จับตา แม่โจ้ พลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรชั้นนำ

จับตา แม่โจ้ พลิกโฉมสู่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรชั้นนำ

แม่โจ้

วันนี้ TheReporterAsia เดินทางขึ้นเชียงใหม่ ตามรอยการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing ด้วยแนวคิดการผลักดันการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัย แม่โจ้ หลังได้รับงบประมาณปี 2564 กว่า 88 ล้านบาท

รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้นับตั้งแต่ได้ทุนในปี 2564 จากโครงการ Reinventing โดยเราได้เริ่มพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรมาสู่ปี 2565 อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทศาสตร์ของการพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตรสมัยใหม่ในระดับนานาชาติ ให้ได้ภายในปี 2570

โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วนหลักที่สำคัญ 1.ปฏิรูประบบบริหารมหาวิทยาลัย 4 ด้าน เพื่อช่วยให้สอดรับแนวทางการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านบริหารบุคลากร ด้านแผน ระบบการเงินและงบประมาณ ด้านกฏระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์ ภายใต้ระบบธรรมาภิบาลที่เคร่งครัด

2.การพัฒนาระบบนิเวศน์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและยกระดับฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (พืช สัตว์ ประมง) ใหม่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารมูลค่าสูงให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรต่อยอดไปสูู่การทำธุรกิจที่ได้คุณภาพต่อไป

แม่โจ้

3.การผลิตกำลังคนขั้นสูงด้านเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้หลักสูตรที่ครอบคลุมการเรียนตลอดช่วงขีวิต เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด และยกระดับองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรให้กับผู้ประกอบการและบุคลากรทั่วไป

นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ยังตั้งเป้าที่จะเป็นเครือข่ายด้านการเกษตรในระดับนานาชาติ ภายใต้ยุทศาสตร์ โดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายแห่ง เพื่อจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นับว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก ด้วยความชัดเจนของโครงการที่นำเสนอ และการมองเห็นแผนการทำงานอย่าางมีขั้นตอน ทำให้มองเห็นการบรรลุเป้าหมายและเส้นทางอนาคตของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ซึ่งความสำเร็จของการดำเนินงานจากทุนที่ได้รับนั้นสามารถทำได้มากกว่าเป้าหมายที่ระบุในสัญญา ก็เป็นสิ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการที่จะพลิกโฉม ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ Reinventing ได้เป็นอย่างดี

ด้านนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวว่า การพลิกโฉมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความโดดเด่นเป็นอย่างมากในการสร้างความแตกต่างทางเทคโนโลยีให้กับการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งมีความชัดเจนในการดำเนินงานที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จได้ในราว 4 เดือนข้างหน้า ก่อนปิดจบโครงการ

เชื่อว่าความสามารถของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะสามารถก้าวเข้าไปสู่ผู้นำเครือข่ายการเกษตรในระดับสากลของภูมิภาคได้อย่างไม่ยากนัก และที่สำคัญความพร้อมของบุคคลากรที่เป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญภายในที่มีเป็นจำนวนมากนั้น ก็นับว่าเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการหน้าใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สามารถสำเร็จลุล่วงได้เกินเป้าหมาย

นับว่าเป็นตัวอย่างของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยที่จะช่วยเป็นต้นแบบให้มหาวิยาลัยทั่วประเทศได้แสดงบทบาทที่โดดเด่น ในการส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับองค์กรและภาคประชาชนที่ต้องการเข้าถึงองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกิจการและธุรกิจของตนเองต่อไป

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี กล่าวถึง การดำเนินงานโครงการและเป้าหมายการพลิกโฉมที่แบ่งออกเป็น 9 ส่วนที่สำคัญ 1.แผนการสนับสนุนด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยี กำลังคนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผ่านการทำ 9 กิจกรรมหลักและ 45 กิจกรรมย่อย ครอบคลุมมิติด้านการพัฒนาระบบนิเวศ หลักสูตร การพัฒนากำลังคน ตลอดจนการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร ช่องทางการจำหน่าย ครอบคลุมทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยทั้ง 3 จังหวัด

แม่โจ้

2.จัดทำโมดูลในการพัฒนาผู้ประกอบการผ่านการฝึกอบรมกับหลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตร จำนวน 3 โมดูล โมดูลละ6 หน่วยกิต โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 130 คน

3.พัฒนาพื้นที่สร้างแหล่งเรียนรู้ จากการสร้าง MUU Library Space ศูนย์เรียนรู้สร้างสรรค์บัณฑิตผู้ประกอบการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ ศูนย์วิจัยพลังงาน ขนาดพื้นที่ 2 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็น Co-Working Space และ Maker Space ซึ่งปัจจุบัน ยังอยู่ระหว่างการทำสัญญาจัดหาจัดจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้าง

4.พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้ยเทคโนโลยีนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย จำนวน 88ผลิตภัณฑ์ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียง 80 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร จำนวน 52 ผลิตภัณฑ์ 2.กลุ่มผลิตภัณฑ์นวัตกรรมละเทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 32 ผลิตภัณฑ์ 3.ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์

5.พัฒนาหลักสูตรระดัปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและนวัตกรรมเกษตรจำนวน 2 สาขาวิชา ประกอบด้วยวิชาเอกวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ และวิชาเอกวิศวกรรมนวัตกรรมเกษตร ซึ่งอยู่ระหว่างการเปิดรับนักศึกษา โดยมีผู้สมัครเข้ามาแล้ว 40คน และเริ่มดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

MUU Library Space

6.การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษจรสมัยใหม่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ผลลัพธ์เกินเป้าหมาย จากเดิมกำหนดไว้ที่ 40 คน แต่สามารถจัดหาได้ 57คน โดยผู้เชี่ยวชาญภายในจำแนกออกเป็น 3 ด้าน 1.นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร 28 คน 2.นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ 21 คน 3.นวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 4 คน และยังมีผู้เชี่ยวชาญภายนอก 4 คน จำแนกออกเป็น 1.ด้านพัฒนาผู้ประกอบการ 2.ด้านจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน และงบประมาณ 3.ด้านเครือข่ายต่างประเทศ และ4.ด้านการบริหารการศึกษา

7.จำนวนผู้ประกอบการใหม่ที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้หลักสูตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจ เช่นการแปรรูปพืช สัตว์ ประมง การส่งเสริมการตลาด การจำหน่าย การออกแบบตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ และระบบเกษตรอัจฉริยะ โดยมีการจัดอบรมไปแล้วทั้งสิ้น 62 หลักสูตร มีผู้ผ่านการอบรม 2,117คน แบ่งเป็นการอบรมที่ แม่โจ้-เชียงใหม่ 1617 คน แม่โจ้-แพร่ 400 คน และแม่โจ้-ชุมพร 100 คน

8.จำนวนธุรกิจใหม่ที่ได้รับการพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยราว 54 กิจการ แบ่งออกเป็น กลุ่มธุรกิจอาหารจำนวน 31 กิจการ กลุ่มธุรกิจเกษตรและชีวภาพ จำนวน 21 กิจการ และกลุ่มเกษตรอัจฉริยะจำนวน 2 กิจการ ซึ่งยังมีส่วนที่รอการขับเคลื่อนธุรกิจใหม่อีกราว 20 กิจการ

9.การพัฒนาตลาดและช่องทางการจำหน่ายสินค้าสามารภพัฒนาได้จำนวน 4 ช่องทางครอบคลุมทุกวิทยาเขตและระบบออนไลน์ โดยแบ่งออกเป็น 1.การพัฒนากาดแม้โจ้ 2477 2.ศูนย์พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรและรองรับนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ม.แม่โจ้-แพร่ 3.การส่งเสริมและยกระดับตลาดสินค้าชุมชนอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ม.แม่โจ้-ชุมพร และ4.การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ กาดแม่โจ้ 2477 (อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ)

Related Posts