___noise___ 1000

การปรับสู่ ดิจิทัล ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่

ดิจิทัล

ดิจิทัล
บทความโดย คีธ แชมเบอร์ส รองประธานของ AVEVA ดูแลทิศทางด้านกลยุทธ์ การค้าและการพัฒนา กับ Schneider Electric

การปรับกระบวนการสู่ ดิจิทัล หรือ digitization กำลังพลิกโฉมธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม  จากการเปลี่ยนแปลงด้านซัพพลายเชนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงความท้าทายด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ บริษัทต่างๆ จะยังแข่งขันได้หากเร่งผันตัวสู่การปฏิรูปทางดิจิทัล การปฏิรูปดังกล่าวจะทำให้บริษัทเหล่านี้ สามารถบรรลุ “ผลกระทบเชิงบวกได้จริง”  อีกทั้งช่วยให้ซัพพลายเชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทก็สามารถนำข้อมูลคุณภาพสูงมาช่วยตัดสินใจทางธุรกิจที่สร้างผลกำไรได้

การเร่งสู่ ดิจิทัล ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพ แต่ยังให้ความยืดหยุ่น ซึ่งรวมถึงโปรแกรมด้านความยั่งยืนภายในองค์กรเองเช่นกัน ช่วยให้บริษัทต่างๆ บริหารจัดการซัพพลายเชน และห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสื่อสารกับผู้มีส่วนร่วมหลักๆ ในองค์กรได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างของแบรนด์ได้ทั่วทั้งกระบวนการ แนวทางดังกล่าวเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศทั้งหมดของธุรกิจ การเลือกคู่ค้าด้านเทคโนโนโลยีที่เหมาะสมก็นับว่าเป็นหัวใจสำคัญเช่นกัน

โซลูชันด้านเทคโนโลยีมีอยู่ที่นี่แล้ว เพื่อช่วยสร้างประสิทธิภาพ ให้ความยืดหยุ่นและความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับคนทำงานและช่วยให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบง่ายเพื่อรับมือกับความซับซ้อนของตลาดได้ดี

เราได้พูดคุยกับ คีท แชมเบอร์ส ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในส่วนทิศทางด้านกลยุทธ์ การพัฒนาและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับสายผลิตภัณฑ์บริหารจัดการด้านการดำเนินงานของ AVEVA ในทั่วโลก และมารีลิเดีย คล็อตโต ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดอาหารและเครื่องดื่ม จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

การปฏิวัติด้านอาหาร

ในปี 2010 อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้สร้าง 23 แบรนด์ซึ่งอยู่ใน 100 แบรนด์ชั้นนำระดับโลก และคืนทุนให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปีเป็นเวลา 45 ปีมาแล้ว โดยอยู่บนฐานของแกนหลักต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์สำหรับตลาดที่มีกลุ่มลูกค้ากว้าง หรือ mass market และสัมพันธภาพด้านการกระจายสินค้ากับร้านค้าปลีก การวางแนวทางในการพัฒนาด้านการตลาด การดำเนินการที่ต่อเนื่อง และการลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการควบกิจการที่เพิ่มประโยชน์จากการขยายธุรกิจ โดยในช่วงเวลานั้น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสอง

ก่อนปี 2010 การพัฒนาและการเติบโตเป็นเรื่องของขนาดธุรกิจ และความสามารถของแบรนด์ mass market รายใหญ่ที่สุดของโลกที่กำหนดแนวทางในการพัฒนาตลาด พร้อมขับเคลื่อนและขยายธุรกิจต่อไป ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายให้ต่ำลงและเพิ่มผลผลิต

อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง แต่ในอีกหลายมุม แกนหลัก 5 ประการดังที่กล่าวมา ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องที่น่ากังขาอยู่ ตัวอย่างเช่น การสร้างแบรนด์ mass market ครั้งหนึ่งเคยให้ประโยชน์ ปัจจุบันอาจถูกมองอย่างไม่มั่นใจ เพราะทัศนคติมุมมองของลูกค้าเปลี่ยนไปตามส่วนแบ่งการตลาดที่เปลี่ยนจากผู้ค้ารายใหญ่มาอยู่ที่ผู้ค้ารายย่อยแทน

ปัจจุบัน บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่ม ตระหนักว่ามีคนหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องในธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ทั้งลูกค้า พนักงานและชุมชน และผู้ถือหุ้น ซึ่งคำจำกัดความของ “คุณค่า” ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่ม ก่อนโควิด มีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานด้านความคิดของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคแบบบรรจุหีบห่อ (CPG) เพื่อให้สอดคล้องกับคุณค่าที่ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจแต่ละกลุ่มกำหนดไว้สำหรับสินค้าที่ตัวเองผลิต

เมื่อเกิดโควิด และนำไปสู่ new normal การแพร่ระบาดยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการซัพพลายเชนที่มีความท้าทายอยู่แล้วในเรื่องความหลากหลายและความรวดเร็ว รวมถึงยิ่งเป็นการขยายผลให้เกิดความต้องการเรื่องความยืดหยุ่นและการควบคุมซัพพลายเชนในภาคการผลิตได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ประเด็นที่ซับซ้อนทั้งเรื่องความปลอดภัยของคนงาน และการสร้างระยะห่างทางสังคมยังกลายเป็นเรื่องสำคัญ ตลอดจนเรื่องคนทำงานจากระยะไกลที่ก่อนหน้านั้นเคยทำงานอยู่ในโรงงาน ทำงานเป็นกะ รวมถึงความจำเป็นในเรื่องการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ผลิตภัณฑ์บางอย่างก็กลาย “เป็นที่ต้องการ” ซึ่งบริษัทก็ต้องพยายามผลิตให้เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

มีคำกล่าวของ คีธ แชมเบอร์ส ที่กล่าวเอาไว้ว่า “ในห้วงกระแสของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อไป และไม่หายไปไหนอีกสักระยะ”

ดิจิทัล

ความท้าทายของยุค New Normal ที่เราใช้ชีวิตอยู่

การปฏิรูปสู่ดิจิทัลของ value chain หรือห่วงโซ่คุณค่า แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายได้ 5-30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งเพิ่มรายได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ก่อนหน้านี้ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในส่วนของอาหารและเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนจากการบริการด้านอาหารเข้ามาสู่การค้าปลีกอย่างรวดเร็ว โดยคิดเป็นเม็ดเงินมูลค่า 6,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แค่เพียงช่วงเวลาระหว่างเดือนมีนาคม ถึงสิงหาคมเท่านั้น ผลก็คือภาคการผลิตจึงต้องสร้างความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงเรื่องดีมานด์และรับมือกับการขาดแคลนซัพพลายได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ จะต้องลดการสูญเสียและของเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด เนื่องจากอาหารเหลือทิ้งมีผลต่อต้นทุนต่อหน่วยและความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ในช่วงสองเดือนแรกของการล็อคดาวน์ มีนมเหลือทิ้งมากกว่า 14 ล้านลิตรต่อวัน เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณมากถึง 1.6 ล้านตัน

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจากการเรียกคืนโดยตรงอยู่ที่ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังทำให้แบรนด์เสื่อมเสียและสูญเสียยอดขาย ค่าใช้จ่ายของการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดนั้นมีราคาแพงและอาจทำให้โดนตรวจสอบเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับอย่างละเอียด อีกทั้งทำให้ชื่อเสียงเสียหายในสายตาของผู้บริโภค

ผลผลิตที่ได้จากการผลิตก็ลดลง ทำให้เกิดความคิดว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลที่แข็งแกร่งซึ่งรองรับการดำเนินการด้านการผลิตได้ทั้งหมด สามารถช่วยปลดล็อกให้ได้รับผลกำไรใหม่ๆ ได้

ปัจจัย 4 ประการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและคล่องตัว

  1. เพิ่มศักยภาพให้พนักงาน บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องปฏิรูปวิธีการทำงานให้ครอบคลุมถึงบทบาทหน้าที่ของทีมงาน อีกทั้งสร้างความสามารถในการประสานความร่วมมือระหว่างทีมงานและบทบาทของงานได้อย่างเป็นธรรมชาติ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการผลิต ต้องสามารถวัดและปรับปรุงกระบวนการรวมถึงประสิทธิภาพการดำเนินการ อีกทั้งพัฒนาความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง
  3. มีส่วนร่วมกับลูกค้า สมาชิกในอุตสาหรรมอาหารและเครื่องดื่ม จำต้องดำเนินงานให้สอดคล้องตามกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงเรื่องของความปลอดภัย โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหารได้ (farm-to-fork) พร้อมกับเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้น
  4. การนำเสนอด้านการปฏิรูป บรรดาธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจการนำเสนอที่ขับเคลื่อนด้วยดีมานด์ และซัพพลายเชนก็ต้องรองรับการเพิ่มดีมานด์เหล่านี้ได้ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความยืดหยุ่นในองค์กรในภาพรวม ที่ช่วยให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่และเพิ่มบริการใหม่ได้

เทคโนโลยีสำคัญ 3 ประการสำหรับการปฏิรูปสู่ ดิจิทัล และการนำมาใช้งาน

สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 การนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้กลายเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติสำหรับการเดินทางสู่การปฏิรูปดิจิทัลของบริษัททั้งหลายที่เห็นคุณค่าและความสำคัญของเทคโนโลยีหลักทั้ง 3 ประการ

เทคโนโลยีแรกคือ Digital Twin แบบ 360 องศา ที่แสดงให้เห็นถึงการมุ่งเน้นในเรื่องเวอร์ชวลไลเซชั่น หรือการแปลงกระบวนการสู่ดิจิทัล ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตและสินทรัพย์ต่างๆ โดย Digital Twin จะให้แพลตฟอร์มที่เป็นหัวใจสำคัญของความยืดหยุ่นในคลาวด์/เอดจ์ ในเรื่องของสถาปัตยกรรมสำหรับการดำเนินงานที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับ พร้อมกับระบบวิเคราะห์บิ๊กดาต้า และให้ประสบการณ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้งานผ่านโมบายและโซเชียล

โดยให้ความสามารถในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบงานของธุรกิจได้ รวมถึง data lakes ระบบออโตเมชัน และระบบ IIoT  โดยการดำเนินงานของ Digital Twin จะให้โซลูชันที่ครอบคลุมการทำงานและการจับข้อมูลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งจะให้ความสามารถในการมองเห็น ให้แนวทาง และกระบวนการด้านการผลิตที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีที่ 2 คือ Connected Worker คนทำงานที่เชื่อมต่อถึงกัน โดยคนทำงานไม่ต้องดูแลเครื่องจักรกล ในทางกลับกัน คนทำงานในปัจจุบันจะเชื่อมต่อและเป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน อีกทั้งผสานการทำงานเข้ากับกระบวนการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ คนทำงานจะต้องทำงานผ่านระบบโมบาย และโมบิลิตี้จะนำข้อมูลที่ใช้ดำเนินการได้จริงมาใช้ร่วมกับ work tasks ที่ต้องทำ ณ จุดที่มีงานเกิดขึ้น การประสานการทำงานร่วมกัน จะรวมถึงการแบ่งปันความรู้และการอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันภายในโรงงานหรือจากระยะไกลก็ตาม เพื่อปรับปรุงเรื่องของผลิตผล  ทั้งนี้ Xtended Reality (XR) จะเร่งสร้างความชำนาญในการดำเนินการและงานด้านการบำรุงรักษาสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ๆ

เทคโนโลยีที่ 3 จะเชื่อมต่อกับ 2 เทคโนโลยีก่อนหน้านี้ และเรียกว่า Operational Intelligence ซึ่งเป็นการนำข้อมูลจากหลายแห่งมาประมวลผล วิเคราะห์เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ได้จาก Digital Twin และจาก Connected Worker และนำมาประยุกต์ใช้ในแนวทางที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ทั้งการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Prescriptive Analytics) และวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) ซึ่งที่นี่ เราได้ประยุกต์ใช้แนวคิดด้าน AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ไว้ในกระบวนการ เพื่อให้รองรับการทำ optimization หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการในโรงงานได้ดียิ่งขึ้น

ลดความเสี่ยงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ด้วยความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability)

ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทางแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของอาหาร ผู้บริโภคปลายทางกำลังเรียกร้องถึงความโปร่งใสและข้อมูลที่มากขึ้น เกี่ยวกับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดี่มที่ซื้อ ความยั่งยืนยังเชื่อมโยงโดยตรงกับความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทางแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์จากองค์กรด้านอาหารโลก

“เราจะเห็นได้ว่า new normal ครั้งนี้ ขับเคลื่อนกฎระเบียบข้อบังคับไปสู่ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น” มารีลิเดีย คล็อตโต กล่าว

ตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่ช่วยให้เห็นภาพในประเด็นนี้ คือ เราจะเห็นได้ว่าสหภาพยุโรปมีการตีพิมพ์ “Farm to Fork Strategy” ซึ่งเป็นกลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร ในเดือนพฤษภาคมปี 2020 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ก็ได้ออกข้อเสนอด้านกฎระเบียบใหม่ในการติดตามแบบย้อนกลับ “New Traceability Rule Proposal” มาในเดือนกันยายน 2020 ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม!

ในระหว่างกระบวนการ มีแอปฯ หลายประเภทที่กลายมาเป็นผู้ให้คำแนะนำใหม่สำหรับผู้บริโภคเนื่องจากผู้บริโภคเหล่านี้ต่างมองหาข้อมูลจำนวนมาก และต้องการมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมีความปลอดภัย

“ประเด็นนี้ นับเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่เกิดขึ้น ที่มีการเรียกร้องให้สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ ไม่เพียงแต่ในระดับโรงงาน แต่ยังรวมถึงซัพพลายเชนของเราด้วย” มารีลิเดีย คล็อตโต กล่าว

อะไรคือความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทาง

ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทาง คือความสามารถในการระบุ รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลไซโลในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบตลอดจนจุดวางขาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจับคู่ซัพพลายเออร์ทั้งหมด เพื่อรวบรวมข้อมูล เช่นที่มาของส่วนผสมและเช็คการรับรองที่สอดคล้องตามข้อบังคับ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นข้อกำหนดเบื้องต้น ในการสร้างความโปร่งใสและความสามารถในการติดตามในระบบอาหารทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น และเกี่ยวข้องกับแกนหลัก 4 ประการเช่นกัน

ประการแรก อะไรคือขอบเขต? การรวบรวมข้อมูลจากซัพพลายเชนที่กว้างขวาง และโซลูชันในการจัดเก็บ (storage solution) ที่เก็บข้อมูลในประวัติทั้งหมดของสินค้าสำเร็จรูปตั้งแต่ที่มาตลอดจนจุดที่วางขาย โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ตลอดทั่วทั้งซัพพลายเชน ทั้งแบบเป็น batch ตามวันที่ หรือข้อมูลที่หาได้ โดยใช้ unique identifier หรือค่าเอกลักษณ์

ต่อมา อะไรคือแหล่งข้อมูล? ข้อมูลนี้รวมถึงข้อมูลหลัก เช่น สูตรอาหาร และข้อมูลในฉลาก การรับรองจากต้นทาง รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ และข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งหมดจากโรงงาน เช่น batch การสอบเทียบของเครื่องมือ (calibration of devices) การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (cleaning data) ตัวระบุเอกลักษณ์ข้อมูล (unique identifiers) ในระดับของแต่ละแพ็คเกจ และข้อมูลการจัดส่งระหว่างกัน

ประการที่ 3 ผู้ใช้คือใคร?  ผู้บริโภค คู่ค้าด้านซัพพลายเชน เช่น ผู้ส่งสินค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการคลังสินค้า ผู้ดูแลกฏระเบียบ และผู้ผลิต ทั้งหมดนี้ได้รับการผลักดันจากผู้บริโภคปลายทางและความต้องการที่มากกว่าความปลอดภัย

ท้ายที่สุดแล้ว กรณีการใช้งานหลักยังต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคปลายทาง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการความโปร่งใสและการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจรรยาบรรณ รวมถึงซัพพลายเชน ซึ่งต้องสามารถมองเห็นและเชื่อถือได้จริง ผู้ดูแลกฏระเบียบซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการเรียกคืน ภาษี และสรรพสามิต รวมถึงผู้ผลิต ที่ดูแลเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร การเรียกคืน และตัวชี้วัดต่างๆ การปฏิบัติตามกฏระเบียบ การประเมินผล รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง

คุณจะเห็นได้ว่า การตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ตลอดทาง นับเป็นข้อปฏิบัติสำหรับบริษัทที่ต้องการสร้างซัพพลายเชนที่น่าเชื่อถือ ยั่งยืนและให้ความยืดหยุ่น อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์กับคู่แข่งได้

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เป้าหมายคือการรวบรวมข้อมูลสำคัญในทุกขั้นตอนที่แตกต่างของห่วงโซ่คุณค่าซึ่งเริ่มจากโรงงาน นอกจากนี้ กระบวนการยังรวมถึงการผสานรวมข้อมูลจากต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของวัตถุดิบ หรือการรับรองเรื่องการดำเนินการที่สอดคล้องตามข้อบังคับ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลปลายทางจากซัพพลายเชน และการมุ่งเน้นหรือรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ใน data lake โดยคุณสามารถเริ่มสร้างความชาญฉลาดได้ โดยใช้ข้อมูลที่อยู่ในศูนย์กลางหรือ hub ที่ว่านี้เอง

สร้างความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดเส้นทาง โดยพิจารณาที่ 4 ปัจจัยหลัก

  1. โรงงานต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบซัพพลายเชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยืดหยุ่น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับยุค new normal ในปัจจุบัน
  2. การเปลี่ยนแนวทางการทำงานและความสอดคล้องในการดำเนินงานของโรงงานจะไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกอีกต่อไป
  3. ความฉลาดในการดำเนินงาน ให้มุมมองเชิงลึกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสนับสนุนการปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
  4. การตรวจสอบซัพพลายเชนแบบย้อนกลับ ช่วยให้มีส่วนร่วมกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น และปกป้องความปลอดภัยของอาหาร

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://www.se.com/th/th/work/campaign/industries-of-the-future/

banner Sample

Related Posts