที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งในปีหน้าตารางการเดินทางที่ได้รับการจองแล้ว 12 เที่ยวการเดินทาง

เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์
นางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์ (Thailand e-Business Center) หรือ TeC

โดยเส้นทางหลักที่ได้รับการจองคือ หังโจว เซิ่นเจิ้น และเซี่ยงไฮ้ นอกจากนั้นยังมีตารางเดินทางแบบ Customize หรือแบบเลือกเดินทางการทำธุรกิจแบบเฉพาะเข้ามาอีกหลายเที่ยว

ซึ่งขณะนี้ทาง TeC ได้เตรียมเจ้าหน้าที่สำหรับติดตามการเจรจาธุรกิจหลังจากที่การเดินทางสิ้นสุดแล้ว และมีการเริ่มเจรจาทางธุรกิจเกิดขึ้น โดย TeC รับมอบหมายการทำให้แผนการเจรจาประสบความสำเร็จจนถึงขึ้นออกมาเป็นธุรกิจได้จริง

นอกจากการจัดเส้นทางธุรกิจแล้วทาง TeC ยังรับดำเนินการเปิดบริษัทในประเทศจีนให้กับธุรกิจในไทยอีกด้วย เนื่องจากขณะนี้ขนาดเศรษฐกิจของจีนมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยอย่างมาก และการทำธุรกิจแบบดิจิทัลก็ก้าวหน้ากว่าไทยหลายระดับ

อีกทั้งกำแพงภาษีที่รัฐบาลจีนและไทยต่างเปิดกว้างให้กันและกันพอสมควร เพียงแต่เงื่อนไขการเชื่อมต่อกับธุรกิจดิจิทัลในจีนมีความซับซ้อนที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีแพลตฟอร์มที่เฉพาะทางมากมาย

และการเชื่อมต่อมีหลักเกณฑ์ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์สูง ซึ่ง TeC ได้เตรียมทั้งคนและแนวทางการเชื่อมต่อเอาไว้แล้ว ทำให้การขยายการลงทุนในจีนจะเป็นจริงได้มากที่สุด

ในส่วนสุดท้ายของการขยายฐานธุรกิจนั้น ทาง TeC มีบริการจัดการเรื่องการตลาดดิจิทัลในประเทศจีนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดออนไลน์และเปิดช่องทางโซเชียล โดยเชื่อมต่อกับ Baidoo/Weibo การสร้างเนื้อหาการตลาดโดยบล็อกเกอร์ชื่อดัง

หรือแม้กระทั่งการทำตลาดผ่านคนดังหรือ Influencers/Celebs ในประเทศจีน ซึ่งธุรกิจไทยทั้งส่วนส่วนอุปโภคและบริโภค หรือบริการต่างๆ สามารถเลือกใช้ช่องทางการตลาดแบบใหม่ได้ในทุกรูปแบบ

โดยเทคจะมีผู้เชี่ยวชาญในจีน และเคยสร้างยอดขายให้เหล่าแบรนด์ดังในการขายบนอีคอมเมิร์ซจีนกว่า 4 พันล้านหยวน หรือ กว่า 20,000 ล้านบาท เป็นต้น

“ TeC มองว่า จีนเป็นประเทศที่น่าจับตามอง จากจำนวนประชากรที่มีสูงถึง 1.386 พันล้านคน มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของไทยจีนมีปริมาณสูงขึ้นตลอดเวลา ปัจจุบันหลักสูตรของ TeC เอง ได้รับการรองรับโดยองค์กรที่มีความน่าเชื่อให้จัด Training อย่าง Alibaba Business School

ที่จะนำเหล่าผู้บริหารจีนในสาขาที่เชี่ยวชาญจริงๆ มาแนะนำให้รู้จักวิธีการซื้อขายและเข้าถึงการค้าแบบ e-Business และ e-Commerce มืออาชีพอย่างประเทศจีน ตลอดจน พันธมิตรทางธุรกิจของ TeC เองที่เล็งเห็นความสำคัญในการเติบโตของธุรกิจ e-Business

อาทิ เช่น บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็ม วิชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท จัดหางาน จ๊อบบีเคเค ดอท คอม และอีกมากมายที่ให้การสนับสนุน” นางสาวกุลธิรัตน์ กล่าวสรุป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

เทค อี-บิสสิเนสเซ็นเตอร์

banner Sample

Related Posts