แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #4

แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #4

หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งที่สำคัญของ The Stanford Thailand Research Consortium อย่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่เริ่มมีการวิจัยการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรขององค์กร ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทยจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง วันนี้ TheReporterAsia จะพาไปแกะรอยแนวคิดการเข้าสู่ Consortium ครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่จะพลิกงานวิจัยสู่การวิจัยเชิงประยุกต์เป็นครั้งแรก

นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผยว่า AIS ไม่ได้มองแค่ในเรื่องของการวิจัยที่ทางมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ทำให้กับ AIS เท่านั้น แต่การที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและองค์กรอื่นๆ ได้ร่วมมือกับ AIS ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นครั้งสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น เราเชื่อว่าการที่ประเทศไทยจะเคลื่อนตัวไปได้ ทุกองค์กรต้องช่วยเหลือกันและเดินไปพร้อมกัน

ธุรกิจโทรคมนาคมจะเป็นธุรกิจแรกที่ถูก Disrupt เสมอ ซึ่งการพัฒนาไม่ให้องค์กรได้รับผลกระทบจากการถูก Disrupt อย่างหนึ่งคือการพัฒนาจากภายใน ด้วยการมองคนในองค์กรก่อน ที่ AIS เราดูแลคนกว่า 36,000 คนทั้งที่เป็นพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว ในด้านของ AIS เรามุ่งพัฒนาตรงนี้มาตลอดอยู่แล้ว แต่ก็ค้นพบว่าถ้าเราเอาแต่พัฒนาคนในของ AIS แล้วคนอื่นๆ ในประเทศจะเป็นอย่างไร AIS จึงไม่สามารถละเลยไปได้ และเมื่อประกอบกับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วในทุกวันนี้ ถ้าเราช้าแม้แต่ก้าวเดียวทุกอย่างจะพากันช้าไปหมด

เราเชื่อว่าบริษัทใหญ่ๆ พร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศนี้ตลอด การลงทุนกว่า 100 ล้านบาทในการก่อตั้งโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium ระยะเวลา 5 ปีเป็นเรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่หนักกว่าเรื่องเงินคือเรื่องของกำลังคนและองค์ความรู้ที่เราต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นมูลค่าที่เทียบยาก ดังนั้นการที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ทุกคนยอมรับและเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ให้ความสำคัญและทำให้ประเทศไทยขนาดนี้ องค์กรเอกชนก็ไม่ควรละเลยโอกาสที่จะช่วยสร้างให้สังคมแข็งแรง ถ้าประเทศแข็งแรง บริษัทก็แข็งแรง และประชาชนก็แข็งแรงด้วยเช่นกัน

AIS โฟกัสในเรื่องของการเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ตลอดเวลา การเติบโตคนเดียวไม่เรียกว่าการเติบโตอย่างยั่งยืน การเติบโตที่แท้จริงคือเติบโตไปพร้อมกัน

โครงการนี้มีกรอบระยะเวลา 5 ปีในการร่วมมือกัน เนื่องจากการวิจัยก็ต้องใช้เวลา และนอกจากการวิจัยนี้ บางทีก็ต้องออกไปทำกิจกรรม ไปช่วยอีกอย่างเช่นบางทีระหว่างทางการวิจัย เจอว่าถ้าทำสิ่งนี้น่าจะทำให้ประเทศดียิ่งขึ้น สิ่งที่ AIS สามารถยกตัวอย่างได้ คือเรื่องของการศึกษา AIS เชื่อในเรื่องของ Academy For Thai และรับรู้มาตลอดว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการศึกษา แต่จะทำอย่างไรให้องค์กรรู้มากขึ้น บุคคลากรมีความรู้มากขึ้น

ในยุค digital transformation เรากลัวมันได้แต่หนีมันไม่พ้น เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่ทำได้คือทำให้คนไทยมีองค์ความรู้และมีทักษะที่พร้อมที่สุด นอกจากที่องค์กรเอกชนและรัฐบาลร่วมมือช่วยเหลือกัน ตัวบุคคลเองก็ต้องรับผิดชอบตนเองในเรื่องของทักษะ เพราะว่าหากคนไม่รีบปรับตัว คนเหล่านั้นก็จะตกรอบไปเลย เพราะว่าเทคโนโลยีมันเข้ามาเยอะ คนที่มีทักษะที่พร้อมจะได้เปรียบ แต่ก็ไม่ควรรอให้องค์กรเป็นคนให้ ตัวบุคคลเองต้องลุกขึ้นมาเพิ่มทักษะและศักยภาพตัวเองตลอดเวลาแล้วสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วขึ้นและจะไม่หยุด เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของคนก็ต้องเปลี่ยนด้วยเช่นกัน

สิ่งที่คนควรจะพัฒนาเป็นอย่างแรกเลยคือวิธีคิด (mindset) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเติบโตก่อนเป็นอย่างแรกเพราะสิ่งสำคัญที่สุดคือวิธีคิดของคน เราเคยชินกับการยึดติดกับ “กับดักแห่งความสำเร็จในอดีต” AIS คุยกันเสมอว่าเราไม่สามารถยึดติดกับความสำเร็จเดิมในอดีตได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญ

และนับว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะตัดสินใจว่าเวลาใดจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดของการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าโลกของ digital transformation ณ ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจุดสุดท้ายจะอยู่ที่ไหน แต่สิ่งหนึ่งที่ตอบได้คือมันจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ และถี่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ต้องแข่งกับใครเลย ทุกคนต้องแข่งกับตัวเองในการเพิ่มความรู้และทักษะให้กับตัวเองให้เร็วที่สุดและก็ต้องทิ้งกรอบความเชื่อเดิมๆ ความสำเร็จเดิมๆ แล้วทำความเข้าใจเรื่องเดิมๆ ในมุมมองใหม่ๆ

ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้ AIS ต้องการที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง และคิดว่าภาคเอกชนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เคลื่อนตัวในเรื่องของการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน

และเราคาดหวังว่าจะเห็นความสามัคคี เพราะการทำแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้เป็นนโยบายของ AIS และเราเชื่อในเรื่องของความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้นคือการที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญกับประเทศนี้ในการเข้ามาช่วยกันเพื่อสนับสนุนภาครัฐในการเคลื่อนตัว และอีกหน่วยงานที่สำคัญคือมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การทำงานออกมาดีมากขึ้นกว่าการทำเองคนเดียว เพื่อจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกองค์กรสามารถใช้สิ่งที่องค์กรเชี่ยวชาญมาหนุนนำกันได้

เวลาที่เราสื่อสารกันเราชอบใช้คำศัพท์หรูๆ แต่บางครั้งคนที่รับฟังเราอาจไม่เข้าใจ “ยิ่งพูดให้ไกลเท่าไหร่ ยิ่งมีคนแพ้มากขึ้นเท่านั้น”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #1

แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #2

แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #3

แกะรอย The Stanford Thailand Research Consortium #5

Related Posts