สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) วิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย หลังผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของ World Competitiveness Center แห่งสถาบัน IMD ประจำปี 2566 ชี้ชัด ประเทศไทย ขยับขึ้น 5 อันดับมาอยู่ในอันดับที่ 35 และยังเป็นครั้งแรกที่คูเวตได้ เข้าร่วมการจัดอันดับนี้
- – TMA เผยอันดับความสามารถด้านดิจิทัลไทยดีขึ้น 5 อันดับ
- – เทเลนอร์ เอเชีย เผย ชาวไทย ออนไลน์มากสุดในเอเชีย กว่า 86% ใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนมือถือ
โดยการจัดอันดับนี้ วัดถึงความสามารถของแต่ละประเทศในการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัล (Digital Transformation) ที่สะท้อนผ่านความสามารถของประเทศใน 3 ด้าน คือ 1.ความรู้2.เทคโนโลยี และ3.ความพร้อมสำหรับอนาคต และรายงานการจัดอันดับปี 2566 ยังแสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่ เศรษฐกิจสังคมดิจิทัลของประเทศ/เขตเศรษฐกิจต่างๆ ในยุคของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และยังสะท้อนไปถึงการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์ ด้วย
ประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสูงที่สุด 10 อันดับแรก
จากจำนวน 64 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ที่ได้รับการจัดอันดับ พบว่า ประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลสูงที่สุด 10 อันดับแรกในปี 2566 มีประเทศในทวีปยุโรปถึง 5 ประเทศ อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกากลับขึ้นมาอยู่อันดับ 1 ในปีนี้ จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านความรู้ เทคโนโลยี และความพร้อมสำหรับอนาคต โดยปัจจัยด้านความรู้ สหรัฐอเมริกา อยู่ในอันดับ 2 ซึ่งมีความ แข็งแกร่งอย่างมากในปัจจัยย่อยด้าน Scientific Concentration เช่นเดียวกับปัจจัยด้านความพร้อมสำหรับ อนาคตที่อยู่อันดับ 2 โดยเฉพาะในปัจจัยย่อยด้าน Adaptive attitudes และ Business agility ตามมาด้วย เนเธอร์แลนด์ ที่อันดับ 2 ปรับตัวดีขึ้นถึง 4 อันดับจากปที่ผ่านมา เนื่องจากความโดนเด่นในปัจจัยด้าน ความพร้อมสู่อนาคต (อันดับ 4) และ ด้านเทคโนโลยี (อันดับ 5)
สำหรับประเทศ/เขตเศรษฐกิจอื่นที่ได้รับการจัดอันดับใน 10 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 3 สิงคโปร์ อันดับ 4 เดนมาร์ก อันดับ 5 สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 6 เกาหลีใต้ อันดับ 7 สวีเดน อันดับ 8 ฟินแลนด์ อันดับ 9 ไต้หวัน ซึ่ง เข้ามาอยู่ใน 10 อันดับเป็นครั้งแรก และอันดับ 10 ฮ่องกง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปีนี้ มี 4 ประเทศในทวีปเอเชียที่มีขีด ความสามารถสูง ติด 1 ใน 10 อันดับแรกของการจัดอันดับในปีนี้
ผลการจัดอันดับของไทย
ในปี 2566 ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ จากปี 2565 มาอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 64 ประเทศ/เขต เศรษฐกิจในปีนี้ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2562-2566) เมื่อพิจารณาผลการจัดอันดับด้าน ดิจิทัลกับผลการจัดอันดับภาพรวม พบว่าอันดับด้านดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำกว่ามาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตามช่องว่าง ระหว่างผลการจัดอันดับทั้ง 2 ตัวเริ่มลดลงเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการพัฒนาดังกล่าวช่วยให้อันดับความสามารถภาพรวมของประเทศในปีนี้ดีขึ้นด้วย
ผลการจัดอันดับด้านดิจิทัลของไทยในปัจจัยหลัก 3 ด้าน พบว่า ผลการจัดอันดับในปีนี้ ประเทศไทยมีผลการจัดอันดับดีขึ้นในทุกด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งดีขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 20 มาอยู่ในอันดับ ที่ 15 ในขณะที่ด้านความรู้ (Knowledge) ดีขึ้น 4 อันดับมาอยู่ที่อันดับ 41 และด้านความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Readiness) ดีขึ้นถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 42 โดยมีรายละเอียดของแต่ละปัจจัยหลัก ดังนี้
ความรู้ (Knowledge)
ด้านความรู้เป็นการวัดถึงศักยภาพของประเทศในการค้นคว้า ทำความเข้าใจ และเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ผ่านตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของบุคลากร การลงทุนด้านการศึกษา และการวิจัยพัฒนา
ปี 2566 ไทยมีผลการจัดอันดับด้านความรู้ (Knowledge) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4 อันดับ อยู่ที่อันดับ 41 เปน ผลมาจากการปรับอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยเรื่องศักยภาพบุคลากร (Talent) ปรับตัวดีขึ้น 2 อันดับ มีตัวชี้วัดที่ อันดับดีขึ้น 3 ตัวได้ แก่ 1) Foreign highly skilled personnel 2) Management of cities 3) Digital/Technological skills สำหรับตัวชี้วัด Foreign highly-skilled personnel, Management of cities
และ Digital/Technological skills นั้น เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจในไทย ซึ่งสะท้อน ความเห็นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการบริหารจัดการในด้านบวกของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา
ด้านการฝึกอบรมและการศึกษา (Training & education) ปรับตัวดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 52 โดย ตัวชี้วัดทั้ง 6 ตัวมีอันดับเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรือคงที่ ถึงแม้ว่าอันดับในปีนี้ดีขึ้นแบบมีนัยสำคัญแต่ยังเป็นจุดอ่อน ของไทยมาโดยตลอดเมื่อเทียบกับปัจจัยย่อยด้านอื่น ๆ ในการจัดอันดับด้านดิจิทัล
ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่นับว่ายังคงเป็นจุดอ่อน (Weaknesses) อย่างต่อเนื่องของไทย ที่ต้องเร่งให้ความสำคัญใน การพัฒนาคือ การจ้างงานบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค (Scientific and technical employment) รวมถึงตัวชี้วัดด้านการศึกษาที่ไทยมีอันดับค่อนข้างรั้งท้าย ได้แก่ ตัวชี้วัด Pupil-teacher ratio (tertiary education) และ Total public expenditure on education
เทคโนโลยี (Technology)
ด้านเทคโนโลยี เป็นการวัดถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ กฎหมาย และกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงความพร้อมของเงินทุนที่ใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี
ด้านเทคโนโลยี นับเป็นปัจจัยหลักที่ไทยมีอันดับขีดความสามารถสูงกว่า โดยเปรียบเทียบกับอีก 2 ปัจจัย มาโดยตลอด ในปีนี้ไทยยังสามารถเพิ่มอันดับความสามารถด้านเทคโนโลยีได้อีก 5 อันดับจากปี 2565 มาอยู่ใน อันดับที่ 15 จากการปรับอันดับดีขึ้นของปัจจัยย่อยเรื่องตลาดทุน (Capital) ถึง 8 อันดับ จากตัวชี้วัดที่มีอันดับดี ขึ้น ได้แก่ 1) IT & media stock market capitalization 2 ) Investment in Telecommunication โดยเฉพาะ ตัวชี้วัดนี้ที่ไทยอยู่ที่อันดับ 5 และกลุ่มตัวชี้วัดที่เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจในไทย ได้แก่ 3) Funding for technological development 4) Banking and financial services 5) Venture capital ที่มี อันดับดีขึ้นอย่างมากจากความก้าวหน้าด้านแหล่งทุนที่เป็นส่วนสนับสนุนการเติบโตด้านดิจิทัลของประเทศ
ด้านปัจจัยย่อยเรื่องกรอบกฎหมาย (Regulatory Framework) แสดงให้เห็นถึงกฎหมาย กฎระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยไทยอยู่ที่อันดับ 31 ปรับตัวดีขึ้น 3 อันดับ โดย ตัวชี้วัดที่มีความโดดเด่น ได้แก่ 1) Immigration laws 2) Development and app. of technology 3) Scientific research legislation 4) Intellectual property rights ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มาจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้องได้มีการลดอุปสรรคทางด้าน กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของภาคธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ด้านปัจจัยย่อยเรื่องโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological Framework) ไทยมีอันดับดีขึ้น 3 อันดับ โดยตัวชี้วัดที่เป็นจุดแข็งของปัจจัยย่อยด้านนี้ ได้แก่ 1) Internet bandwidth speed ที่ไทยมีอันดับที่ 5 และ 2) High-tech export (%) ที่ไทยอยู่อันดับที่ 11
ความพร้อมสำหรับอนาคต (Future readiness)
ด้านความพร้อมสำหรับอนาคต เป็นการพิจารณาถึงความสามารถของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และ สังคม ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งพิจารณาจากตัวชี้วัดด้านการใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมต่าง ๆ การใช้หุ่นยนต์ใน ภาคอุตสาหกรรม และการใช้เครื่องมือ data analytics ในภาคธุรกิจ และ e-Government ในภาครัฐ เป็นต้น
ด้านความพร้อมสำหรับอนาคต ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ไทยมีอันดับขีดความสามารถไม่สูงนัก ในปี 2566 นี้ ไทยอยู่อันดับ 42 แม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 7 อันดับจากปี 2565 ก็ตาม
ปัจจัยย่อยที่มีการปรับตัว ดีขึ้น ได้แก่ ปัจจัยย่อยเรื่องทัศนคติที่ยืดหยุ่น (Adaptive Attitudes) ที่มีอันดับดีขึ้นถึง 10 อันดับ จากตัวชี้วัด 1) E-Participation (อันดับ 17) 2) Internet retailing (อันดับ 40) 3) Smartphone possession (อันดับ 30) และ 4) Attitudes toward globalization (อันดับ 10) สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของประเทศในการปรับตัวเข้าสู่ยุค ดิจิทัล และพัฒนาการของคนไทยที่เชื่อมโยงเข้าสู่ระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
ด้านปัจจัยย่อยเรื่องความคล่องตัวของธุรกิจ (Business Agility) ไทยอยู่อันดับ 34 ปรับตัวดีขึ้น 7 อันดับ จากปี 2565 มีตัวชี้วัดที่ปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ 1) Agility of companies ที่ดีขึ้น 7 อันดับ 2) Use of big data and analytics ดีขึ้น 3 อันดับ และ 3) Knowledge transfer ดีขึ้นถึง 9 อันดับ แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของภาคธุรกิจ ที่มีการปรับตัวเองให้พร้อมเข้าสู่การแข่งขันภายใต้โลกยุคดิจิทัลอย่างเข้มแข็ง
อย่างไรก็ตาม TMA มองว่าปัจจัยย่อยเรื่องการบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Integration) ยังเป็น จุดอ่อนของไทยในปัจจัยด้านนี้ โดยเฉพาะ อันดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลของ 2 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับความ ปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ตัวชี้วัด Government cybersecurity capacity อยู่ในอันดับ 58 และ Privacy protection by law ในอันดับ 43 จาก 64 ประเทศด้วย ซึ่งจำเป็นที่ไทยต้องให้ ความสำคัญในการยกระดับพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันด้านดิจิทัลใน 2 ตัวชี้วัดนี้ต่อไป ยิ่งในอนาคต AI และ เทคโนโลยีอื่นๆ จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อทุกประเทศในการเป็นเครื่องมือเพื่อใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัล
ไทยกับเขตเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน (ASEAN)
ในระดับอาเซียนที่ IMD มีการจัดอันดับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้รวม 5 เขตเศรษฐกิจ ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3 และมาเลเซียอยู่อันดับที่ 33 โดยมีปัจจัย ที่เป็นจุดเด่นได้แก่ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี นอกจากนั้นได้แก่ อินโดนีเซียที่มีอันดับดีขึ้นถึง 6 อันดับมาอยู่ที่ 45 และฟิลิปปินส์ที่มีอันดับลดลง 3 อันดับ มีอันดับที่ 59
บทสรุปจาก TMA
World Competitiveness Center แห่งสถาบัน IMD – International Institute for Management Development ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์และความไม่มั่นคง ทางการเมืองของโลกเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ทุกชาติต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การสร้างชาติดิจิทัล (Digital Nation) อย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ 10 อันดับแรกล้วนแล้วแต่วางรากฐานการพัฒนาใน ด้านการพัฒนาคน การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี และการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของ ประชาชนและภาคธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ทั้งด้านดิจิทัลและภาพรวม สำหรับไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5อันดับในปีนี้ โดยดีขึ้นในทุก ๆ ปัจจัย ถึงแม้ว่าใน 2 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดยเฉพาะในยุคที่ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว คือ ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Readiness) จะยังอยู่ในอันดับที่ไม่ดีนัก
อย่างไรก็ตามก็นับว่ายังมีแนวโน้มในทางบวก เช่นในเรื่องของการสร้างกำลังคนที่มีศักยภาพ (Talent) ที่ นอกเหนือจากความพยายามทั้งในภาครัฐและเอกชนในการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล ยังมีการปรับปรุงกฎระเบียบ ที่ช่วยดึงดูด Talent จากภายนอกประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทยง่ายขึ้น รวมถึงบทบาทของหน่วยงาน ภาครัฐที่ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการพัฒนาประเทศให้เป็นเศรษฐกิจฐานดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่ง ภาคธุรกิจได้สะท้อนผ่านการสำรวจความคิดเห็นอีกด้วย ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญใน ขณะนี้ คือ การก้าวให้ทันเทคโนโลยีด้าน AI ในขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับความสามารถในด้าน Cyber Security และ Privacy Protection เป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนผ่านการจัดอันดับในด้าน Government cyber security capacity ที่อยู่ในอันดับที่ 58 และ Privacy protection by law content ที่อยู่ในอันดับที่ 43