___noise___ 1000

ธุรกิจไทย พร้อมดันยุทธศาสตร์ BCG ฟื้นวิกฤตโควิด

BCG

BCG

กลุ่มธุรกิจไทยประกาศตัวเป็นผู้นำโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มาเป็นยุทธศาสตร์ชาติเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ผ่านเวที การประชุมนานาชาติ “Food Innopolis International Symposium 2021” ที่ผ่านมา หลังทุกประเทศประกาศมุ่งหน้าสู่การสร้างนวัตกรรมอาหารสู่ความยั่งยืน และยังเตรียมพร้อมการเป็นเจ้าภาพ APEC ปี 2565

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเมืองนวัตกรรมอาหาร Food Innopolis ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ได้จัดประชุมนานาชาติ Food Innopolis International Symposium 2021: Driving A Sustainable Future through Bio-Circular-Green Economy ขึ้น โดยรวบรวมผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารกว่า 40 ท่านจากทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และสร้างเครือข่ายระดับโลกเพื่อเสริมสร้างโอกาสในการต่อยอดธุรกิจอุตสาหกรรมห่วงโซ่อาหารสู่ความยั่งยืน ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ CEO โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า ตลอด 4 ปีที่จัดงานร่วมกับ TMA ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากทั่วโลก เมื่อเกิดการแพร่ระบาด COVID-19 จึงต้องจัดงานแบบออนไลน์ แต่ยังคงได้รับความชื่นชมอย่างมากเช่นเดิม

โดยในงานนี้ วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจไว้หลายประเด็น อาทิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรมประเทศไทย กล่าวถึง เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ซึ่งจะเป็น “Game Change” สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเชื่อมต่อโลก และก้าวผ่านไปให้ได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การนำหลักการของ BCG มาใช้ในการพัฒนาคือ การร่วมกันสร้างโลกให้มีความยั่งยืน และสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

BCG

สำหรับหัวข้อ “Smart Farming – Producing More from Less” ชี้ว่าการนำนวัตกรรม & AI & เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบ Supply Chain ก่อให้เกิดการพลิกโฉมการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ และปริมาณสูงขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมเมืองยุคใหม่และสังคมผู้สูงอายุ  หัวข้อ “The Food & The Climate” กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาสร้าง Climate Smart แบบ Circular เพื่อหมุนเวียนทรัพยากรทั้งระบบคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อ “Circular Economy in Food System” ที่แนะนำว่าการนำข้อมูลระบบดิจิทัล (Data Driven) มาใช้เพื่อพยากรณ์ความต้องการผู้บริโภค ทำให้ผลิตสินค้าให้ตรงความต้องการ มีจำนวนเหมาะสม จะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร ลดยาฆ่าแมลง ลดมลพิษ ประหยัดต้นทุนการผลิต จะช่วยสร้างการหมุนเวียนของระบบนิเวศโลกให้มีคุณภาพมากขึ้น

ส่วนหัวข้อ “The Future of Food Packaging” ชี้ว่าอนาคตของบรรจุภัณฑ์อาหารในโลกของความยั่งยืน ต้องสามารถรีไซเคิลได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  และหัวข้อ “Delight the Palate the Thai Way” ได้ให้ความสำคัญกับการนำภูมิปัญญาด้านการปรุงอาหารด้วยสมุนไพร และวัฒนธรรมอาหารไทยที่มีความโดดเด่นด้านการผสมผสานมาต่อยอดสร้างเมนูใหม่ที่หลากหลาย น่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อการบำบัด รักษาอาการ และป้องกันสุขภาพ

เมื่อนำโมเดล BCG และนำเทคโนโลยี Smart Farming มาใช้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร สร้างความยั่งยืนต่อระบบอาหาร ลดของเสียเหลือทิ้ง (Zero Waste) ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากร ทำให้สามารถรับมือกับปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมฤดูกาลได้ดีขึ้น จึงเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งระบบต่อเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ คือ ปัจจัยความสำเร็จของการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็น Provider ด้านอาหารคุณภาพให้กับโลกอย่างยั่งยืน

โดยการจัด Workshop หัวข้อ Moonshot Thinking: ASEAN Harmonization on Food Sustainability มีการระดมความเห็นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานต่างๆ มีการเสนอประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่น ในโลกอุดมคติ ทุกคนสามารถผลิตอาหารเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์พืชผักและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ที่บ้าน เช่น การปลูกผักแนวตั้ง (Vertical Farming) มีการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตอาหารที่มีโปรตีนสูงทดแทนเนื้อสัตว์ และการสร้างสถานที่พิเศษ (Special Chamber) เพื่อเปลี่ยนหญ้าให้เป็นสารอาหารเหมือนลำไส้วัว (Cow Guts) ที่สามารถผลิตอาหารจากธาตุต่าง ๆ (C, N, O) หรือสร้างธาตุอาหารเริ่มต้นจากดินโดยตรง

หลักการบริหารจัดการขยะต้องเริ่มต้นที่การปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยม รณรงค์การบริโภคให้หมดไม่เหลือทิ้ง คือ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด การไม่ผลิตหรือจำหน่ายอาหารเกินความจำเป็น การแยกขยะอย่างถูกต้อง การต่อยอดเพื่อใช้เทคโนโลยีต้นทุนต่ำเพื่อกำจัดขยะในระดับครัวเรือน การเปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์โดยการฝังกลบ การแปรรูปขยะให้เกิดประโยชน์เพื่อนำไปใช้ต่อ รวมถึงความเป็นไปได้ในการการสร้างนวัตกรรมอาหารแคปซูลเพื่อลดขยะเศษอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้นโยบายภาครัฐที่ชัดเจน และการสร้างความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาด้านอาหารอย่างยั่งยืน โดยเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ได้ริเริ่มนำมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อการออกแบบ วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างสูงในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป เป็นต้น

สนใจรายละเอียดของหัวข้อต่างๆ สามารถติดตามและรับชมงานได้ที่ http://www.fiisthailand.com/

banner Sample

Related Posts