หัวเว่ย และมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ร่วมจัดการประชุม Huawei Digital and Intelligent APAC Congress ขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ พันธมิตร และนักวิเคราะห์มากกว่า 1,500 คนจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมงาน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำ พร้อมทั้งร่วมกันมองหาแนวทางเพื่อพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีความเป็นดิจิทัลและอัจฉริยะไปด้วยกัน
ปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกอยู่ในยุคที่รุ่งเรือง หลายประเทศและหลายภูมิภาคกำลังเร่งเดินหน้าสำรวจศักยภาพด้านความอัจฉริยะพร้อมส่งเสริมการพัฒนาทางด้านดิจิทัล จวบจนถึงปัจจุบัน หัวเว่ยได้สนับสนุนการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับองค์กรพันธมิตรมากกว่า100,000 รายในเอเชียแปซิฟิก และช่วยให้ภูมิภาคนี้สามารถสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งในด้านศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายชั้นนำ โดยผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องหัวเว่ยและพันธมิตรได้ร่วมกันพัฒนา OpenLab, ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมร่วมทางด้าน 5G และแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าในภูมิภาค
นางซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย ได้กล่าวเปิดการว่า “เอเชียแปซิฟิกไม่เพียงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสมากที่สุดของโลก แต่ยังเป็นแบบอย่างสำหรับภูมิภาคอื่น ๆ ที่กำลังพยายามขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของตนเอง ซึ่งหัวเว่ยได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขับเคลื่อนนี้ และหัวเว่ยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเหล่าลูกค้าและพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมทุกท่าน ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับภูมิภาค”
เธอยังกล่าวอีกว่า “ก้าวต่อไปนับจากนี้ เราจะยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า เราต้องการทำหน้าที่ของเราในการนำประโยชน์ต่าง ๆ ของนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะมามอบให้กับผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเรายังต้องการส่งเสริมการพัฒนาภาคเศรษฐกิจดิจิทัลควบคู่ไปกับภาคเศรษฐกิจจริงในแบบองค์รวม”
ฯพณฯ นารายา เอส ซูปราปโต รองเลขาธิการแห่งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นอนาคตของกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement : DEFA) เอื้อให้สังคมและชุมชนธุรกิจของเราได้มีกำลังขับเคลื่อนในการปลดล็อคศักยภาพด้านบริการดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประมวลผลแบบคลาวด์ ทั้งนี้ ในการที่จะสร้างอนาคตแห่งความสำเร็จด้านดิจิทัลให้ทั่วทั้งภูมิภาค ภาครัฐบาล เอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องนำแนวทางที่สอดคล้องกันมาใช้ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล พร้อมลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงพัฒนาทักษะ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลภายในภูมิภาค”
ฯพณฯ ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า”ประเด็นที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นคือการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะภายใต้แผนงาน “The Growth Engine of Thailand” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในฐานะกลไกการขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อีกทั้งยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ โครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ โครงการ Cloud First Policy การพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล การแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และโครงการความร่วมมือที่หลากหลายกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
นายลีโอ เฉิน รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า “ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในฐานะผู้นำในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและความอัจฉริยะ เราเชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งครอบคลุมทั้งด้านโครงข่าย การจัดเก็บ การประมวลผล และระบบคลาวด์ คือกุญแจสำคัญสู่การปลดล็อคด้านประสิทธิภาพ หัวเว่ย มีความเข้าใจเชิงลึกในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย จึงมีความพร้อมและยินดีที่จะนำเทคโนโลยีที่ครอบคลุมแบบ full-stack และโซลูชันที่ต่าง ๆ ของเรามาใช้ประโยชน์ รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายนี้ เราจะร่วมกันเป็นผู้นำขับเคลื่อนความเป็นอัจฉริยะทางอุตสาหกรรมในระดับโลกและพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นศูนย์รวมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อม ๆ ไปกับการริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างความมหัศจรรย์แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เกิดขึ้นอีกครั้งในยุคแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้”
นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวในคำปราศรัยว่า “ขณะที่เราเดินหน้ารับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เป็นที่ประจักษ์ว่าสิ่งที่ทำนั้นจะต้องเป็นมากกว่าแค่การนำโซลูชันมาใช้ แต่คือการผนวกเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจและสังคมในเชิงลึก ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าสู่ยุคทองของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยี ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม และผู้สนับสนุนประจำแต่ละพื้นที่ และด้วยความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจและพันธมิตรด้านคลาวด์กว่า 10,000 ราย เราพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จและเร่งพัฒนาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและมีความอัจฉริยะอย่างแท้จริง”
หลังจากการประชุมในครั้งนี้ หัวเว่ยมีกำหนดจัดการประชุมอีก 4 งาน ได้แก่ การประชุม Huawei Network Summit การประชุม Innovative Data Infrastructure Forum การประชุม Global Optical Summit และการประชุม Huawei Cloud Stack Conference ไม่เพียงเท่านั้น หัวเว่ยและพันธมิตรยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสำคัญอีก 7 งาน ซึ่งจะมีทั้งการเปิดตัวโซลูชันคลื่นความถี่สูงเพื่อตลาดเชิงพาณิชย์การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับธุรกิจการจัดจำหน่าย การมอบรางวัลสำหรับพันธมิตรที่มีผลงานโดดเด่นในงาน Asia-Pacific Partners’ Night นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเปิดตัวโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรมในงาน Global ISP Summit Asia Pacific และงาน Manufacturing and Large Enterprise Summit อีกด้วย
ทั้งนี้ ดร.มูลโดโก พลเอก (อดีต) เสนาธิการประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย และดร.ปิติ ศรีแสงนามประธานมูลนิธิอาเซียน ยังได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย