___noise___ 1000

เอ็นไอเอ จับมือ การนิคมฯ เพิ่มศักยภาพนวัตกรรมในเชิงพื้นที่

เอ็นไอเอ

เอ็นไอเอ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ จับมือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT) ร่วมกันส่งเสริมความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือนี้เน้นการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ภายใต้แนวคิดของ ‘พื้นที่เป้าหมายสู่การดึงดูดการลงทุนในอนาคต’ โดยรวมความรู้และแผนการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ภายในย่านนวัตกรรมและเมืองนวัตกรรม ร่วมกับพื้นที่อื่นที่มีการตกลงร่วมกัน ให้เกิดการส่งเสริมและกระตุ้นตลาดนวัตกรรมให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

และเพิ่มโอกาสของนวัตกรรมและผู้ประกอบการในการต่อยอดและขยายฐานผลิตภัณฑ์ ผ่านกลไกการส่งเสริมและการจับคู่ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การวัดระดับประสิทธิภาพในการจัดการด้านนวัตกรรมขององค์กรและผลักดันการพัฒนาศักยภาพในด้านนวัตกรรมองค์กรให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ได้ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม โดยเฉพาะนวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based Innovation) ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพทางนวัตกรรมให้เกิด Area of Innovation ทั้งระดับภูมิภาค ระดับเมือง และระดับย่าน โดยปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนนั้น ประกอบด้วย อุตสาหกรรมในพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน ทุนมนุษย์

และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นตลาดนวัตกรรม สร้างโอกาสการกระจายตัวของนวัตกรรม และก่อให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เป้าหมายของทั้งสองหน่วยงาน โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายภูมิภาค ทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้ง NIA จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กรให้เป็น “องค์กรนวัตกรรม” พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมนวัตกรรมทั้งในระดับอุตสาหกรรม ระดับองค์กร และประชาชน

“เอ็นไอเอ ในฐานะ Focal Facilitator หรือ ผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม จะเป็นผู้เชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาระบบนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป”

เอ็นไอเอ

รองศาสตราจารย์ ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอีกก้าวหนึ่งของ IEAT ในการมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมขององค์กร ซึ่งสอดรับกับวิสัยทัศน์ของ IEAT ที่มุ่งเน้นที่จะนำนิคมอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากลด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และต่อยอดเป็นมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้

ซึ่ง IEAT มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม และความร่วมมือกับ NIA นั้น จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร การจัดทำแผนการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงพื้นที่ เช่น พื้นที่สำนักงานใหญ่ของ IEAT นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม รวมทั้งพื้นที่ระเบียงนวัตกรรม เมืองนวัตกรรม และย่านนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้สามารถดึงดูดการลงทุนได้ในอนาคต

“ผมมุ่งหวังว่าความร่วมมือเพื่อพัฒนาและส่งเสริมด้านนวัตกรรมตามบันทึกความเข้าใจนี้จะเป็นกรอบในการดำเนินงานร่วมกันของ IEAT และ NIA ในการพัฒนางานด้านนวัตกรรมไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมเชิงพื้นที่ เชิงผลิตภัณฑ์หรือบริการ เชิงกระบวนงานให้เกิดเป็นรูปธรรม และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายหรือพันธมิตรเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการขอรับสิทธิประโยชน์ต่อไป”

แผนความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงพื้นที่ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

  1. การศึกษาและจัดทำแนวทางและแผนการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ภายใต้ย่านนวัตกรรมและเมืองนวัตกรรม รวมถึงนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม และพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้ตกลงร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายสามารถดึงดูดการลงทุนได้ในอนาคต โดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมที่คำนึงถึงองค์ประกอบสี่ด้านหลัก ได้แก่ เครือข่ายนวัตกรรม เศรษฐกิจนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรม และข้อมูลนวัตกรรม
  2. ส่งเสริมและกระตุ้นตลาดนวัตกรรมให้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด รวมถึงเพิ่มโอกาสของนวัตกรรมและผู้ประกอบการนวัตกรรมในการต่อยอดและขยายฐานผลิตภัณฑ์ และเกิดการไต่ระดับพัฒนาการทางนวัตกรรมโดยอาศัยกลไกการส่งเสริมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจับคู่ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพันธมิตรของทั้งสองฝ่าย เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อดำเนินการตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model; IOM) เพื่อนำไปสู่การวัดระดับประสิทธิภาพการจัดการด้านนวัตกรรมขององค์กร
banner Sample

Related Posts