AIS ส่งต่อหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เสริมภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้แก่ผู้สูงวัย

AIS ส่งต่อหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เสริมภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้แก่ผู้สูงวัย

AIS ห่วงใยใส่ใจผู้สูงอายุ ส่งต่อหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เสริมภูมิคุ้มกันดิจิทัลให้แก่ผู้สูงวัย เนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ปี 2566

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์  AIS กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ กลุ่มผู้สูงวัยมีการใช้สื่อโซเชียลในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น เพื่อหาข้อมูลข่าวสาร พบปะเพื่อนฝูง และซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งหากมีการใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน  อาจเป็นการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวงได้อย่างง่ายดาย เห็นได้จากผลการศึกษา “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) จากความร่วมมือระหว่าง AIS อุ่นใจ CYBER,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการจากหลากหลายสาขา

โดยรายงานหลายฉบับระบุว่า ผู้สูงวัยชาวไทย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีระดับสุขภาวะดิจิทัลอยู่ที่ 0.28 เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยอื่นๆที่อยู่ในระดับพื้นฐาน 0.5  ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นอีกกลุ่มสำคัญที่ต้องเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจให้สามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์  โดยทักษะดังกล่าว ประกอบไปด้วย การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ทั้งการรู้เท่าทันดิจิทัล การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล การเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล และการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล เพื่อยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของกลุ่มผู้สูงอายุให้อยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป”

อุ่นใจไซเบอร์

ทั้งนี้จากข้อมูลของกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์พบว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการแจ้งความทางออนไลน์สูงถึง 296,243 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท โดยมูลค่าความเสียหายมากถึง 30,000 ล้านบาท เป็นคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นเยอะที่สุด และมีการเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุขึ้นไป โดยมูลค่าความเสียหายรวมกว่าพันล้านบาท

“ด้วยความห่วงใยและใส่ใจในสังคมผู้สูงอายุ วันนี้ AIS จึงได้ขยายผลหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ โดยปรับเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มผู้สูงอายุ อาทิ สุขภาวะดิจิทัล, การจัดการความเป็นส่วนตัวและการจัดการสิทธิ์แบบมีส่วนร่วม, การจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล และการจัดการร่องรอยทางไซเบอร์ พร้อมส่งต่อทักษะดิจิทัลให้แก่สมาชิกผู้สูงวัยในกลุ่มสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ในการร่วมกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติและเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ประจำปี 2566 ซึ่งจัดโดยสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร และกองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยเพื่อให้ผู้สูงวัยมีความรู้เท่าทัน มีความรอบคอบในการใช้สื่อออนไลน์ และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีในสังคมผู้สูงวัยต่อไป”

Related Posts