___noise___ 1000

กทปส. เร่งแก้ข้อจำกัดลิขสิทธิ์ ดัน สตาร์ทอัพ SME เข้าขอทุน

สตาร์ทอัพ

สตาร์ทอัพ

กทปส. เร่งแก้ไขข้อกำหนดการรับทุนใหม่ของ สตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี หลังการประกาศรับยื่นขอทุนนับตั้งแต่ 2560 ยังไม่มีผู้ยื่นขอรับทุนแต่อย่างใด โดยคาดว่าจะเร่งการพิจารณาเงื่อนไขใหม่ให้แล้วเสร็จราวไตรมาสแรกและเริ่มใช้ข้อกำหนดใหม่ราวไตรมาสสองของปี 2565นี้ เพื่อให้ผู้ขอรับทุนมีสิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานตนเองได้ ผลักดันให้เกิดนวัตกรเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจประเทศไทยให้เข้มแข็งต่อไป

นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุนวิจัยและพัฒนา เปิดเผยว่า อยากให้มีสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี เข้ามายื่นขอรับทุนการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่การเปิดคุณสมบัติให้เอสเอ็มและ สตาร์ทอัพ เข้ามารับทุนสนับสนุนได้ตั้งปี 2560 ก็ยังไม่มีใครยื่นโครงการเข้ามารับทุนแต่อย่างใด ซึ่งเราก็คาดหวังที่จะเห็นกลุ่มนี้มีบทบาทเข้ามาพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

โดยเราเข้าใจดีว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากข้อกำหนดเดิมมีเงื่อนไขทางกฏหมายที่กำหนดให้ ลิขสิทธิ์ของผลงานวิจัยเป็นของรัฐ เราจึงหาทางก้ไขและเร่งผลักดันข้อกำหนดใหม่ เพื่อเปิดโอกาสของลิขสิทธิ์ผลงานวิจัยยังเป็นของ สตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีผู้พัฒนาเอง แต่ทั้งนี้จะต้องทำการอนุมัติข้อกำหนดใหม่ช่วงราวกุมภาพันธ์ของปี 2565 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะปลดล็อคข้อกำหนดด้านลิขสิทธิ์ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มนี้เข้ามายื่นขอรับทุนสนับสนุนได้

ซึ่งวันนี้ เรามีความร่วมมือกับ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยกันปลดล็อคข้อจำกัดดังกล่าว เบื้องต้นมีการพิจารณาของบอร์ดทั้งสองฝั่งแล้ว รอเพียงการจัดทำข้อกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน แล้วให้บอร์ดกองทุนเป็นผู้อนุมัติ หลังจากนั้นจะมีการประกาศใช้ ซึ่งเชื่อว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้ข้อกำหนดใหม่สำหรับสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีราวไตรมาสสองของปี 2565

สตาร์ทอัพ
นายชาญวุฒิ อำนวยสิน ผู้อำนวยการสำนักกองทุนวิจัยและพัฒนา (กทปส.)

โครงการดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมตั้งแต่ขั้นตอนการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Accelerator) หลังจากนั้นจะคัดเลือกโครงการที่สามารถต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนในการตั้งต้นทั้งรูปแบบทุนให้เปล่าและการสนับสนุนเงินทุนกู้ยืม เพื่อทำให้สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีสามารถตั้งต้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป ด้วยความร่วมมือของ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์สตาร์ทอัพ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0

ทั้งนี้กทปส. ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้าและการป้องกันภัย ซึ่งได้รับการจัดสรรทุนประเภทที่ 1 ประจำปี 2563 ตามวัตถุประสงค์มาตรา 52 (2) ส่งเสริมผู้ประกอบกิจการและบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง โดยได้ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมด้วยระบบเทคโนโลยี HoME@Cloud

ซึ่งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดนวัตกรรมเบรคเกอร์ 4.0 ของนักวิศวกรไทย เพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมไฟฟ้ายุคดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งสำคัญคือการจัดการองค์รวมของระบบ IoT โดยอาศัยตู้รวมไฟฟ้าเป็น GATEWAY เปลี่ยนระบบป้องกันไฟฟ้าแบบเก่าเป็นเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าดิจิทัลเพื่อการป้องกันภัยจากไฟฟ้า และได้มีการติดตั้งใช้งานจริงของระบบเบรกเกอร์ 4.0 ให้กับองค์กรสาธารณะของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เยาว์และผู้ด้อยโอกาส

โดยเริ่มมีการติดตั้งและใช้งานในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมกว่า 50 แห่ง อาทิเช่น บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด (พันทิปดอทคอม) กรุงเทพฯ และบริษัท สิงโตพลาสติก จำกัด โรงงานพลาสติก จังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง 2 แห่งซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันทำให้เห็นความสามารถของการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพที่รองรับการใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กจนถึงใหญ่

สำหรับนวัตกรรมบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 เป็นการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาต่อยอดสร้างลานข้อมูลขนาดใหญ่ (Platform) สำหรับธุรกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) โดยอาศัยจุดเริ่มต้นของการมีไฟฟ้าใช้ ที่ตู้รวมไฟฟ้า หัวใจสำคัญของระบบจึงจำเป็นที่จะต้องมั่นใจในการป้องกันความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกชนิดในระบบเดียวและในความเป็นดิจิทัลยังทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาไฟฟ้าขัดข้องที่เกิดขึ้นได้ และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการใช้พลังงานเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี

สตาร์ทอัพ

รวมทั้งแจ้งเตือนความผิดปกติของปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการประหยัด นำไปสู่โครงสร้างพื้นฐานรองรับความเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศที่มีมาตรฐานเดียวทั่วกัน ทั้งนี้การดำเนินการมอบทุนและสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของกองทุนฯ เพื่อประโยชน์สาธารณะ นับเป็นการแสดงศักยภาพของนักวิศวกรไทยที่สามารถพัฒนานวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านนางชัชชม สุจริตโศภิต ผู้พัฒนานวัตกรรมบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0  ได้เปิดเผยว่าการได้รับทุนจาก กทปส. ในครั้งนี้เป็นการได้โอกาสที่จะเริ่มต้นวางมาตรฐานด้านดิจิทัลแบบองค์รวมอีกด้านหนึ่งในการเชื่อมโยงระบบดิจิทัลทั้งหมดของเมืองอัจฉริยะที่จะมีมาในอนาคต โดยอาศัยจุดที่เป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่งคือไฟฟ้า ที่ทุกอุปกรณ์ไม่อาจทำงานได้หากปราศจากไฟฟ้า และในกระแสไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์ต่างๆใช้งานนั้น ได้บรรจุสารหรือ Intelligence เอาไว้ เมื่อเอาความสามารถทางดิจิทัลมาดิจิไทส์สารในคลื่นไฟฟ้าก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆได้

ซึ่งในโครงการนี้เป็นการนำมาใช้ประโยชน์ขั้นต้นก่อนคือการป้องกันภัยและการจัดการพลังงานพร้อมมี Gateway เพื่อรองรับ IoT นับเป็นการหลอมรวมกันของระบบสารสนเทศและไฟฟ้าอย่างแท้จริง โดยอาศัยช่องว่างของการมาทดแทนระบบเบรกเกอร์เดิม ด้วยเทคโนโลยีที่พลิกโฉมการเริ่มต้นมีไฟฟ้าใช้ให้กับอุปกรณ์ภายในบ้าน ซึ่งโครงการบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0 นี้ได้สร้างระบบเทคโนโลยี HoME@Cloud ที่เป็น Cloud Platform ทำงานร่วมกับสมองกล REM101 ที่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่คอยตรวจจับคลื่นไฟฟ้าและตัดสินใจตัดต่อวงจรไฟฟ้าก่อนเกิดภัยทางไฟฟ้าทุกชนิด ให้เกิดความสะดวกสบาย อุ่นใจและควบคุมได้ต่อผู้ใช้

พร้อมส่งผ่านข้อมูลพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าไปยัง HoME@Cloud Cloud Platform ที่จะมีระบบบริหารจัดการให้เกิด Self-Thinking Home ให้บ้านเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นองค์ประกอบในการทำงานผ่านเครื่องมือสื่อสารได้อย่างแท้จริงบนระบบเดียว ไม่ต้องพึ่ง Home HUB เช่น Google อีกต่อไปและยังสามารถต่อยอดไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้ในอนาคต

โดยส่วนตัวมองว่าหากประเทศจะขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจดิจิทัล วิกฤตโควิด-19 คือวิกฤตที่สร้างโอกาสให้ประเทศไทยที่จะก้าวข้ามการเป็นผู้บริโภคเทคโนโลยีต่างชาติ ผู้วิจัยเชื่อว่าเทคโนโลยีของโครงการที่เริ่มตั้งแต่ต้นทางที่เปรียบเสมือนประตูก่อนการมีไฟฟ้าใช้จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการทำให้ประเทศยืนขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจ Platform จากความจริงที่ว่าทุกความอัจฉริยะต้องใช้ไฟฟ้า และประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ทุกผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมีจากวันนี้ไป การติดกระดุมเม็ดแรกให้ถูก จะสร้างโอกาสอีกมากมายเช่นเดียวกับที่ APPLE ได้สร้างความสำเร็จมาแล้วจากการพัฒนามือถือที่ทำงานด้วยนิ้วเดียว และมี iOS และ Platform เป็นเหมือน Conduit of Services ไปยังผู้บริโภค

พร้อมกันนี้ทางโครงการยังได้สร้างต้นแบบทดแทนชุด Consumer unit ของ HoME@Cloud (Home Managed Electricity in the Cloud) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัญหาการใช้งาน รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มาพร้อมแอพพลิเคชั่นด้านการจัดการไฟฟ้าและควบคุมสั่งการเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงานอัจฉริยะที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ที่สามารถควบคุมสั่งงานได้บน HomeOS ลดการเดินทางหรือการสูญเสียทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี 4.0 อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานด้านมาตรฐานในเรื่องที่ต้องมีกระบวนการทดสอบพร้อมเครื่องมือที่ถูกต้อง

สตาร์ทอัพ
นางชัชชม สุจริตโศภิต ผู้พัฒนานวัตกรรมบ้านไร้เบรกเกอร์ 4.0

โครงการฯ ได้พัฒนานวัตกรรมโดยตั้งเป้าที่จะสร้างผลลัพธ์ผลักดันให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจบนแพลตฟอร์มที่เป็นของคนไทยอย่างแท้จริงที่กำกับดูแลโดยรัฐบาลผ่าน Single Channel ตรงตู้รวมไฟฟ้า และเน้นการนำผลผลิตที่รัฐบาลสามารถนำไปใช้จริงโดยการส่งเสริมการปรับปรุงบ้านด้วยตู้รวมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ยังจะสามารถสร้างงานให้กับประเทศไทยได้มากกว่า 60,000 ตำแหน่ง จากการผลิตสู่การติดตั้ง คิดง่ายๆโดยสมมติฐานที่ว่าให้ช่าง 1 ทีมที่มีประกอบด้วยคนงาน 3 คน ติดตั้งวันละ 3 หลัง ด้วยปริมาณเฉพาะบ้าน (ไม่รวมภาคอุตสาหกรรม) ในประเทศไทยที่มีอยู่กว่า 20 ล้านหลังคาเรือน ต้องใช้คนไม่น้อยกว่า 60,000 ทีมทีเดียว

ที่สำคัญในขณะนี้ทุกประเทศกำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของตู้รวมไฟฟ้านี้ การผลักดันของการใช้ในประเทศจะทำให้ภูมิภาคที่อิงมาตรฐานไทย ได้นำไปดำเนินนโยบายตาม ส่งผลให้ไทยได้ส่งออกนวัตกรรมสู่ตลาดโลก ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการนำเข้าเบรกเกอร์แบบดั้งเดิม และเกิดความเสียหายทางไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังเป็นส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสื่อสารมาสร้างความเท่าเทียมทางสังคม ให้คนทุกสภาพร่างกายสามารถควบคุมดูแลจัดการตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น สร้างระบบนิเวศน์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการพัฒนาแอพสู่อนาคต

ด้านนาย วันฉัตร ผดุงรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Pantip.com เปิดเผยต่อว่า บริษัท อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ Pantip.com และเว็บไซต์ในเครือ ซึ่งมีทีมงานรวมกันประมาณ 80 ท่าน ทำหน้าที่ ดูแล บริการ และ พัฒนาเว็บไซต์ Pantip.com โดยมีความมุ่งหวังที่จะดำรงแพล็ตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของไทยให้มีมาตรฐานและคุณภาพทัดเทียมของต่างประเทศไว้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับประโยชน์ที่บริษัทฯได้รับจากการติดตั้ง Home@Cloud (Home Managed Electricity in the Cloud) นั้น หลังจากทำการติดตั้งและศึกษาพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในช่วงระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าหลักๆของบริษัทฯได้อย่างชัดเจน รวมถึงเห็นจุดที่อาจเป็นปัญหา ซึ่งช่วยในการวางแผนเพื่อปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันทางบริษัทฯทำงานในลักษณะ Work from Home เนื่องจากภาวะระบาดของเชื้อ Covid-19 ทำให้การใช้ไฟฟ้าไม่สูงนัก แต่เชื่อว่าเมื่อทีมงานเริ่มเข้าปฏิบัติงานในที่ตั้ง ข้อมูลที่ได้รับจาก Home@Cloud จะช่วยให้การบริหารการใช้พลังงานภายในองค์กรทำได้ดีขึ้นมาก และคาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็นลงได้ไม่น้อยกว่า 15% และยังมีแผนที่จะนำ Home@Cloud ไปต่อยอดเพื่อบริหารการใช้พลังงานของระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเว็บไซต์เพิ่มเติม ซึ่งจะยิ่งสร้างประโยชน์ในด้านการประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายได้อีกมาก

นอกจากนี้แล้ว Home@Cloud ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเองโดยวิศวกรชาวไทย เมื่อมองในภาพรวมด้านสังคมแล้ว เป็นสิ่งที่ Pantip.com รู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสให้การสนับสนุน โดยแนวคิดที่เชื่อมั่นมาตลอดว่า นวัตกรรมที่สร้างและพัฒนาโดยคนไทยเหล่านี้ คือพื้นฐานที่แท้จริงของการสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติต่อไปในอนาคต อีกทั้งในมุมของตัวนวัตกรรมเอง ก็มีความน่าตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานที่จุดปลายทางได้อย่างสะดวก ติดตั้งเข้ากับระบบไฟฟ้าเดิมได้ง่าย ซึ่งในอนาคตข้อมูลเหล่านี้ สามารถรวบรวมเป็น Big Data และ ต่อยอดร่วมกับ Artificial Intelligence และ Machine Learning สร้างเป็น Platform เพื่อให้เกิดเป็น Smart Energy Management ซึ่งนำไปใช้ได้ทั้งในภาพใหญ่ระดับ Smart City และในภาพย่อยระดับ Smart Home หรือ ใช้ในงานประยุกต์ต่างๆได้อย่างหลากหลาย

banner Sample

Related Posts