ตามติดวิวัฒนาการ Edge Computing เพื่อธุรกิจ

ตามติดวิวัฒนาการ Edge Computing เพื่อธุรกิจ

Edge Computing

ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่เส้นทางดิจิทัล จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า Edge Computing เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ครอบคลุมทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการดำเนินการ และระบบอัตโนมัติของการประมวลผลแบบเอดจ์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

การประมวลผลอัตโนมัติของ Edge Computing ก็เหมือนกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการผสานกันระหว่างระบบเทคโนโลยีและการจัดการแบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นระบบการจัดการตนเอง สามารถซ่อมบำรุงตัวเองได้ รวมทั้งวางแผนการทำงานของตัวเองได้อย่างคล่องตัว และในฐานะคนอุตสาหกรรมนั้น แม้ว่าเราจะยังอยู่ห่างความสำเร็จเช่นนั้นอยู่ แต่ก็เป็นทิศทางและความมุ่งมั่นที่เราจะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงให้ได้

ที่ Stratus Technologies ซึ่งผมดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี เราได้พัฒนารูปแบบการประมวลผลแบบ Edge Computing ที่มีความสมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด 5 I’s ที่พัฒนามาจากการวิวัฒนาการด้านการประมวลผลแบบเอดจ์ นับตั้งแต่ยุคข้อมูลทั่วไป ยุคข้อมูลเชิงลึก ยุคอัจฉริยะ และก้าวไปสู่การเป็นระบบที่ “มองไม่เห็น” ในอนาคต ความสามารถของการประมวลผลแบบเอดจ์มีพัฒนาการที่ทันสมัยขึ้นเป็นอย่างมาก บริษัทต่างๆ จึงเริ่มเปลี่ยนเข้ามาสู่ยุคดิจิทัลแบบที่ “มองไม่เห็น” กันอย่างแพร่หลาย

ยุคการประมวลผล Edge 1.0 และ Edge 2.0

นอกจากต้นแบบแนวคิด 5 I’s แล้ว เรายังพูดถึงความก้าวหน้าและการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลแบบเอดจ์เข้ามาใช้ วันนี้องค์กรส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่การใช้งานในยุค Edge 1.0 ซึ่งความสามารถพื้นฐานของการประมวลเป็นสิ่งจำเป็นของการดำเนินธุรกิจในทุกยุค ถึงแม้ว่าในยุค Edge 4.0 การประมวลผลเหล่านั้นจะสามารถทำงานได้เองแบบอัตโนมัติแล้วก็ตาม

Edge 1.0 จะเป็นยุคที่ว่าด้วยการจัดการอุปกรณ์ การจัดการความปลอดภัย ตลอดจนการเชื่อมต่ออุปกรณ์ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างสะดวก และนำไปสู่การดำเนินงานขั้นพื้นฐานของธุรกิจบนโลกดิจิทัลได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจมีส่วนร่วมหรือมีประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

Edge 2.0 เราจะเริ่มเห็นการประยุกต์ใช้การประมวลผลแบบเอดจ์ที่เปิดกว้างมากขึ้น เป็นยุคของการใช้ซอฟต์แวร์เข้าช่วยจัดการ ณ จุดประมวลผลได้เลย โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะแยกหน่วยของการประมวลผลและฟังก์ชั่นต่างๆ ออกจากส่วนของคอมพิวเตอร์หลัก และทำการประมวลผลแยกจากจุดต้นทางได้เอง คล้ายๆ เบื้องหลังการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เสมือนที่มีมานานหลายปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สามารถที่จะรวมการประมวลผล การเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัย รวมเข้าไว้ในอุปกรณ์เอดจ์นั้นๆ ได้เลย

Software-defined networking (SDN) หรือระบบเครือข่ายที่จัดการโดยซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบเครือข่าย สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ทั้งการกำหนดการเชื่อมต่อ การตั้งค่าต่างๆ เพื่อการเชื่อมต่อ การตั้งค่านโยบายการควบคุม โดยสามารถสั่งการทั้งหมดได้จากส่วนกลางในคราวเดียว แทนแบบเดิมที่จะต้องเข้าพื้นที่เพื่อปรับแต่งตั้งค่าอุปกรณ์แต่ละตัวด้วยตนเองทั้งหมด

ขณะที่การให้บริการ SDN ยังเปิดช่องให้สามารถเรียกใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ได้อย่างสะดวก ซึ่งสามารถเลือกใช้งานไฟร์วอลล์ได้ทั้งในส่วนของเจ้าของและส่วนของผู้รับผิดชอบได้อย่างสะดวก รวมไปถึงการรองรับระบบตรวจจับและระบบการป้องกันอื่นๆ ที่ชื่นชอบได้อีกด้วย

Edge Computing

ยุค Edge 3.0 และ Edge 4.0

ในยุค Edge 3.0 นับว่าเป็นยุคที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยยุคนี้นับว่าเริ่มมีการรวมทั้งเทคโนโลยีการปฏิบัติงานและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างแท้จริง ซึ่งมีทั้งความยืดหยุ่นของการประยุกต์ใช้ และความสามารถในการทำงานแบบเรียลไทม์ ทำให้วันนี้เราสามารถกำหนดค่าต่างๆ ของการเชื่อมต่อเครือข่ายเทคโนโลยี โดยที่ไม่ต้องแตะต้องตัวอุปกรณ์เลย

ตัวอย่างเช่นโรงงาน จะมีระบบควบคุมเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้ตามที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งระบบเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากโลกเทคโนโลยีการทำงานที่สามารถสั่งการเครื่องจักรให้ทำงานได้ แต่ไม่ได้มากจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเพียงการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์จากส่วนกลาง

สิ่งเหล่านี้กำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่การแตกย่อยของศูนย์ข้อมูลและย้ายส่วนย่อยเหล่านั้นไปสู่เครื่องจักร เพื่อให้เกิดการประมวลผลจากต้นทางเครื่องจักรนั้นๆ ได้เลย ซึ่งภายในปี 2568 เราคาดว่าจะได้เห็นสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเสมือนจริง มีการทำงานแบบเรียลไทม์ การทำงานของเครื่องจักรมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ระบบการควบคุม ตลอดจนการจัดการต่างๆ ที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

โดยอุตสาหกรรมจะเริ่มใช้ประโยชน์จากคลาวด์มากขึ้น เพื่อช่วยเสริมให้เกิดความยืดหยุ่นและลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นของการทำงานบนโลกไอทีมานาน ผลที่ได้ก็คือการหลอมรวมโลกอุตสาหกรรมที่เป็นโลกของกายภาพ (เครื่องจักร) ให้เป็นรูปแบบที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์แบบเปิดตามแนวทางการพัฒนาของโลกไอทีที่มีมานานหลายปี

ความสำเร็จของ Edge 3.0 คือการเตรียมความพร้อมในการผสานเครื่องจักรเข้ากับโลกของเทคโนโลยีได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อจะก้าวเข้าสู่โลกของความอัจฉริยะของเครื่องจักร ในยุค Edge 4.0 ซึ่งจะเป็นการรวมระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไปอยู่ในเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรนั้นๆ สามารถจัดการตนเองทั้งในส่วนของการทำงานและการซ่อมบำรุงตนเองได้อย่างอิสระภายใต้นโยบายที่เจ้าของกำหนด โดยที่ไม่ต้องคอยให้มนุษย์สั่งการอีกต่อไป

เราเชื่อว่าอาจจะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริง แต่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัลที่ล้ำหน้าได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เราต้องระลึกเสมอว่าการเปลี่ยนผ่านจากยุค Edge1.0 ไปสู่ยุค 3.0 ไม่มีทางลัดแบบก้าวกระโดด เราจะต้องกำหนดความสามารถของแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นความทันสมัยที่มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นบนโลกของอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประมวลผลแบบ Edge และศึกษาตัวอย่างของการเปิดใช้งาน Industry 4.0 สามารถเข้าชมการสัมมนาผ่านเว็บ The Rise of Industrial Edge ที่จัดขึ้นโดย Schneider Electric และ AVEVA

บทความโดย จอห์น วิเซนต์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี Stratus Technologies

Related Posts