การใช้ประโยชน์จากความต้องการกุ้งน้ำจืดทั่วโลก เส้นทางแห่งผลกำไรของเกษตรกรไทย

Shrimp

ในด้านของศาสตร์การทำอาหาร กุ้งน้ำจืดเป็นวัตถุดิบที่ขึ้นชื่อในเรื่องสัมผัสที่นุ่มและรสชาติที่น่าดึงดูดใจ สามารถสรรค์สร้างเมนูที่น่าสนใจได้อย่างหลากหลาย ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาหารอันโอชะของภาคใต้ในสหรัฐอเมริกา ได้ก้าวข้ามพรมแดนจนกลายเป็นกระแสแห่งการทำอาหารระดับโลก ดึงดูดต่อมรับรสของผู้ที่ชื่นชอบอาหารทั่วโลก ความต้องการกุ้งน้ำจืดทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ทำให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง ในประเทศไทย เกษตรกรไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรของตนเพื่อเข้าสู่ตลาดกุ้งน้ำจืดที่กำลังเติบโต ซึ่งยังมีศักยภาพในการจัดการกับความท้าทายหลายประการที่อุตสาหกรรมเกษตรกรรมและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

จากข้อมูลของ Technavio เผยว่าตลาดกุ้งน้ำจืดทั่วโลกกำลังจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยการคาดการณ์อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ไว้ที่ 6.48% ตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2570 ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าของตลาดได้ประมาณ 2,272.09 ล้านเหรียญสหรัฐ ความน่าดึงดูดใจของกุ้งน้ำจืดอยู่ที่รสชาติอันเลิศรส ปริมาณโปรตีนสูง และความอเนกประสงค์ในการประกอบอาหารต่างๆ ทำให้เป็นอาหารอันโอชะที่เป็นที่ต้องการทั่วทั้งทวีป

ความต้องการที่มีต่อกุ้งน้ำจืดจากทั่วโลก ไม่เพียงแต่จะสะท้อนความนิยมด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ในภาคเกษตรกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่อคนงานแต่ละคนต่ำที่สุดและมีอัตราการเติบโตที่ซบเซา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือครองที่ดินรายย่อย ซึ่งความยากจนนั้นถือเป็นปัญหาสำคัญ โดยจะเห็นได้จากครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมเกือบ 40% มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศไทย อยู่ที่ 32,000 บาท

นอกจากนี้ขนาดพื้นที่ของการทำเกษตรมีอยู่อย่างจำกัด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.3 ไร่ ทำให้เป็นอุปสรรคด้านความสามารถในการผลิตและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจด้วย ในขณะเดียวกันแนวทางการทำฟาร์มเชิงเดี่ยวแบบดั้งเดิมนั้นก็เหมือนการวนเวียนอยู่กับที่ถือเป็นข้อจำกัดศักยภาพในการสร้างรายได้เพิ่มและทำให้เกษตรกรเสี่ยงกับความผันผวนของตลาด ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถเห็นได้ชัดในภาคกลางของประเทศไทย แม้ว่าจะทำเกษตรกรรมได้ทั้งปีด้วยระบบชลประทาน แต่ครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมร้อยละ 88 มีส่วนร่วมในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบหมุนเวียน โดยเน้นปลูกข้าวในฤดูและนอกฤดูเป็นหลัก ถึงอย่างนั้นแนวทางนี้ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายได้เพิ่มเติม และทำให้เกษตรกรเผชิญกับความไม่แน่นอนของตลาด

ด้วยปัญหาเหล่านี้เกษตรกรจึงต้องการนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาตลาดกุ้งน้ำจืดที่กำลังเป็นที่นิยม โดยความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับนวัตกรรมและแนวทางการเลี้ยงกุ้งน้ำจืดที่หลากหลาย และเพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เกษตรกรไทยสามารถศึกษาผลประโยชน์จากเทคนิคการปลูกพืชแบบผสมผสาน และใช้ประโยชน์จากรูปแบบการซื้อคืนที่ริเริ่มโดย Singapore Crawfish ที่เป็นผู้นำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแนวทางการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

ในการปลูกพืชแบบผสมผสานก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมและเพิ่มผลผลิต โดยแนวทางนี้จะพูดถึงการปลูกพืชหลายชนิดพร้อมกันในแปลงเดียว ในกรณีของกุ้งน้ำจืดจะหมายถึง การเลี้ยงกุ้งน้ำจืด ปลา และปลูกข้าวพร้อมกันในที่เดียว ซึ่งช่วยให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล อีกทั้งกุ้งน้ำจืดยังจัดเป็นอาหารรสชาติดีและมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดิน การขุดดินเช่นนี้มีส่วนช่วยในการเติมอากาศและการระบายน้ำของดิน ป้องกันน้ำท่วมขัง และป้องกันรากของต้นข้าวไม่ให้เน่าเสีย

โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังเป็นตัวป้องกันการรบกวนจากศัตรูพืช ทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด เช่น ปลานิลหรือปลาคอน จะอยู่บริเวณกลางน้ำ และจะอาศัยอยู่บริเวณโพรงของกุ้งน้ำจืด โดยพวกมันจะขับของเสียที่ช่วยเรื่องการหมุนเวียนสารอาหาร โดยเฉพาะแอมโมเนียที่เป็นแหล่งไนโตรเจนชั้นดีสำหรับข้าว ซึ่งช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและคุณค่าทางโภชนาการ ในส่วนของข้าวหรือพืชอื่น ๆ ที่ปลูกอยู่บนผิวบ่อน้ำ จะช่วยดูดซึมสารอาหารและแอมโมเนียจากของเสียปลา การดูดซึมสารอาหารนี้ยังช่วยดูแลต้นข้าวและคุณภาพน้ำ โดยช่วยลดแอมโมเนียที่อาจเป็นอันตรายต่อปลาและกุ้งน้ำจืด นอกจากนี้ต้นข้าวยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของน้ำและยับยั้งการเติบโตของสาหร่ายได้

นอกเหนือจากนั้น ในตลาดกุ้งน้ำจืดยังมีเรื่องน่าจับตาคือ ความพร้อมในการรับซื้อคืน (Buy-Back) ที่ Singapore Crawfish ได้นำมาเสนอ โดยโมเดลนี้ช่วยให้เกษตรกรมุ่งเป้าที่การทำเกษตรโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตลาดและการจัดจำหน่าย สำหรับเกษตรกรไทยที่มีที่ดินจำกัดและต่อสู้กับปัญหาในการทำเกษตรเชิงเดี่ยว โมเดลนี้ถือเป็นทางออกในการขายผลผลิตและลดความเสี่ยงด้านตลาด ที่รับประกันแหล่งรายได้ที่มั่นคง

ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดกุ้งน้ำจืดถูกมองว่าจะเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการปลูกพืชแบบผสมผสานช่วยลดก๊าซคาร์บอน และมีโอกาสได้รับการชดเชยคาร์บอนและการรับรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งกระบวนการดักจับคาร์บอนตามธรรมชาติที่ได้จากการปลูกข้าว ช่วยลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้

ทั้งนี้การปลูกพืชแบบผสมผสานต่างจากการปลูกเชิงเดี่ยวทั่วไป ที่ต้องใช้พื้นที่แยกกันระหว่างการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยการปลูกพืชแบบผสมผสานเป็นการประหยัดพลังงานทางหนึ่ง คือช่วยเกษตรกรลดการใช้ปั๊มและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการชลประทาน และส่วนการเติมอากาศเข้าบ่อปลา ช่วยลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ โมเดลการปลูกพืชแบบผสมผสานยังป้องกันศัตรูพืชและเกิดการหมุนเวียนของสารอาหารจากการลดการใช้สารเคมีในการกำจัดและการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ อีกทั้งการมุ่งเน้นการทำเกษตรแบบยั่งยืนมีส่วนทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน

ในขณะที่โลกแสวงหาวิธีการผลิตอาหารที่ยั่งยืนมากขึ้น เกษตรกรไทยพบว่าตัวเองอยู่ทางแยกที่ต้องเผชิญกับทั้งความท้าทายและโอกาส ความต้องการกุ้งน้ำจืดทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นสามารถทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยกระบวนการนวัตกรรม เช่น การปลูกพืชแบบผสมผสาน และการนำโมเดลการซื้อคืนมาใช้ ซึ่งนำเสนอเส้นทางสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น

ด้วยการเปิดรับนวัตกรรมและความหลากหลาย เกษตรกรไทยสามารถมีส่วนทำให้ความต้องการกุ้งน้ำจืดทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ดำเนินขั้นตอนเชิงบวกนี้เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่โลกโหยหากุ้งน้ำจืดที่อุดมไปด้วยโปรตีนและมีรสชาติโอชา เกษตรกรไทยสามารถตั้งตาคอยอนาคตทางการเกษตรที่ยั่งยืนและมีประสิทธิผลมากขึ้นได้

banner Sample

Related Posts