
ราช กรุ๊ป เดินหน้าสนับสนุนชุมชน นำร่องใช้ในศูนย์เรียนรู้ เกษตร 2 แห่ง พร้อมพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสำหรับถ่ ายทอดความรู้ด้าน พลังงานแสงอาทิตย์ และสาธิตการติดตั้งโซลาร์เซลล์ การทำงานตลอดจนการบำรุงรักษาโซลาร์ เซลล์ ให้แก่ชุมชนที่สนใจเกี่ยวกับวิ ถีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป
นางสาวชูศรี เกียรติขจรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการพลังงานชุ มชนมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยมุ่งหวังส่งเสริมการใช้พลั งงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับชุ มชน ด้วยการพัฒนาแนวคิดด้านพลั งงานของชุมชน รวมทั้งนวัตกรรมพลังงานด้วยบริ บทเฉพาะของท้องถิ่นหรือชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมคิดและร่ วมทำด้วย โครงการนี้คาดหวังว่า ความตระหนักรู้และความเข้าใจด้ านพลังงานที่ถูกต้องจะเป็นฐานคิ ดที่ขยายผลไปสู่การปรับเปลี่ ยนวิถีการใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่ งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยตอบสนองเป้าหมายการพั ฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 เรื่องการรับมือการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ด้วย โครงการพลังงานชุมชนเป็ นการทำงานสามประสานระหว่ างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน
สำหรับโครงการพลังงานชุมชน พื้นที่ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มุ่งเน้นส่งเสริมการใช้พลั งงานแสงอาทิตย์ให้กับชุมชน เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยนำร่องจากการสนับสนุนเครื่ องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 8 เครื่อง ซึ่งชุมชนกว่า 100 ครัวเรือน ได้นำไปใช้ประโยชน์ ในการทำเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ผลที่ได้รับ คือชุมชนสามารถลดการซื้อน้ำมั นเบนซินสำหรับเครื่องสูบน้ำ ประมาณ 17,280 ลิตร ซึ่งช่วยลดปริมาณก๊าซเรื อนกระจกได้ประมาณ 37,836.29 kgCO2e และยังลดค่าใช้จ่ายการซื้อน้ำมั นเบนซิน ได้ประมาณ 518,400 บาท (คำนวณจากราคาน้ำมันเบนซิ นประมาณลิตรละ 30 บาท)
โครงการฯ ได้ขยายผลด้วยการติดตั้งโซลาร์ เซลล์บนหลังคาขนาด 3,400 วัตต์ และเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิ ตย์ในศูนย์เรียนรู้ เกษตรแบบผสมผสานไร่เจริญผล และวิสาหกิจชุมชนกลุ่ มกาแฟตะนาวศรี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเรี ยนรู้ของชุมชนตำบลยางหัก เกี่ยวกับการใช้พลังงานแสงอาทิ ตย์ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่ งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ ชุมชนในการรับมือการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย
นายเกริก มั่นคง นักวิชาการพลังงานชำนาญการ สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า โครงการพลังงานชุมชน ตำบลยางหัก มีอาสาสมัครพลังงานชุมชนจำนวน 40 คน เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิ จกรรมต่างๆ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมู ลการใช้พลังงานของตำบล และเข้าร่วมจัดทำแผนพลั งงานตำบลด้วย จากการสำรวจข้อมูลการใช้จ่ายด้ านพลังงานของตำบลยางหักเมื่อปี 2563 มีมูลค่าถึง 108 ล้านบาท โครงการฯ จึงได้จัดทำแผนกิจกรรม เริ่มด้วยการสร้างความตระหนักรู้ ให้แก่ชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนจัดศึกษาดูงานชุมชนที่ ประสบผลสำเร็จด้านการจัดการพลั งงาน โดยนำองค์ความรู้มาปรับใช้ให้ เหมาะสมกับบริบทของตำบลยางหัก สนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลั งงานแสงอาทิตย์ขนาด 3,400 วัตต์

โดยนำร่องใช้ในศูนย์เรียนรู้ เกษตรแบบผสมผสานไร่เจริญผล และวิสาหกิจชุมชนกลุ่ มกาแฟตะนาวศรี จากนั้นได้พัฒนาพื้นที่ทั้ งสองแห่งเป็นศูนย์กลางสำหรับถ่ ายทอดความรู้ด้าน พลังงานแสงอาทิ ตย์ และสาธิตการติดตั้งโซลาร์เซลล์ การทำงานและการบำรุงรักษาโซลาร์ เซลล์ ให้แก่ชุมชนที่สนใจเกี่ยวกับวิ ถีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยเสริมเศรษฐกิ จฐานรากให้เข้มแข็ง โดยชุมชนสามารถพึ่งพิงพลั งงานจากธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟตะนาวศรี เป็นวิสาหกิจชุมชนแห่ งแรกในตำบลยางหักที่ใช้ไฟฟ้ าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสู บน้ำเข้าสวนกาแฟและทำได้อย่ างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ผลิตผลดีขึ้ นจนสามารถนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ได้แก่ สบู่กาแฟ ชาดอกกาแฟ กาแฟดริป สร้างรายได้แก่กลุ่มชุมชนเพิ่ มขึ้น
“ค่าไฟศูนย์บาทตั้งแต่ติ ดแผงโซลาร์เซลล์” เสียงสะท้อนความสำเร็จของ “โครงการพลังงานชุมชน” ระยะที่ 3 (ปี 2563-2565) จากนางพล ฤทธิ์ล้ำ หญิงแกร่งแห่งไร่เจริญผล หลังจากเข้าร่วมโครงการพลั งงานชุมชนของบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานพลั งงานจังหวัดราชบุรี นับเป็นการบรรลุเป้าหมายสำคั ญของโครงการที่มุ่งส่งเสริมศั กยภาพชุมชน ในการคิดค้ นแนวทางการลดใช้พลังงานและประยุ กต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกั บเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพั ฒนานวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสมกั บบริบทของชุมชน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้ มกันให้ชุมชนรับมือกับการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพั ฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ที่โลกกำลังต้องการความร่วมมื อจากทุกคนช่วยกันลดกิจกรรมที่ก่ อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพื่ อลดโลกร้อนอย่างจริงจัง
นางพล ฤทธิ์ล้ำ หนึ่งในแกนนำของศูนย์เรียนรู้ พลังงานชุมชนไร่เจริญผล ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพลั งงานชุมชน ปรารถนาให้ไร่แห่งนี้เป็นต้ นแบบในการนำพลังงานจากแสงอาทิ ตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ ในการทำเกษตรกรรม ซึ่งช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานอย่ างเป็นรูปธรรม
“เดิมทีไร่เจริญผลเคยใช้น้ำมั นเบนซินและไฟฟ้าสูบน้ำเพื่ อทำการเกษตร เมื่อได้ทราบว่าโครงการพลั งงานชุมชนของราช กรุ๊ป และสำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุ รีมาดำเนินการในตำบลยางหัก โดยส่งเสริมการใช้พลั งงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้น้ำมั นและไฟฟ้า จึงสนใจและสมัครเข้าร่ วมโครงการฯ และได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ เรียนรู้พลังงานชุมชน หลังจากนั้นโครงการฯ ก็ได้เข้ามาติดตั้งโซลาร์เซลล์ บนหลังคา ขนาด 3,400 วัตต์ เพื่อกักเก็บพลั งงานและแปลงมาเป็นไฟฟ้าใช้กั บเครื่องสูบน้ำ เพื่อนำน้ำจากสระไปใช้ ในแปลงเกษตรผสมผสานของไร่เจริ ญผล
ตั้งแต่เริ่มใช้ไฟฟ้าจากพลั งงานแสงอาทิตย์ ค่าไฟที่เคยจ่ายหลักพันบาท ตอนนี้เหลือศูนย์บาท ศูนย์การเรียนรู้ เกษตรแบบผสมผสานไร่เจริญผล ยินดีที่จะเป็นกระบอกเสียงถ่ ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่ สนใจและพร้อมที่จะเปิดรับแนวคิ ดการใช้พลังงานจากพลั งงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้ และการพึ่งพาพลั งงานจากภายนอกแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของครั วเรือนได้ด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสิ่ งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิ ษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นต้นเหตุของสภาวะโลกร้อน มลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5 แก่ชุมชนของเราด้วย”